ผู้ที่ตกอยู่ใน ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ นั้นต้องแบกรับกับปัญหาที่มีน้ำปัสสาวะเล็ดและไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ทันเวลาอันเนื่องมากจาก การทำงานผิดพลาดของกระเพาะปัสสาวะและหูรูดท่อปัสสาวะ ซึ่งปัญหาการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะนี้พบมากในผู้หญิง แต่ผู้ชายบางส่วนก็ตกอยู่ในภาวะนี้เช่นกัน การรักษาให้หายขาดนั้นทำได้ด้วยการผ่าตัด แต่ผู้ป่วยก็สามารถบำบัดภาวะนี้ได้โดยไม่ต้องพึ่งมีดหมอเช่นกัน หากอาการที่พบไม่รุนแรงมาก
การบำบัดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ โดยไม่ต้องพึ่งการผ่าตัดนั้นประกอบไปด้วยการบำบัด 3 ชนิด คือ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- การบำบัดโดยการเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน
- การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
- การบริหารกระเพาะปัสสาวะ
1. การเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน
การบำบัดอาการภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่นั้นสามารถเริ่มต้นได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ดังนี้
ดื่มน้ำให้น้อยลง: เนื่องจากผู้ที่อยู่ในภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่นั้นไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ การดื่มน้ำที่มากเกินไปจะทำให้อาการแย่ลง คำแนะนำคือดื่มน้ำให้น้อยลงกว่าปกติเพียงเล็กน้อยเพื่อลดการทำงานของกระเพาะปัสสาวะลงได้บ้างและป้องกันการเล็ดไหลออกมาของน้ำปัสสาวะในชีวิตประจำวัน
ลดการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน: เครื่องดื่มจำพวก ชา กาแฟ ช็อคโกแลต น้ำอัดลม และเครื่องดื่มชูกำลัง ประกอบไปด้วยปริมาณคาเฟอีนที่ค่อนข้างสูง และมีส่วนทำให้ร่างกายผลิตปริมาณน้ำปัสสาวะมากเป็นพิเศษ ซึ่งนำไปสู่การที่มีน้ำปัสสาวะเล็ดออกจากกระเพาะปัสสาวะ การงดหรือลดการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้จะช่วยบำบัดระบบขับถ่ายปัสสาวะให้กลับมาทำงานตามปกติได้
ลดน้ำหนักและสัดส่วน: ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานเมื่อเทียบกับส่วนสูง (ตรวจสอบได้จากค่า BMI) จะทำให้มีการกดทับของกล้ามเนื้อและไขมันลงไปที่บริเวณกระเพาะปัสสาวะมากและทำให้น้ำปัสสาวะรั่วไหลออกมาได้ง่าย ผู้ป่วยภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่จึงควรเลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกับสัดส่วนโดยรวมเพื่อลดแรงกดลงบนกระเพาะปัสสาวะ
2. การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานคือกล้ามเนื้อรอบๆกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะที่มีหน้าที่ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ ซึ่งหากกล้ามเนื้อส่วนนี้ไม่มีความแข็งแรงมากพอก็จะทำให้ร่างกายมีปัญหาในการกลั้นปัสสาวะ แพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยทดสอบบริหารกล้ามเนื้อในส่วนนี้โดยการขมิบประมาณ 10 นาทีต่อครั้งและ3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลานาน 3 เดือน หากได้ผล ผู้ป่วยควรทำต่อไปเรื่อยๆจนอาการค่อยๆดีขึ้น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานมีอยู่ด้วยกันหลักๆ 3 วิธีทางการแพทย์ ดังนี้
- การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า (electrical stimulation) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถขยับหรือขมิบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเองได้ เครื่องสอดใส่ขนาดเล็กจะถูกใส่ไว้ในอวัยวะเพศหญิง หรือใส่ไว้ในรูทวารสำหรับผู้ป่วยเพศชายเพื่อรับ-ส่งกระแสไฟฟ้าอ่อนๆให้ไปกระตุ้นกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เมื่อผู้ป่วยสามารถระบุกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานได้แล้วก็สามารถออกกำลังกล้ามเนื้อในส่วนนี้ได้
- การบริหารแบบ biofeedback เป็นการบริหารให้ผู้ป่วยรับรู้ถึงการขยับกล้ามเนื้อของตัวเอง โดยเครื่องสอดใส่ขนาดเล็กจะถูกใส่ไว้ในอวัยวะเพศหญิงและในรูทวารของเพศชายในขณะที่ผู้ป่วยลองขยับกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เครื่องสอดใส่นี้จะส่งข้อมูลไปยังหน้าจอคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับการขยับกล้ามเนื้อของผู้ป่วยในแต่ละครั้ง
- การบริหารโดยการใช้ virginal cones คือการออกกำลังกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานโดยใช้เครื่องถ่วงน้ำหนักหรือเวท (weight) ขนาดเล็กที่สามารถสอดใส่ไว้ในอวัยวะเพศหญิงได้ การบริหารคือผู้ป่วยต้องใช้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานในการยึดเวทไว้กับที่ หากทำได้ดีแล้วให้เพิ่มน้ำหนักของเวทขึ้นเรื่อยๆ คล้ายกับการออกกำลังกายกล้ามเนื้อแขนนั่นเอง
3. การบริหารกระเพาะปัสสาวะ
การบริหารกระเพาะปัสสาวะสามารถทำควบคู่ไปกับการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานได้ ซึ่งการบริหารกระเพาะปัสสาวะคือการฝึกให้ผู้ป่วยรับรู้ถึงการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะก่อนที่ปัสสาวะจะถูกขับออกมา การฝึกนี้จะถูกควบคุมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเป็รการฝึกที่ใช้เวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์
การบำบัดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่นั้นไม่ต้องพึ่งการผ่าตัดเสมอไปหากอาการที่พบไม่รุนแรงซึ่งผู้ป่วยสามารถเริ่มบำบัดได้จากเรื่องใกล้ตัว ทั้งนี้ผู้ป่วยยืนยันว่าการบำบัดแบบผสมผสานช่วยทำให้ร่างกายควคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้ดีขึ้นแม้ต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าระบบเหล่านี้จะกลับมาเป็นปกติ