ยาที่ใช้ในการรักษาโรคข้อเสื่อมแบ่งกว้าง ๆ ออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มยาแก้ปวด และยาลดอาการปวดแบบออกฤทธิ์ช้า
1. กลุ่มยาแก้ปวด
ยากลุ่มนี้จะช่วยลดอาการปวด แต่เป็นการลดปวดชนิดที่ไม่ได้ช่วยซ่อมแซมโครงสร้างของข้อ ควรใช้เพียงแค่บางครั้งคราวเพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น เช่น ปวดศีรษะ ปวดประจำเดือน ปวดข้อเท้าพลิก รักษาอาการปวดได้ แต่ไม่ได้ชะลอการเสื่อมของข้อ
ตรวจ รักษา และผ่าเข่า วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,542 ลดสูงสุด 77%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ยาในกลุ่มนี้ได้แก่
- ยาพาราเซตามอล ลดอาการปวดได้ แต่ได้เฉพาะอาการที่ไม่รุนแรงโดยทั่วไป เป็นยาที่ไม่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และไม่มีผลต่อการทำงานของไต ไม่ควรใช้เกินวันละ 4 กรัม
- ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ยาไอบูโพรเฟน ยานาพรอกเซ็น ยาไดโคลฟีแนค ทำให้ลดอาการบวม ลดอาการปวดและขัด ยาในกลุ่มนี้มีประสิทธิภาพดีในการลดอาการปวดและการอักเสบ ควรกินในช่วงที่มีอาการมาก เช่น ข้อบวมอักเสบ แต่ไม่ควรกินติดต่อในระยะยาวเพราะจะมีผลข้างเคียง คือ มีเลือดออกและเป็นแผลในกระเพาะอาหาร มีผลต่อการทำงานของตับและไต ทำให้เลือดออกง่าย และอาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้ ดังนั้นควรใช้ยาประเภทนี้เฉพาะเวลาที่จำเป็นเท่านั้น
- ยาลดอาการปวดที่เป็นอนุพันธ์ของมอร์ฟีน จะใช้เฉพาะในรายที่มีอาการปวดมากเท่านั้น ยาในกลุ่มนี้ทำให้ง่วงซึมและคลื่นไส้ได้ นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงต่อการติดยาอีกด้วย ยาประเภทนี้คนอยู่ในการควบคุมของแพทย์
- ยานวดเฉพาะที่ เช่น ยานวดที่เป็นยากลุ่มต้านการอักเสบ ยาที่สกัดจากพริกไทย เป็นต้น ช่วยลดอาการปวดได้เฉพาะที่ในระยะสั้น แต่อาจจะทำให้มีการแสบร้อนหรือระคายเคืองผิวหนังได้
- การฉีดยากลุ่มสเตียรอยด์เข้าข้อในระยะที่ข้ออักเสบมาก ๆ โดยเฉพาะข้อเข่า เมื่อมีการอักเสบมากๆ ภายในข้อจะมีน้ำอักเสบจำนวนมากตามไปด้วย ทำให้ปวดขัดและตึงในข้อ แพทย์จึงจำเป็นต้องดูดน้ำอักเสบเหล่านี้ออกจากข้อ และฉีด สเตียรอยด์เข้าข้อเพื่อระงับอาการอักเสบและลดความเจ็บปวด
2. ยาลดอาการปวดแบบออกฤทธิ์ช้า
ในทางการแพทย์เรียกชื่อภาษาอังกฤษว่า SYSADOA (symptomatic slow-acting drugh for osteoarthritis) ยากลุ่มนี้ช่วยลดอาการอักเสบในข้อ รวมถึงบางตัวมีข้อมูลว่า มีคุณสมบัติในการยับยั้งการทำลายกระดูกอ่อน หรือกระตุ้นการซ่อมแซมกระดูกอ่อนส่วนที่เสื่อมได้ ปัญหาการใช้ยากลุ่มนี้คือ ราคายาค่อนข้างแพง และต้องใช้ระยะยาวราว 3- 6 สัปดาห์กว่าจะออกฤทธิ์ และไม่ใช่ยาแก้ปวดโดยตรง จึงนำไปใช้รักษาอาการปวดอย่างอื่นไม่ได้
