ชีพจรขณะหยุดพักที่เร็วขึ้นเป็นสัญญาณที่ควรจะต้องจับตา

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ชีพจรขณะหยุดพักที่เร็วขึ้นเป็นสัญญาณที่ควรจะต้องจับตา

ชีพจรขณะหยุดพักที่เร็วขึ้นอาจเป็นสัญญาณของโรคหัวใจในภายภาคหน้า

ในช่วงที่คุณนั่งอยู่เฉย ๆ หัวใจของคุณจะมีการพัก และเต้นช้าลง หรือที่เรียกกันว่า “ชีพจรขณะหยุดพัก (resting heart rate) การที่คุณมีชีพจรขณะหยุดพักเร็วขึ้นอาจเป็นสัญญาณของโรคหัวใจในภายภาคหน้า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ชีพจรของคุณสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละช่วงแต่ละนาที โดยขึ้นอยู่กับว่าคุณยืน นอน ขยับร่างกายอยู่ หรือนั่งอยู่เฉย ๆ รู้สึกเครียด หรือ ผ่อนคลาย แต่ชีพจรขณะพักจะคงที่อยู่ประมาณหนึ่งในแต่ละวัน ค่าปกติของชีพจรขณะพักนั้นจะอยู่ที่ 60-90 ครั้งต่อนาที หากสูงเกิน 90 จะถือว่าอัตราการเต้นของหัวใจนั้นสูงกว่าปกติ

มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อชีพจรขณะหยุดพัก พันธุกรรมด้วยส่วนหนึ่ง อายุก็เช่นกันที่จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจนั้นสูงขึ้น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้อัตราการเต้นของหัวใจนั้นช้าลงได้ (Lance Armstrong ในช่วงที่กำลังรุ่งเรืองนั้นมีชีพจรขณะพักเพียง 32 ครั้งต่อนาที) ความเครียด ยา และโรคประจำตัวบางอย่างอาจส่งผลต่อเรื่องอัตราการเต้นของหัวใจได้เช่นกัน

ผลจากการศึกษาสนับสนุนถึงความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพที่ดีและชีพจร นักวิจัยจาก Norway ได้รายงานถึงผลการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของชีพจรขณะพักเป็นเวลากว่า 10 ปี โดยได้กลุ่มตัวอย่างมากกว่า 29,000 คน โดยแต่ละคนจะไม่มีประวัติโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดใด ๆ มาก่อน วัดชีพจรขณะพักตอนเริ่มต้นการศึกษา และวัดซ้ำอีกครั้งใน 10 ปีถัดมา โดยการศึกษานี้ได้ตีพิมพ์ใน วารสารการแพทย์ของสมาคมการแพทย์อเมริกัน (Journal of American Medical Association)

เมื่อเปรียบเทียบแล้ว กลุ่มตัวอย่างที่มีชีพจรขณะพักอยู่ที่ต่ำกว่า 70 ครั้งต่อนาทีในตอนเริ่มต้นการศึกษาและเมื่อสิ้นสุดการศึกษา เทียบกับกลุ่มที่ชีพจรขณะพักสูงขึ้นไปมากกว่า 85 ครั้งต่อนาที พบว่ากลุ่มหลังมีแนวโน้มที่ได้เสียชีวิตไประหว่างการศึกษาถึง 90% อัตราเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นนั้นจะน้อยลงในกลุ่มที่ชีพจรยังคงอยู่ระหว่าง 70-85 ครั้งต่อนาที

แม้ว่า 90% จะดูเป็นอัตราส่วนที่ดูใหญ่และดูน่ากลัว ในกลุ่มตัวอย่างที่มีชีพจรขณะพักต่ำกว่า 70 ครั้งต่อนาทีตลอดการศึกษา พบว่ามีคนตาย 8.2 คนต่อประชากร 10,000 คนต่อปี ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่มีชีพจรขณะพักขึ้นสูงกว่า 85 ครั้งต่อนาที พบว่ามีคนตาย 17.2 คนต่อประชากร 10,000 คนต่อปี

จากผลการศึกษานี้ได้เสนอว่าการลดอัตราการเต้นของหัวใจของคุณนั้นอาจมีประโยชน์ในระยะยาว แต่ก็ไม่สามารถยืนยันได้แน่ชัด

แล้วที่อธิบายมาทั้งหมดนี่เกี่ยวกับคุณอย่างไร

คุณไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพียงเพื่อจะคอยตรวจติดตามอัตราการเต้นหัวใจของคุณ เวลาที่ดีที่สุดในการวัดชีพจรคือเช้าหลังตื่นนอน คุณสามารถตรวจเองได้ง่ายโดยจับชีพจรที่บริเวณข้อมือ หรือ คอ นับจำนวนชีพจรที่เต้นใน 15 วินาที จากนั้นนำไปคูณ 4

และเพียงทำตามคำแนะนำสี่ข้อต่อไปนี้ คุณก็สามารถลดอัตราการเต้นหัวใจได้

  • ออกกำลังกายให้มากขึ้น ไม่ว่าคุณจะเดินให้เร็วขึ้น ว่ายน้ำ หรือขี่จักรยาน หัวใจของคุณจะเต้นเร็วขึ้นระหว่างทำกิจกรรมเหล่านี้ และหลังจากนั้นไปอีกสักพักหนึ่ง แต่การออกกำลังกายทุกวันจะค่อย ๆ ลดอัตราการเต้นหัวใจให้ช้าลง
  • ลดความเครียด ลองลดความเครียดโดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การทำสมาธิ ไทชิ (ไทเก๊ก) หรือเทคนิคลดความเครียดต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยลดอัตราการเต้นหัวใจให้ช้าลง
  • เลี่ยงบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีชีพจรขณะพักสูงกว่าคนทั่วไป การเลิกบุหรี่จะทำให้ชีพจรขณะพักกลับมาต่ำลง
  • ลดน้ำหนัก น้ำหนักตัวที่มากขึ้นหมายถึงการที่หัวใจต้องทำงานมากขึ้นเพื่อส่งเลือดหล่อเลี้ยง การลดน้ำหนักจะช่วยลดอัตราการเต้นหัวใจที่สูงขึ้น

4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Monitoring of Heart Rate from Photoplethysmographic Signals Using a Samsung Galaxy Note8 in Underwater Environments. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6651860/)
Want to check your heart rate? Here’s how . Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/heart-health/want-to-check-your-heart-rate-heres-how)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)