ภาวะเส้นประสาทถูกกดทับ

เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ภาวะเส้นประสาทถูกกดทับ

ภาวะเส้นประสาทถูกกดทับนั้นเป็นการบาดเจ็บของเส้นประสาทหรือกลุ่มของเส้นประสาทที่เกิดจากการที่หมอนรองกระดูกสันหลัง กระดูกหรือกล้ามเนื้อนั้นกดทับเส้นประสาท ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการ

  • ชา
  • ปวดแปล๊บ
  • แสบ
  • เหมือนถูกเข็มจิ้ม

ภาวะนี้ทำให้เกิดภาวะ carpal tunnel syndrome, กลุ่มอาการที่เกิดจากเส้นประสาท sciatica (ภาวะนี้ไม่สามารถทำให้เกิดหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้ ในทางกลับกัน หมองรองกระดูกที่เคลื่อนนั้นสามารถกดทับรากประสาท) และโรคอื่นๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในกรณีที่เส้นประสาทถูกกดทับบางครั้งนั้นอาจจะต้องให้แพทย์เป็นผู้รักษา แต่วิธีการต่อไปนี้สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดที่บ้านได้

เปลี่ยนท่า

คุณอาจจะต้องเปลี่ยนท่านั่งหรือยืนเพื่อบรรเทาอาการปวดที่เกิดจากภาวะนี้ ลองหาท่าที่ทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นและอยู่ในท่าดังกล่าวให้นานท่าสุด

ใช้โต๊ะทำงานแบบยืน

การเคลื่อนไหวและการยืนตลอดทั้งวันนั้นสามารถช่วยป้องกันและรักษาภาวะนี้ได้

หากคุณมีอาการหรือกำลังหาวิธีป้องกันการที่เส้รประสาทถูกกดทับ ควรลองหาวิธีการเปลี่ยนโต๊ะเพื่อที่คุณจะได้ยืนขณะทำงานได้ หรือถ้าหากเปลี่ยนไม่ได้ ให้ลองลุกขึ้นเดินสั้นในแต่ละชั่วโมง

การออกกำลังกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อทุกชั่วโมงนั้นอาจจะสามารถช่วยได้หากคุณใช้แป้นพิมพ์เป็นประจำ (ไม่แนะนำให้ใส่อุปกรณ์ช่วยข้อมือหรืออื่นๆ เป็นอย่างแรกในการรักษา

พักผ่อน

ไม่ว่าคุณจะมีอาการเส้นประสาทถูกกดทับหรือไม่ก็ตาม สิ่งที่ดีที่สุดก็มักจะเป็นการพักให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่จะทำให้เกิดอาการปวดเช่นตีเทนนิส เล่นกอล์ฟ หรือส่งข้อความ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ควรพักจนกว่าอาการนั้นจะหายสนิท และเมื่อเริ่มขยับร่างกายส่วนนั้นอีกครั้งให้ลองสังเกตว่ารู้สึกอย่างไร และหยุดการทำกิจกรรมทันทีหากมีอาการปวดอีกครั้ง

การพัน

หากคุณเป็นโรค carpal tunnel ซึ่งเป็นการที่เส้นประสาทนั้นถูกกดทับในข้อมือ การพันข้อมือนั้นสามารถช่วยให้คุณพักการใช้งานและป้องกันข้อมือได้ โดยเฉพาะในตอนกลางคืนเพื่อไม่ให้ข้อมือนั้นอยู่ในท่าที่ผิดรูปขณะที่นอนหลับ

การยืด

การยืดเบาๆ นั้นสามารถลดแรงที่กดทับต่อเส้นประสาทและทำให้อาการนั้นดีขึ้นได้ อย่ายืดมากเกินไปจนทำให้เกิดอาการปวด

ประคบร้อน

คุณสามารถใช้ความร้อนมาช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่อาจจะหดเกร็งอยู่รอบๆ บริเวณเส้นประสาทที่ถูกกดทับ ความร้อนนั้นจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดซึ่งจะช่วยในการฟื้นฟู

ให้ประคบร้อนลงบนตำแหน่งที่เส้นประสาทถูกกดทับครั้งละ 10-15 นาที

ประคบเย็น

ความเย็นนั้นจะช่วยลดอาการบวมและการอักเสบ ให้ใช้ผ้าขนหนูห่อก้อนน้ำแข็งก่อนนำมาประคบที่ตำแหน่งที่เส้นประสาทนั้นถูกกดทับเป็นเวลา 10-15 นาที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยกขา

หากมีเส้นประสาทถูกกดทับในหลังส่วนล่าง ลองยกขาขึ้นและให้สะโพกและเข่านั้นตั้งฉากกัน

รับประทานยาแก้ปวด

หากคุณยาทานยาแก้ปวด คุณสามารถใช้ยาแก้ปวดกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เช่น ibuprofen หรือแอสไพริน รับประทานตามคำแนะนำที่ฉลากของยาและอย่าลืมปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้ยาชนิดใหม่

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

หากอาการปวดนั้นรุนแรง เรื้อรัง หรือกลับเป็นซ้ำบ่อยๆ ควรไปพบแพทย์ แพทย์อาจจะทำการตรวจเพิ่มเติมหรือซักประวัติเกี่ยวกับวิธีการใช้ชีวิตเพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว

หากอาการนั้นยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์อีกครั้ง เพื่อเปลี่ยนแก้ปวดที่แรงขึ้นหรือทำการตรวจเพิ่มเติมเช่นการเอกซเรย์เพื่อระบุตำแหน่งที่เส้นประสาทนั้นถูกกดทับ แพทย์อาจจะแนะนำให้ทำกายภาพบำบัดเพื่อช่วยลดอาการที่เกิดขึ้น

คุณควรหยุดวิธีการรักษาที่บ้านหากวิธีเหล่านั้นทำให้คุณเจ็บหรือทำให้อาการนั้นแย่ลง หากคุณมีอาการชาหรือแปล๊บที่ไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง ควรไปพบแพทย์

ไปพบแพทย์ทันทีหากคุณมีภาวะเส้นประสาทถูกกดทับที่

  • ส่งผลต่อการขับถ่ายหรือปัสสาวะ
  • ทำให้ขาหรือแขนทั้งข้างอ่อนแรง
  • ทำให้คุณไม่สามารถหยิบของต่างๆ ได้
  • ทำให้คุณมักจะทำของตก

หากวิธีการรักษาที่บ้านนั้นไม่ทำให้อาการดีขึ้น หรือคุณยังคงมีอาการต่อเนื่อง แพทย์อาจจะใช้ยาแก้ปวด การทำกายภาพบำบัดหรือการผ่าตัด

ผลลัพธ์

หากที่มีอาการเป็นบางครั้งนั้นมักสามารถรักษาให้หายได้เองที่บ้าน แต่บางครั้งการบาดเจ็บนั้นอาจจะแก้ไม่ได้และต้องไปพบแพทญ์ คุณสามารถป้องกันการเกิดภาวะนี้ได้ด้วยการใช้ร่างกาย ให้เหมาะสมและอย่าใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
รศ.พญ.กนกวรรณ บุญญพิสิฎฐ์, มือเท้าชา เมื่อเส้นประสาทถูกกดทับ (https://www.si.mahidol.ac.th/th/tvdetail.asp?tv_id=260), 5 กันยายน 2553

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)