นอกจากนี้ผลการรักษายังไม่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง เช่น ยังมีปัญหาว่าการศึกษาที่ทำแล้วพบว่ายาได้ผลดีนั้นได้รับการสนับสนุนจากบริษัทที่ผลิตยานั้นๆ แต่หากเป็นการศึกษาที่ทำโดยบริษัทอื่นอื่นๆ ยาชนิดนั้นกลับไม่ได้ผลดี นั่นจึงยังเป็นที่ถกเถียงกันถึงสาเหตุของผลการศึกษาที่แตกต่างว่าเป็นที่ “ตัวยา” หรือเป็นที่ “งานวิจัย” ที่ให้ผลการศึกษาแตกต่างกัน อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าในระยะยาว
ยาในกลุ่มนี้มีทั้งรูปแบบฉีดและกิน
- กลูโคซามีนซัลเฟต (Glucosamine Sulfate)เชื่อว่ามีผลกระตุ้นกระดูกอ่อนให้สร้างสารที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกอ่อน พบว่ายาชนิดนี้มีใช้กันมากในประเทศแถบยุโรป แต่ทางสหรัฐอเมริกายังถือเป็นกลุ่มอาหารเสริม รายงานการศึกษาว่า หลังผู้ป่วยได้รับยาชนิดนี้เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน ในขนาดวันละ 1,500 มิลลิกรัม เมื่อติดตามผลทางภาพเอกซเรย์พบว่ากระดูกอ่อนไม่บางลง แต่สำหรับผู้เป็นเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากอาจต้องระวังการใช้ยาชนิดนี้เป็นพิเศษ เนื่องจากมีการทดลองฉีดกลูโคซามีนขนาดสูงเข้าหลอดเลือดในสัตว์ทดลอง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ แต่ยังไม่พบรายการว่าเกิดจากการกินยาชนิดนี้ ส่วนผู้ที่แพ้อาหารทะเลอาจแพ้ยากลุ่มนี้ได้ เพราะผลิตจาก ไคติน (chitin)ที่ได้จากเปลือกปูและหอยนางรม
- คอนดรอยติน (Chondroitin)บางครั้งผสมมากับกลูโคซามีนในลักษณะของอาหารเสริม มีแหล่งผลิตแตกต่างกันไป ทำให้ผลการรักษาต่างกันได้ ข้อพึงระวังคือ คอนดรอยตินมีลักษณะโมเลกุลคล้ายเฮปาริน (heparin) จึงควรระวังการใช้ในผู้ที่ใช้แอสไพริน เพราะอาจมีปัญหาการแข็งตัวของเลือด ปัญหาเลือดหยุดยากได้ บางครั้งคอนดรอยตินก็ผลิตจากเนื้อวัว จึงอาจมีปัญหากับผู้ที่เคร่งครัดกับหลักศาสนาบางศาสนาได้ ข้อเสียของยากลุ่มนี้คือ ต้องกินเป็นเวลานานและราคาสูง
- ยาฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเพื่อฟื้นฟูและบำรุงข้อ ถือเป็นวิวัฒนาการการรักษาชนิดใหม่ของข้อเข่าเสื่อม ด้วยการฉีดสารที่มีโมเลกุล มีความหนักและมีความเหนียวใกล้เคียงสารน้ำหล่อลื่นในเข่า เข้าไปในเข่าเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในเขาที่เสื่อม เพราะในข้อที่เสื่อมนั้นน้ำเลี้ยงข้อเข่ามักจะเสื่อมสภาพด้วย การเติมสารเหล่านี้เข้าไปจะช่วยหล่อเลี้ยงข้อเข่าให้เคลื่อนไหวดีขึ้นได้ ผู้ป่วยบางคนที่มาให้หมอดูแลมักเรียกวิธีการนี้ว่า “ฉีดจาระบีเข้าเข่า”การใช้ยาชนิดนี้อาจชะลอการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าออกไปได้
ปัจจุบันผลการรักษายังไม่ชัดเจน โดยบางการศึกษาก็บอกว่าช่วยลดอาการปวดได้มากกว่ายาหลอก บางการศึกษาบอกว่าไม่ได้ลดอาการปวดมากกว่าอย่าหลอก แต่ไม่มีการศึกษาใด ๆ เลยที่บอกว่าสามารถชะลอการเสื่อมของข้อได้จริง
อย่างไรก็ดี พึงระลึกไว้ว่า เครื่องรถยนต์ที่เสื่อมสภาพแล้ว ถ้าจะใช้น้ำมันเครื่องวิเศษอย่างไร ผิวของเครื่องยนต์ก็ยังอยู่ในสภาพเดิม หมอจึงอยากให้ใช้ความระมัดระวังในการรักษา และหยุดคิดสักนิดว่า ของแพงหรือของใหม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป
รักษา ผ่าตัด กระดูกและข้อวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,673 บาท ลดสูงสุด 80%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ปัจจุบันน้ำเลี้ยงข้อเทียมที่มีขายในเมืองไทยมีหลายชนิด แต่ราคาค่อนข้างสูงถึงสูงมาก ถ้าเป็นชนิดดีๆ ราคาอาจสูงถึงเข็มละ 4,000 - 6,000 บาท และต้องฉีดน้ำเลี้ยงข้อเทียมสัปดาห์ละครั้ง การฉีดจำนวน 3 - 5 ครั้งจะบรรเทาอาการได้ประมาณ 6 - 12 เดือน ถ้าในช่วงนี้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือกับแพทย์อย่างเต็มที่ เช่น บริหารสร้างความเข้มแข็งให้กล้ามเนื้อรอบรอบ ๆ ข้อ ลดน้ำหนักเพื่อลดแรงที่กดลงไปยังข้อ ผู้ป่วยบางรายที่ฟื้นฟูสภาพเขาได้ การรักษาวิธีนี้ก็จะคุ้มค่ามาก เพราะอาการต่าง ๆ ดีขึ้นจนไม่จำเป็นต้องฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมอีก
- ยาอื่น ๆ ที่นำมาใช้รักษาโรคข้อเสื่อม ได้แก่ ยาไดอาเซอรีน (Diacerein) สารสกัดจากผลอะโวคาโดและถั่วเหลือง (Avocado / Soybean Unsaponifiable)
คำถามยอดฮิต“น้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมได้ไหม”
ในข้อเข่าที่เป็นปกติจะมีช่องว่างระหว่างข้อต่อ ในช่วงนั้นจะมีของเหลวที่มีลักษณะใส หนืด และลื่นบรรจุอยู่ เรียกว่า น้ำเลี้ยงข้อ (synovial fluid) โดยทั่วไปในบริเวณข้อเข่าจะมีน้ำเลี้ยงข้อปริมาณประมาณ 2 มิลลิลิตร แต่ในข้อเข่าที่มีขนาดเล็ก เรียงข้ออาจจะมีปริมาณน้อยกว่านั้น
น้ำเลี้ยงข้อมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่
- กระจายแรงกระแทกได้ดี เพราะนำเรียงข้อมีลักษณะเหนียว เมื่อมีแรงมากระทำ น้ำเหนียว ๆ นี้จะกระจายแรงไปทั่ว ๆ ข้อ ทำหน้าที่เหมือนเบาะรองรับข้อต่อ ลดแรงกระแทกต่อกระดูกอ่อนผิวข้อ
- หล่อลื่นข้อ ทำให้การเคลื่อนไหวข้อเป็นไปอย่างราบรื่นดีขึ้น
- นำสารอาหารและออกซิเจนมาเลี้ยงกระดูกอ่อนผิวข้อ แนะนำของเสียจากกระดูกอ่อนออกจากข้อผ่านเข้าไปยังเส้นเลือดและน้ำเหลือง เพราะข้อของเราไม่มีเลือดมาเลี้ยง สารอาหารทุกอย่างจึงต้องลำเลียงผ่านทางน้ำเลี้ยงข้อเท่านั้น
ส่วนประกอบของน้ำเลี้ยงข้อ
น้ำเลี้ยงข้อประกอบไปด้วยกรดไฮยาลูโรนิก (hyaluronic acid) ที่มีความเข้มข้นประมาณ 3 - 4 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร จะประกอบด้วยหลาย ๆ โมเลกุลมาเกาะกัน ทำให้เป็นโมเลกุลใหญ่ขนาด 6,500 - 11,000 กิโลดาลตัน จึงรองรับน้ำหนักข้อได้ดี เมื่อสังเคราะห์มาแล้วจะอยู่ในเนื้อข้อได้นานถึง 20 ชั่วโมง
“กิโลกรัมดาลตัน คือ หน่วยน้ำหนักของสารชีวโมเลกุลขนาดใหญ่โดยเฉพาะ เป็นหน่วยน้ำหนักโมเลกุลของโปรตีนและเอนไซม์ เช่น โปรตีนมีน้ำหนักโมเลกุล 100,000 ดาลตัน หรือเท่ากับ 100 กิโลดาลตัน”
รักษา ผ่าตัด กระดูกและข้อวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,673 บาท ลดสูงสุด 80%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สารลูบริซิน (lubrisin) ซึ่งเป็นไกลโคโปรตีน มีลักษณะคล้ายเมือก มีความหนืดและมีความยืดหยุ่นสูง มีหน้าที่ป้องกันการสัมผัสและการสึกกร่อนของกระดูกอ่อน รวมทั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์เยื่อหุ้มข้อ
ผู้ที่มีอาการข้อเสื่อม น้ำเลี้ยงข้อจะมีความผิดปกติ คือ มีความเข้มข้นลดลงและความยืดหยุ่นลดน้อยลง เนื่องจากสารไฮยาลูโรนิกเสื่อมคุณภาพ จึงมีน้ำหนักโมเลกุลโดยรวมน้อยกว่าของคนปกติ (แต่ละโมเลกุลไม่เกาะกันดังเดิม น้ำหนักมวลจึงลดลงเหลือประมาณ 2,700 - 4,500 กิโลดาลตัน) ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สูญเสียคุณสมบัติการรองรับแรงกระแทก เมื่อมีแรงกดลง กระดูกอ่อนซึ่งทำหน้าที่ป้องกันปลายกระดูกของกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้งจะเกิดการกระทบกระแทกและเสียดสีกัน พึ่งเป็นต้นเหตุของการอักเสบ ปวดบวมที่เกิดขึ้น นอกจากนี้พอมีการสร้างขึ้นมาใหม่ก็จะถูกทำลายอย่างรวดเร็ว จึงอยู่ได้นานแค่ 11 ชั่วโมงเท่านั้น
แนวทางการรักษาโรคข้อเสื่อมมีหลายวิธี และจุดมุ่งหมายของการรักษาทุกวิธีคือ ท่าลดอาการปวด ทำให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น ให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่การมุ่งหวังที่จะแก้ไขข้อที่ผิด หรือทำให้กระดูกอ่อนหนาขึ้นมานั้นยังไม่มีวิธีการใด ๆ ที่ได้ผลชัดเจน ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่กลัวการผ่าตัดจึงพยายามหาหนทางการรักษาอื่น ๆ ซึ่งการฉีดยาหล่อเลี้ยงข้อเทียม หรือ viscosopplementation ก็เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาสำหรับผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
น้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียม
เป็นสารสังเคราะห์หรือสารสกัดของกรดไฮยาลูโรนิก ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในน้ำเลี้ยงข้อปกติ ด้วยเหตุนี้น้ำเลี้ยงข้อเทียมจึงมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในเนื้อเยื่อของร่างกาย คือ มีความยืดหยุ่น มีความหนืดใกล้เคียงน้ำเลี้ยงข้อเข่าของคนปกติ และรับแรงกระแทกได้ดี น้ำเลี้ยงข้อเทียมจึงได้รับการยอมรับทั้งจากแพทย์และผู้ป่วยในเอเชีย อเมริกา และยุโรป
ปัจจุบันมีน้ำเลี้ยงข้อเทียมหลากหลายยี่ห้อ ซึ่งแต่ละยี่ห้อจะมีแหล่งที่มาและคุณสมบัติของกรดไฮยาลูโรนิกแตกต่างกัน เช่น สารสกัดมาจากหงอนไก่ สกัดจากเชื้อแบคทีเรีย ขนาดโมเลกุลของกรดไฮยาลูโรนิกในธรรมชาติจะใหญ่และเกาะกันเพื่อรับและกระจายแรงได้ดี ในสัตว์เลี้ยงข้อเทียมนี้หามีขนาดโมเลกุลใหญ่ก็จะใกล้เคียงกับธรรมชาติ และสามารถกระตุ้นร่างกายให้สร้างกรดไฮยาลูโรนิกเพิ่มได้มากกว่า แต่เมื่อฉีดเข้าไปอาจจะผ่านเนื้อเยื่อเข้าไปในข้อได้ไม่มากเพราะโมเลกุลมีขนาดใหญ่นั่นเอง ในขณะที่หากมีขนาดโมเลกุลเล็กจะสามารถผ่านเข้าไปได้ดี แต่จะกระตุ้นร่างกายให้สร้างกรดไฮยาลูโรนิกเพิ่มได้น้อยกว่า
