การรักษาวัณโรค

เผยแพร่ครั้งแรก 29 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การรักษาวัณโรค

วัณโรคระยะกำเริบสามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีเชื้อวัณโรคที่ดื้อยาเป็นจำนวนมาก ผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคจึงต้องรับประทานยาฆ่าเชื้อพร้อมกันหลายตัว และเนื่องจากเชื้อวัณโรคเป็นเชื้อที่โตช้า ผู้ที่ติดเชื้อจึงต้องรับประทานยาเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือนเพื่อกำจัดให้เชื้อหมดทุกชนิด ไม่ควรหยุดยาเองก่อนกำหนด เพราะอาจทำให้เชื้อวัณโรคเพิ่มจำนวนขึ้นใหม่หรือดื้อยาได้

วิธีการรักษาของสถานพยาบาลสำหรับผู้ติดเชื้อวัณโรคประกอบด้วย การพักผ่อน การได้รับอาการบริสุทธิ์ และการรับประทานอาหารที่เหมาะสมตามโภชนาการ เพื่อส่งเสริมภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติของร่างกายในการต่อสู้กับเชื้อโรค นอกจากนี้อาจจำเป็นต้องคัดแยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อออกมา (Isolation) เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นติดเชื้อวัณโรคเพิ่มขึ้น ในช่วงเวลาดังกล่าว วัณโรคนั้นมักจะถูกเรียกว่า “Consumption” หรือ “Phthisis”

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ในบางกรณีแพทย์อาจพิจารณาการรักษาด้วยการทำให้ปอดบางส่วน หรือปอดทั้งข้างของผู้ป่วยแฟบลงเพราะมีทฤษฏีที่เชื่อว่าการกระทำดังกล่าวจะเป็นการทำให้ปอดได้พักผ่อน แต่ความเห็นทางการแพทย์ก็ยังไม่เป็นที่สรุปว่าว่าการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวได้ผลจริงหรือไม่

ยาสเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) เป็นยาปฏิชีวนะตัวแรกที่ใช้รักษาวัณโรค ถูกคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1940 ซึ่งทำให้วัณโรคในสหรัฐอเมริกาและประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศลดลงทันทีหลังการใช้ยาดังกล่าวเป็นที่แพร่หลาย อย่างไรก็ตาม วัณโรคก็ยังคงพบได้มากในประเทศที่ยากจน นอกจากนั้นจำนวนผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคก็กลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงกลางปี ค.ศ. 1980 เนื่องมาจากผลของการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) และการสนับสนุนด้านนโยบายสาธารณสุขและคลินิกผู้ป่วยวัณโรคที่ลดลง

ยารักษาวัณโรค

มียาปฏิชีวนะหลายตัวที่ใช้ในการรักษาวัณโรค โดยยาปฏิชีวนะที่มักใช้เป็นประจำ ได้แก่

  • ไอโซไนอะซิด (Isoniazid) หรือ ไนดราซิด (Nydrazid)
  • ไรแฟมปิน (Rifampin) หรือ ไรฟาดิน (Rifadin)
  • ไพราซินาไมด์ (Pyrazinamide)
  • อีแทมบูทอล (Ethambutol) หรือ ไมแอมบูทอล (Myambutol)
  • สเตรปโตมัยซิน (Streptomycin)

โดยการรักษาวัณโรค มักเริ่มให้ยาปฏิชีวนะทั้งหมด 4 ตัวหรืออย่างน้อย 3 ตัว ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะคนละชนิดกันแต่มีคุณสมบัติในการออกฤทธิ์ต้านเชื้อวัณโรค ทั้งนี้เพราะเชื้อวัณโรคมีหลายสายพันธุ์ และบางสายพันธุ์ก็มีความสามารถในการพัฒนาตนเองให้ดื้อยาปฏิชีวนะบางตัวได้

การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับความไวของเชื้อต่อยา (Drug Susceptibility Test) สามารถนำมาช่วยในการตัดสินใจได้ว่าควรเลือกใช้ยาปฏิชีวนะตัวใดในการรักษาวัณโรคในผู้ป่วยนั้น ๆ ซึ่งการใช้ยารักษาวัณโรคนั้นมักจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือนหรือมากกว่า การหยุดรักษาเร็วเกินไปอาจทำให้เกิดการติดเชื้อวัณโรคซ้ำ และอาจทำให้มีโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อวัณโรคดื้อยาได้

การแยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อ (Isolation)

การแยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของวิธีการรักษาวัณโรคในยุดใหม่นี้ โดยผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคปอดซึ่งอยู่ในระยะที่มีการกระจายของเชื้อโรคได้ )Active Pulmonary Tuberculosis) ควรที่จะได้รับการแยกออกจากบุคคลอื่น จนกว่าผู้ป่วยจะมีการตอบสนองที่ดีต่อการรักษาและผลการตรวจเชื้อวัณโรคจากเสมหะด้วยการย้อมสีแอซิดฟาสท์สเมียร์ (Acid Fast Smear) ให้ผลเป็นลบอย่างน้อย 2 ครั้ง ซึ่งปกติแล้วการแยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อมักใช้เวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เชื้อวัณโรคที่ดื้อต่อยา หรือที่เรียกว่า “Superbugs”

การรักษาและการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อวัณโรคมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเนื่องมาจากการอุบัติขึ้นของเชื้อวัณโรคที่ดื้อยา (บางครั้งอาจเรียกว่า MDR-TB) ซึ่งก็คือเชื้อวัณโรคที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาไอโซไนอาซิด (Isoniazid) และไรแฟมปิน (Rifampin) ซึ่งทั้งสองตัวเป็นยาปฏิชีวนะที่ถือว่าเป็นหัวใจหลักในการรักษาวัณโรค

ในบางครั้ง เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ก่อโรคอาจจะมีการพัฒนาตัวเองให้ทนหรือดื้อต่อยาปฏิชีวนะบางตัว และอาจพัฒนาต่อจนถูกเรียกว่าเป็น “Superbugs” ซึ่งกลายเป็นเชื้อโรคดื้อยาปฏิชีวนะส่วนใหญ่ได้ แต่จากวิธีการที่มนุษย์เราใช้ยาปฏิชีวนะในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้น ได้เป็นการช่วยเพิ่มความเร็วในการพัฒนาของเชื้อโรคให้ดื้อต่อยาปฏิชีวนะมากขึ้น

การรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส ก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างสำคัญของการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็นและส่งผลทำให้เชื้อแบคทีเรียดื้อต่อยาปฏิชีวนะที่ใช้อยู่เป็นประจำ

การรับประทานยาปฏิชีวนะไม่ครบตามระยะเวลาที่กำหนดเมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียจริง ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ทำให้เชื้อแบคทีเรียเกิดการดื้อยาขึ้น เพราะเมื่อมีการหยุดยาปฏิชีวนะก่อนระยะเวลาที่กำหนด เชื้อแบคทีเรียที่ยังเหลือรอดอยู่ก็มักจะสามารถพัฒนาตัวเองให้ดื้อต่อยาปฏิชีวนะนั้น ๆ ได้

ซึ่งสองตัวอย่างดังกล่าวก็เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในการรักษาวัณโรค ซึ่งเป็นการรักษาที่จำเป็นต้องมีการรับประทานยาปฏิชีวนะทุกวันเป็นเวลาหลายเดือน

การรักษาภายใต้การสังเกตโดยตรง (Directly Observed Therapy)

หนึ่งในวิธีการที่ถูกนำมาใช้เพื่อจัดการกับปัญหาเชื้อวัณโรคดื้อยา คือ การรักษาภายใต้การสังเกตโดยตรง โดยวิธีการนี้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ได้รับการฝึกอบรมจะให้ยาแก่ผู้ป่วยและอยู่สังเกตให้ผู้ป่วยรับประทานยาให้เห็น ก่อนจะจดบันทึกลงในเอกสารว่าผู้ป่วยได้รับประทานยาแล้ว

ซึ่งการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาภายใต้การสังเกตโดยตรง มีอัตราความสำเร็จในการรักษาที่สูงกว่าผู้ป่วยที่บริหารจัดการรับประทานยาเอง

แม้ว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อวัณโรคทุกรายควรเข้ารับการรักษาภายใต้การสังเกตโดยตรง ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Center For Disease Control And Prevention) ได้แนะนำอย่างเฉพาะเจาะจงว่าผู้ป่วยดังต่อไปนี้ควรเข้ารับการรักษาภายใต้การสังเกตโดยตรง ได้แก่

  • ผู้ป่วยที่ติดเชื้อวัณโรคดื้อยา
  • ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาวัณโรคเป็นบางช่วง ไม่ได้รับการรักษาครบตามระยะเวลาที่กำหนด
  • ผู้ป่วยที่เป็นคนเร่ร่อน ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง
  • ผู้ป่วยที่ติดสุราหรือสารเสพติด
  • ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานยาด้วยตนเองได้เนื่องจากปัญหาด้านร่างกาย จิตใจหรืออารมณ์
  • ผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่น
  • ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติไม่รับประทานยาตามที่แพทย์กำหนด

4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Treatment of tuberculosis: guidelines for national programmes. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/tb/features_archive/new_treatment_guidelines_may2010/en/)
Tuberculosis treatment. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5792048/)
Tuberculosis (TB) - Treatment. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/tuberculosis-tb/treatment/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป