กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ตาบอดสี (Color Blindness)

ภาวะตาบอดสีคืออะไร มีอาการอย่างไร เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง เป็นแล้วสามารถรักษาให้หายได้หรือไม่?
เผยแพร่ครั้งแรก 25 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 9 ธ.ค. 2022 ตรวจสอบความถูกต้อง 31 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ตาบอดสี (Color Blindness)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ตาบอดสี คืออาการที่มองเห็นสีผิดปกติ เช่น ไม่สามารถแยกสีเขียวกับสีแดงออกได้ หรือ แยกเฉดสีที่ใกล้เคียงกันไม่ได้
  • สาเหตุของตาบอดสีมาจากพันธุกรรม โรคหรืออาการบาดเจ็บที่จอตา ตัวยาที่ใช้บางชนิด หรืออายุที่มากขึ้น
  • แผ่นตรวจตาบอดสี เป็นแผ่นภาพที่สร้างขึ้นจากจุดสีขนาดเล็กเป็นรูปตัวเลขหรือเป็นสัญลักษณ์อยู่ภายในภาพ ถูกใช้บ่อยในการตรวจหาภาวะตาบอดสี
  • ผู้ที่มีปัญหาตาบอดสีสามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนทั่วไปได้ เช่น จดจำลำดับไฟจราจร การเขียนชื่อสีกำกับไว้ที่สิ่งของ
  • ถ้าคิดว่าตนเองกำลังมีภาวะบอดสี หรือเริ่มแยกเฉดสีไม่ได้เหมือนแต่ก่อน ดูแพ็กเกจตรวจตาได้ที่นี่

ดวงตาของคนเราจะมีเซลล์ประสาทที่เรียกว่า เซลล์รูปกรวย (Cones Cell) ที่อยู่ในจอตา (Retina) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่มีความไวต่อแสงอยู่ด้านหลังของดวงตา ทำหน้าที่ในการมองเห็นสีต่างๆ เซลล์รูปกรวยในดวงตานั้นมีอยู่ 3 ชนิด ทำหน้าที่ดูดซับแสงที่ความยาวคลื่นต่างๆ กัน ได้แก่ เซลล์รูปกรวยสีแดง เซลล์รูปกรวยสีเขียว และเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงิน

เซลล์รูปกรวยเหล่านี้จะทำหน้าที่ส่งข้อมูลไปยังสมองเพื่อประมวลผลออกมาเป็นสีต่างๆ ของภาพ ถ้าเซลล์รูปกรวยที่จอตาได้รับความเสียหาย หรือไม่มีเซลล์รูปกรวยสีใดสีหนึ่ง จะทำให้ไม่สามารถมองเห็นสีนั้นได้อย่างถูกต้อง หรือเรียกอีกอย่างว่า ภาวะตาบอดสี ซึ่งมี 3 ชนิดหลัก ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  1. ตาบอดสีที่มีปัญหาในการแยกความแตกต่างระหว่างสีแดงและสีเขียว
  2. ตาบอดสีที่มีปัญหาในการแยกความแตกต่างระหว่างสีเหลืองและสีน้ำเงิน
  3. ตาบอดสีทุกสี (Achromatopsia) คนที่มีภาวะนี้จะไม่สามารถรับรู้สีใดได้เลย และจะมองเห็นทุกสีเป็นสีเทา สีดำ และสีขาว ภาวะนี้เป็นภาวะตาบอดสีที่พบได้น้อยที่สุด

ภาวะตาบอดสีพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยจะพบภาวะตาบอดสีในผู้ชายประมาณ 8% ของประชากรทั้งหมด และในผู้หญิงพบได้ประมาณ 0.5% ของประชากรทั้งหมด

อาการของภาวะตาบอดสี

อาการที่พบบ่อยของภาวะตาบอดสีคือ การมองเห็นสีผิดปกติ เช่น ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างสีไฟจราจรสีแดงและสีเขียวได้ หรือไม่สามารถแยกความแตกต่างของเฉดสีที่ใกล้เคียงกันได้

ภาวะตาบอดสีจะเริ่มสังเกตเห็นได้ในช่วงวัยเด็ก ขณะที่เด็กกำลังเริ่มเรียนรู้สีต่างๆ ถ้าอาการของภาวะตาบอดสีไม่รุนแรงมาก เด็กก็อาจไม่สามารถบอกได้ว่าตนเองมีความผิดปกติในการมองเห็นสี ดังนั้น หากสงสัยว่าตัวเองหรือบุตรหลานมีภาวะตาบอดสี ก็ควรไปขอรับการตรวจจากแพทย์เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นโรคตาบอดสีจริงๆ หรือเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ

สาเหตุของภาวะตาบอดสี

ภาวะตาบอดสีสามารถเกิดจากพันธุกรรม และเกิดจากโรคต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้

  • ตาบอดสีจากพันธุกรรม (Inherited Color Blindness) : ผู้ที่มีภาวะตาบอดสีส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยมักจะถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติมาจากแม่สู่ลูกชาย
  • ตาบอดสีที่มีสาเหตุจากโรค : ภาวะตาบอดสีอาจมีสาเหตุมาจากโรคหรือการบาดเจ็บที่จอตา ดังนี้
    • โรคต้อหิน (Glaucoma) : ผู้ป่วยจะมีความดันในลูกตา (Intraocular Pressure) สูงกว่าปกติ ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อเส้นประสาทตาที่มีหน้าที่ในการส่งสัญญาณประสาทจากตาไปยังสมองเพื่อประมวลผลว่าขณะนี้กำลังมองเห็นอะไร ทำให้ความสามารถในการมองเห็นและแยกความแตกต่างของสีผิดปกติไป
    • โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม (Macular Degeneration) และภาวะเบาหวานขึ้นจอตา (Diabetic Retinopathy) : ทั้งสองโรคนี้เป็นโรคที่มีความเสียหายเกิดขึ้นที่จอตา ซึ่งเป็นที่อยู่ของเซลล์รูปกรวย ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาตาบอดสีได้ และในบางกรณีถ้ามีอาการรุนแรงมากจะทำให้สูญเสียการมองเห็นหรือตาบอด
    • ต้อกระจก (Cataract) : เลนส์หรือแก้วตา (Lens) ของผู้ป่วยจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงจากโปร่งแสงเป็นขุ่นมัว ทำให้การมองเห็นสีมัวลง
  • ตาบอดสีสาเหตุจากการใช้ยาบางชนิด : ยาบางชนิดเป็นสาเหตุของการมองเห็นสีผิดปกติได้ เช่น
    • ยาต้านโรคจิต (Antipsychotic) ได้แก่ Chlorpromazine และ Thioridazine
    • ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ Ethambutol ซึ่งใช้ในการรักษาวัณโรค
  • ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดตาบอดสี ได้แก่
    • อายุที่มากขึ้น ทำให้การมองเห็นและการมองเห็นสีแย่ลง
    • สารพิษ เช่น สาร Styrene ที่อยู่ในพลาสติกบางชนิด ก็มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียความสามารถในการมองเห็นสี

การวินิจฉัยภาวะตาบอดสี

การทดสอบที่แพทย์จะทำเพื่อวินิจฉัยภาวะตาบอดสีคือ การใช้ภาพชนิดพิเศษที่เรียกว่า แผ่นตรวจตาบอดสี (Pseudoisochromatic Plates) โดยแผ่นตรวจตาบอดสีนี้ เป็นแผ่นภาพที่สร้างขึ้นจากจุดสีขนาดเล็กเป็นรูปตัวเลขหรือเป็นสัญลักษณ์อยู่ภายในภาพ คนที่มีการมองเห็นปกติเท่านั้นจะสามารถมองเห็นตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่อยู่ภายในภาพนี้ได้

แต่ถ้าคุณมีภาวะตาบอดสี คุณอาจมองไม่เห็นตัวเลขหรืออาจมองเห็นเป็นตัวเลขอื่นๆ การทดสอบนี้เป็นการทดสอบสำคัญสำหรับเด็ก ก่อนที่เด็กจะเริ่มเข้าโรงเรียน เพราะสื่อการเรียนการสอนในวัยเด็กเล็กจะประกอบไปด้วยสีสันต่างๆ

การรักษาภาวะตาบอดสี

ภาวะตาบอดสีจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจะไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่จักษุแพทย์อาจให้ใช้แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ ซึ่งเป็นเลนส์พิเศษที่สามารถช่วยกรองแสงบางสีออกไป เพื่อช่วยให้เห็นสีต่างๆได้ชัดมากขึ้น

การใช้ชีวิตอยู่กับภาวะตาบอดสี

ผู้ที่มีภาวะตาบอดสีอาจต้องใช้เทคนิคต่างๆ หรือใช้เครื่องมือพิเศษเพื่อช่วยให้ใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น เช่น การจดจำลำดับของไฟจราจรจากบนลงล่าง เพื่อให้รู้ว่าขณะนี้ไฟจราจรกำลังแสดงสีอะไรอยู่ การเขียนบอกไว้บนเสื้อผ้าว่าเสื้อผ้าตัวนี้สีอะไร เพื่อให้เลือกสวมใส่ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์บางโปรแกรม เพื่อเปลี่ยนแปลงสีในคอมพิวเตอร์ออกมาเป็นสีที่คนตาบอดสีมองเห็นได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว ตรวจตาบอดสี ที่ โรงพยาบาลยันฮี | HDmall


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Krista O'Connell, What Causes Color Blindness? (https://www.healthline.com/symptom/color-blindness), March 8, 2016.
Kate Rauch, How color blindness is tested?, (https://www.aao.org/eye-health/diseases/how-color-blindness-is-tested), 25 August 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ของขวัญที่สมบูรณ์แบบสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง
ของขวัญที่สมบูรณ์แบบสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง

เมื่อเสื้อสเวตเตอร์สำหรับช่วงวันหยุดแค่นั้นไม่เพียงพอ

อ่านเพิ่ม
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

ภาวะนี้คืออะไร อันตรายหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

อ่านเพิ่ม