ฉะนั้นเวลาตัดสินใจจะฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียม อย่าลืมปรึกษาคุณหมอที่รักษาด้วยว่ายาที่จะฉีดนั้นมีลักษณะอย่างไร
ฉีดน้ำเลี้ยงข้อเทียมเข้าไปในข้อเข่าแล้วจะทำให้เกิดผลที่สำคัญ 3 ประการ คือ ลดการอักเสบ กระตุ้นการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงเพิ่ม และให้อาหารบำรุงกระดูกอ่อน โดยน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมที่ฉีดเข้าไปจะลดการหลั่งสารอักเสบต่าง ๆ ลง ซึ่งเป็นกลไกหลักที่จะทำให้อาการปวดของผู้ป่วยดีขึ้น ต่อมาก็ไปกระตุ้นเซลล์เยื่อบุโพรงข้อให้มีการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงข้อเองตามธรรมชาติที่เรียกว่า visco induction คุณสมบัตินี้เองที่จะสามารถอธิบายได้ว่า “ทำไมน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมเหล่านี้แม้ว่าจะอยู่ในห้องเพียงไม่กี่วัน แต่สามารถลดอาการปวดได้หลายเดือน หรือบางคนได้เป็นปี”
มีข้อมูลในการทดลองพบว่า น้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมสามารถกระตุ้นให้กระดูกอ่อนซ่อมแซมตัวเองได้ดีขึ้น ภาพรวมที่เกิดขึ้นก็คือ จะคืนความสมดุลให้กับข้ออีกครั้ง
ส่วนประสิทธิภาพในการลดอาการปวดก็ดีใกล้เคียงกับการกินยาแก้ปวดลดอักเสบและการฉีดสาร สเตียรอยด์เข้าข้อ แต่ยาแก้ปวดลดอักเสบจะมีผลข้างเคียง เช่น ทำให้กระเพาะอาหารเป็นแผล ไตเสื่อมหรือวาย ความดันโลหิตสูงขึ้น จึงไม่ควรกินต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ในขณะที่น้ำเลี้ยงข้อเทียมจะอยู่แต่ในข้อและไม่มีผลต่อส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย และมีประสิทธิภาพได้นานถึง 12 เดือน ส่วนการฉีดสารสเตียรอยด์เข้าข้อถึงแม้จะลดอาการปวดได้ดี แต่มีผลอยู่ได้เพียง 1 - 3 เดือนเท่านั้น การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเทียมจึงทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและช่วยชะลอการผ่าตัดออกไปได้
หลังฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียม แม้จะทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่ควรจะพักข้อให้มาก หลีกเลี่ยงการเดินมากๆ เช่น ไปเที่ยว เดินไกลๆ เดินช็อปปิ้ง ซัก 2 - 3 วัน เพราะเป็นช่วงที่เรากำลังดูแลฟื้นฟูข้ออยู่ จึงควรดูแลข้อให้เต็มที่ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยคือ เมื่อผู้ป่วยฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมไปมั่งมีอาการดีขึ้น ทำให้ยิ่งไปเดินหรือใช้งานเข้ามากอีก ทำให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร
น้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมฉีดข้ออื่น ๆ ได้ไหม
