การตรวจวัณโรคคืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 29 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การตรวจวัณโรคคืออะไร?

มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการหลายอย่างจำเป็นต้องตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคระยะแพร่กระจาย

เพื่อชะลอการระบาดของวัณโรค ต้องตรวจพบและให้การรักษาแต่เนิ่นๆ ถ้าตรวจพบวัณโรคในระยะแฝงจะสามารถรักษาได้ก่อนจะเข้าสู่ระยะแพร่เชื้อ ในประเทศสหรัฐอเมริกา การตรวจคัดกรองวัณโรคระยะแฝงจะทำในคนกลุ่ม ต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • คนที่เพิ่งเข้ามาในประเทศสหรัฐอเมริกาจากประเทศที่มีอัตราการป่วยเป็นวัณโรคสูง
  • คนที่เริ่มยากดถูมิคุ้มกันซึ่งจะกระตุ้นวัณโรคระยะแฝงให้เป็นโรคได้
  • คนที่มีโรคที่เพิ่มความเสี่ยงจะเป็นวัณโรคระยะแพร่กระจายเมื่อมีการติดเชื้อ เช่น เบาหวานที่ต้องฉีดอินซูลิน ไตวายระยะสุดท้าย เคยผ่าตัดกระเพาะอาหาร หรือติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
  • คนที่กินยาต้านทูเมอร์ เนโครวิส แฟกเตอร์ อัลฟ่า (tumor necrosis factor alpha หรือ TNF-alpha) เช่น ยาอินฟลิกซิแมบ (infliximab) ที่มีชื่อการค้าว่า เรมิเคด (Remicade) ยาอะดาลิมูแมบ (adalimumab) ที่มีชื่อการค้าว่า ฮูมิรา (Humira) หรือยาอีทาเนอร์เซพ (etanercept) ที่มีชื่อการค้าว่า เอนเบรล (Enbrel)

การตรวจคัดกรองวัณโรค

มีการตรวจสามอย่างที่ใช้คัดกรองวัณโรค ได้แก่

  • เอ็กซเรย์ปอด (ดีที่สุดในการคัดกรองวัณโรคปอดระยะแพร่กระจาย)
  • การตรวจทูเบอร์คูลิน (tuberculin skin test)
  • การตรวจวิเคราะห์การหลั่งอินเตอร์เฟียรอนแกมมาในเลือด (interferon gamma release assay หรือ IGRA)

ซึ่งการตรวจสองอย่างหลังนั้นได้รับอนุญาตให้ใช้วินิจฉัยวัณโรคแฝงได้ในประเทศสหรัฐอเมริกา

การตรวจทูเบอร์คูลินนั้นมีอีกชื่อว่า แมนท็อก (Mantoux หรือ PPD) ซึ่งย่อมาจากสารอนุพันธ์โปรตีนบริสุทธิ์ (purified protein derivative) ซึ่งการตรวจนี้ทำโดยฉีดสารอนุพันธ์โปรตีนจากเชื้อวัณโรคเข้าใต้ชั้นของผิวหนังที่ปลายแขน ถ้าจุดที่ฉีดเริ่มแดง นูน และเป็นตุ่มหลังจากผ่านมาไม่กี่วันจะบ่งบอกว่าติดเชื้อวัณโรค

เช่นเดียวกับการตรวจทุเบอร์คูลิน การตรวจอิกร่าในเลือดจะวัดระดับการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อแอนติเจนของเชื้อไมโคแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) ซึ่งก็คือเชื้อวัณโรค และการตรวจนี้ต้องเก็บตัวอย่างเลือดไปตรวจในห้องปฏิบัติการ

