กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ITP: Idiopathic or Immunologic Thrombocytopenic Purpura (ภาวะเลือดออกง่ายจากเกล็ดเลือดต่ำชนิดไม่ทราบสาเหตุ)

เผยแพร่ครั้งแรก 3 ต.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 27 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที

ความหมาย เป็นภาวะที่มีเลือดออกใต้ผิวหนังและเยื่อบุเนื่องจากเกล็ดเลือดมีชีวิตสั้นกว่าปกติ 1 ถึง 3 วัน หรือน้อยกว่าเพราะถูกทำลายโดยแอนติบอดีในเลือด หรือกล่าวได้ว่าเป็นภาวะที่มีเกล็ดเลือดน้อยกว่า 150,000 เซลล์/ไมโครลิตร (ค่าปกติ = 200,000-400,000 เซลล์/ไมโครลิตร) ทำให้พบลักษณะเลือดออกใต้ผิวหนัง

สาเหตุ 

เกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

พยาธิสรีรภาพ 

ในภาวะปกติ เกล็ดเลือดมีหน้าที่เสริมความแข็งแรงของเยื่อบุหลอดเลือด เมื่อมรการฉีกขาดของหลอดเลือด เกล็ดเลือดจะเกาะกันเป็นกลุ่มเกิดเป็น Platelet plug เพื่ออุดหลอดเลือดที่ฉีกขาด และหลั่งสารที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลไกการห้ามเลือดได้แก่ สาร Adencsine diphosphate (ADP) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกล็ดเลือดมาเกาะกลุ่มกัน สารซีโรโตนิน (Serotonin) ซึ่งทำให้หลอดเลือดทดตัวปิดรอยฉีกขาด และ Platelet factor 3 ซึ่งเป็นสารที่กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาการแข็งตัวของเลือด เมื่อมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำเกิดขึ้นด้วยสาเหตุใด ๆ ก็ตาม จะทำให้ความแข็งแรงของหลอดเลือดลดลง หลอดเลือดฉีกขาดทำให้มีการเสียเลือดซึ่งขึ้นกับความรุนแรงของภาวะเกล็ดเลือดต่ำ และทำให้เลือดหยุดยากเนื่องจากเกล็ดเลือดที่มีอยู่น้อยไม่สามารถเกาะกลุ่มกัน

อาการ 

มีอาการเลือดออกในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น มีเลือดออกตามผิวหนังเป็นจุดเลือดหรือจ้ำเลือด มักมีเลือดออกจากเยื่อบุจมูก ไรฟัน ถ่ายเป็นเลือด มีเลือดออกที่เยื่อบุตาหรือในจอตา มีประจำเดือนมากกว่าปกติ หากเป็นรุนแรงจะมีเลือดออกที่ลิ้น หลอดอาหาร ลาริงซ์ หรือช่องสายเสียง

การวินิจฉัย 

จะพบจำนวนเกล็ดเลือดต่ำมากจนไม่พบเลย จำนวนของเกล็ดเลือดสัมพันธ์กับอาการเลือดออก เลือดจะไม่ออกนอกจากเกล็ดเลือดต่ำกว่า 60,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร และเจาะไขกระดูกจะพบว่าเกล็ดเลือดตัวอ่อนในไขกระดูกมีจำนวนปกติหรือเพิ่มขึ้นเป็นตัวอ่อนซึ่งมีหนึ่งนิวเคลียสมีแกรนนูลเล็กน้อยในไซโตพลาสซึม เพื่อหาโรคที่เป็นสาเหตุ

การรักษา 

รักษาตามอาการและปัญหาที่พบ ได้แก่ ให้เลือดและเกล็ดเลือดทดแทนเมื่อมีภาวะเลือดออกให้สเตียรอยด์จะช่วยลดความเปราะของหลอดเลือดและจำนวนเกล็ดเลือดจะเพิ่มขึ้น เปลี่ยนถ่ายพลาสมาและตัดม้าม

การพยาบาล 

ดูแลไม่ให้เกิดภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจนโดยให้นอนพักบนเตียง สังเกตจำนวนจุดและจ้ำเลือดว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลง ป้องกันท้องผูกโดยให้ดื่มน้ำมาก ๆ แก้ไขภาวะติดเชื้อ ภาวะแทรกซ้อนจากการให้เลือด และลดความวิตกกังวล


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
medlineplus, Immune thrombocytopenic purpura (ITP) (https://medlineplus.gov/ency/article/000535.htm)
L. Kayal, S. Jayachandran, and Khushboo Singh, (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4147825/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ผู้ที่เป็นเส้นเลือดในสมองตีบมีสิทธิ์ที่จะเป็นรอบ2ไหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคเกล็ดเลือดต่ำมีทางหายไหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อยากถามเกี่ยวกับภาวะเกร็ดเลือดต่ำค่ะ 116000 จะมีอันตรายอะไรไหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เคยตรวจเลือดแล้วมีผลแจ้งว่าเกล็ดเลือดสูง อยากทราบว่าอันตรายหรือไม่ และจะรักษายังงัยคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
แก้ปัญหาเกล็ดเลือดต่ำได้อย่างไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีจุดเลือดแดงขึ้นเตมขาทั้ง2ข้างเกิดจากอะรัยคระ แล้วมีวิธีรักษาให้หายไหมคระ?
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)