นอกจากข้อเข่าแล้ว มีการศึกษาที่นำน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมไปฉีดข้ออื่นๆ แต่จะต้องเป็นข้อที่มีขนาดใหญ่ เช่น ข้อสะโพก ข้อเท้า ข้อไหล่ เป็นต้น แต่การศึกษายังมีไม่มาก ด้วยความที่ข้อเหล่านี้อยู่ลึกมาก เช่น ข้อสะโพกต้องใช้เข็มยาวพิเศษและต้องทำในห้องที่มีเอกซเรย์เพื่อให้แน่ใจว่าน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมเข้าข้อแล้วจริงๆ พ่อหาญไม่เข้าข้ออาจจะทำให้เนื้อเยื่อรอบๆ อักเสบได้
สำหรับในประเทศไทยพบผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมมากที่สุดและบ่อยที่สุด การฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมจึงนิยมฉีดเข้าข้อเข่ามากที่สุดไปด้วย
หลาย ๆ ท่านคงสงสัยว่า แล้วจะมีผลข้างเคียงอะไรได้บ้าง
ผลข้างเคียงมีไม่มากและไม่น่าเป็นกังวลใจสักเท่าไหร่ เพราะมักจะเป็นผลข้างเคียงเฉพาะที่ เช่น ระคายเคืองบริเวณที่ฉีด น้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ในบางครั้งอาจจะกระตุ้นให้มีการอักเสบได้ ซึ่งบางครั้งอาจจะรุนแรง ดูคล้ายมีการติดเชื้อที่ข้อ มีรายงานว่า การฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านจากทั่วโลกต่างลงความเห็นแล้วว่า ไม่น่ามีสาเหตุจากการฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียม โรคต่าง ๆ ที่ยกตัวอย่างมานั้นอาจจะเป็นกลุ่มโรคที่พบในผู้สูงอายุซึ่งมักจะเป็นกลุ่มที่ฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมพอดี ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่ากังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงเหล่านี้ แต่ที่น่ากังวลมากกว่าคือ ราคา
ส่วนใหญ่การฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมต้องทำต่อเนื่องสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกันราว 3 - 5 สัปดาห์ ยิ่งถ้าได้ต่อเนื่องกันก็จะดีมาก ถ้าเป็นกลุ่มพวกโมเลกุลใหญ่อาจจะฉีดน้อยครั้ง ถ้าเป็นชนิดที่โมเลกุลขนาดกลางต้องฉีดหลายครั้งมากขึ้น แต่ประสิทธิภาพก็จะดีขึ้นไปด้วยตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีค่าบริการทางการแพทย์อื่น ๆ เช่น ค่าแพทย์ฉีดยา ค่ายาชา ค่าชุดทำแผลปลอดเชื้อ โดยรวมก็ประมาณ 500 - 1,000 บาท ขึ้นอยู่กับสถานพยาบาลนั้นๆ ถ้าเป็นโรงพยาบาลของรัฐก็อาจจะน้อยหน่อย และต้องฉีดประมาณ 3 - 5 ครั้ง โดยสรุปราคาต่อคอร์สการรักษาประมาณ 15,000 - 35,000 บาท
คำถามต่อมาคือ ฉีดคอร์สเดียวแล้วจบ หรือต้องมาฉีดต่ออีกไหม
จากถ้าเราต้องเสียเงินมากขนาดนี้ แล้วอาการเจ็บปวดทรมานหายสนิทเลย การฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมก็คงคุ้มแสนคุ้ม เพราะถูกกว่าไปผ่าตัดมาก แถมยังไม่ต้องเจ็บตัวเท่าการผ่าตัดอีก
คำตอบคือ ไม่แน่ไม่นอน ขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละเคส อย่างบางรายข้อเข่าเสื่อมมากแล้ว เมื่อฉีดแล้วอาจจะไม่ได้ผลดีมากนัก และมีโอกาสต้องมาฉีดอีกเรื่อย ๆ สำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้หมอจะแนะนำให้ไปผ่าตัดดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าร่างกายยังแข็งแรง มีเพียงแต่เขาที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิต
การฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมจะได้ผลดีที่สุดในผู้ป่วยกลุ่มที่มีข้อเสื่อมปานกลาง เมื่อฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมแล้ว ผู้ป่วยก็ช่วยกันดูแลในส่วนอื่น ๆ ด้วย เช่น ลดน้ำหนัก ออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูหัวเข่า กลุ่มนี้ฉีดไปแล้ว 3 - 5 ปีจึงจะต้องมาฉีดใหม่ บางรายอาการทุเลาไปตลอดเลยก็มี เพราะเขารู้จักที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและดูแลหัวเข่าให้ดี ผู้ป่วยกลุ่มนี้หมอว่าคุ้มค่าที่จะฉีด
จากประสบการณ์ที่หมอดูแลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมและมีการใช้น้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมมา หมอจะใช้โอกาสนี้ในการดูแลและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมส่วนอื่น ๆ ด้วย เพราะการที่ผู้ป่วยต้องมาหาหมอทุกสัปดาห์นั้นเป็นโอกาสทองที่เราจะได้ดูแลเขาอย่างใกล้ชิด ได้ให้คำแนะนำทางเลือกอาหารเพื่อลดน้ำหนักส่วนเกิน พฤติกรรมการใช้ข้อที่ถูกต้องและการออกกำลังกายเพื่อบำรุงฟื้นฟูข้อ นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสที่จะติดตามดูว่าสิ่งที่หมอแนะนำไปนั้น ผู้ป่วยทำได้มากน้อยแค่ไหน มีข้อติดขัดหรืออุปสรรคอะไรบ้าง มีอะไรที่จะทำเพิ่มเติมในแต่ละครั้งได้ ทำให้หมอได้เรียนรู้พฤติกรรมของผู้ป่วยแต่ละรายและปรับให้เข้ากับแต่ละคนได้มากที่สุด
หมอจะขอร้องผู้ป่วยเสมอว่า ช่วยให้โอกาส 3 - 5 สัปดาห์นี้โปรดอย่าดื้อกับหมอ หลังจากที่ใช้งานข้อเหล่านี้มาหลายสิบปีแล้ว ถึงเวลาที่จะต้องมาดูแลข้อของคุณบ้าง ช่วงเวลาสั้น ๆ นี้ถ้าทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและใช้งานข้อไปได้อีกนาน หากผู้ป่วยมีความเข้าใจและให้ความร่วมมือ ผลการรักษามักจะดีและคุ้มค่ามาก บางท่านฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมมาแล้ว 5 - 10 ปี ก็ยังใช้งานได้ดีและสุขภาพก็แข็งแรงขึ้นด้วย
สุดท้าย ก่อนการตัดสินใจรับการรักษาด้วยการฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียม คุณควรจะปรึกษาแพทย์ดูก่อนว่า เราจะเหมาะกับน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมชนิดใด ข้อเข่าเราเสื่อมมากหรือยัง แนวทางการรักษาในระยะยาว การปฏิบัติตนอื่น ๆ การปรับพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อให้การฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมมีประสิทธิภาพสูงสุดและคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปมากที่สุด
คุณสามารถอ่านข้อมูลดี ๆ มีประโยชน์แบบนี้ได้เพิ่มเติมที่หนังสือ "ปรับชีวิตพิชิตข้อเสื่อม" โดยพลโทหญิง ศาสตราจารย์คลินิก แพทย์หญิงพรฑิตา ชัยอำนวย และพันเอกหญิง รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสุมาภา ชัยอำนวย จากสำนักพิมพ์อัมรินทร์สุขภาพ เพื่อสนับสนุนผู้แต่ง