การตรวจวินิจฉัย

ถ้าสงสัยว่าวัณโรคอยู่ในระยะแพร่เชื้อ การตรวจทูเบอร์คูลิน การตรวจอิกร่า และการเอ็กซเรย์ปอดจะช่วยในการวินิจฉัยได้ อย่างไรก็ตามทั้งการตรวจทูเบอร์คูลินและการตรวจอิกร่าในเลือดไม่สามารถแยกแยะวัณโรคแฝงและวัณโรคระยะแพร่เชื้อได้ นอกจากนี้การตรวจทูเบอร์คูลินอาจให้ผลบวกลวงได้ในผู้ที่เคยฉีดวัคซีนวัณโรค (bacille Calmette-Guerin หรือ BCG) มาก่อนหรือติดเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นซึ่งลักษณะคล้ายวัณโรค

ส่วนเอ็กซเรย์ปอดก็มีข้อจำกัดเนื่องจากผลของวัณโรคต่อปอดคล้ายคลึงกับโรคหลายๆ โรค และเพื่อการวินิจฉัยที่จำเพาะมากขึ้นอาจมีการตรวจที่จำเป็น เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • เก็บตัวอย่างเสมหะและตรวจหาเชื้อวัณโรคไมโคแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) โดยตรง
  • ตรวจโมเลกุลของสารพันธุกรรมแบคทีเรีย
  • เก็บตัวอย่างเสมหะ ของเหลวจากส่วนอื่นของร่างกาย หรือเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อปอด ต่อมน้ำเหลือง หรือเนื้อเยื่อส่วนอื่นที่อาจเพาะเชื้อวัณโรคขึ้นเพื่อง่ายต่อการตรวจใต้กล้องจุลทรรศน์

อย่างไรก็ตามการเพาะเชื้อวัณโรคต้องใช้เวลา 4-7 สัปดาห์ จึงจะขึ้นจึงทำให้การวินิจฉัยวัณโรคช้าลงและมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการหลายอย่างที่อาจต้องทำเพื่อหายาที่ใช้รักษาวัณโรคดีที่สุดในผู้ป่วยแต่ละคน

การถ่ายภาพรังสี

การถ่ายภาพรังสีอาจใช้เพื่อช่วยวินิจฉัยวัณโรคระยะแพร่กระจาย

  • เอ็กซเรย์ใช้เพื่อหาวัณโรคปอดเช่นเดียวกับวัณโรคกระดูกหรือวัณโรคสันหลัง
  • เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์หรือซีทีใช้เพื่อหาวัณโรคกระดูกสันหลังหรือรายละเอียดในปอดซึ่งเอ็กซเรย์เห็นไม่ชัด
  • เอ็มอาร์ไอไขสันหลังหรือสมองเมื่อสงสัยว่ามีการติดเชื้อวัณโรคที่ไขสันหลังหรือสมอง
  • โบนสแกน (Bone scans) เพื่อแยกระหว่างมะเร็งกับวัณโรค ซึ่งทำให้เกิดรอยโรคที่กระดูกสันหลังเหมือนกัน

การตรวจเอชไอวี (HIV)

เนื่องจากวัณโรคนั้นมีอาการใกล้เคียงกับเอชไอวีจึงเป็นเรื่องปกติที่ต้องตรวจเอชไอวีในผู้ที่สงสัยวัณโรคแต่ไม่ทราบว่าติดเอชไอวีหรือไม่ ซึ่งการตรวจเอชไอวีจะช่วยให้เริ่มยาเอชไอวีได้เหมาะสมอย่างเหมาะสมร่วมกับการรักษาวัณโรค

การเริ่มต้นการรักษา

การยืนยันการวินิจฉัยวัณโรคระยะแพร่กระจายสามารถใช้เวลาได้ระยะหนึ่ง ในกรณีที่สงสัยอย่างมากว่าเป็นวัณโรค แพทย์อาจเริ่มยาต้านวัณโรคก่อนการวินิจฉัยจะยืนยันด้วยการแยกเชื้อวัณโรคในห้องปฏิบัติการ


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WHO recommends new tuberculosis test. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/tb/features_archive/TB_LAMP/en/)
Tuberculosis (TB) - Diagnosis. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/tuberculosis-tb/diagnosis/)
Testing & Diagnosis | TB. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/tb/topic/testing/default.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)