ถ้าคุณเป็นพาหะของโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว นั่นหมายความว่า คุณมียีนที่ผิดปกติ 1 ยีน ซึ่งสามารถก่อให้เกิดโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวได้ แต่คุณจะไม่มีอาการของโรคนี้ กรณีเช่นนี้เราเรียกว่าเป็นพาหะของโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
ผู้ที่เป็นพาหะของโรคจะไม่มีอาการของโรค แต่จะมีความเสี่ยงที่จะให้กำเนิดลูกป่วยเป็นโรคนี้ และบางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังเพื่อยับยั้งไม่ให้เกิดโรคขึ้น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
คุณสามารถรู้ได้ว่าคุณเป็นพาหะของโรคนี้หรือไม่ด้วยการตรวจเลือด
ใครบ้างที่สามารถเป็นพาหะของโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
ใครก็สามารถเป็นพาหะของโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวได้ แต่จะพบมากในกลุ่มชนชาติเฉพาะ
คนที่มีบุคคลในครอบครัวมาจากส่วนต่างๆ ของโลกดังต่อไปนี้ จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป:
- แอฟริกัน
- แคริบเบียน
- ตะวันออกกลาง
- เมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก
- เอเชีย
การตรวจเพื่อดูว่าเป็นพาหะของโรคหรือไม่
ผู้หญิงตั้งครรภ์จะได้รับคำแนะนำให้ตรวจคัดกรองโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
อย่างไรก็ตาม คุณสามารถขอรับการตรวจจากแพทย์ได้ทุกเมื่อ เพราะการตรวจจะเป็นประโยชน์ ถ้า:
- คุณต้องการรู้ว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะให้กำเนิดลูกเป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวหรือไม่
- คุณมีประวัติครอบครัวป่วยเป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว หรือเป็นพาหะของโรคนี้
- คู่ของคุณเป็นพาหะของโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
คุณสามารถขอรับการตรวจจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรม ซึ่งจะอธิบายเกี่ยวกับผลการตรวจและผลกระทบที่เกิดขึ้นหากคุณเป็นพาหะของโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวนี้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
การมีลูก
ถ้าคุณเป็นพาหะของโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว คุณจะมีความเสี่ยงที่จะมีลูกเป็นโรคนี้ด้วย อย่างไรก็ตามลูกคุณจะเป็นโรคนี้ก็ต่อเมื่อคู่ของคุณเป็นพาหะของโรคหรือป่วยเป็นโรคอยู่แล้ว
หากคุณวางแผนจะมีลูก และคุณทราบดีว่าคุณเป็นพาหะของโรค กรณีนี้การให้คู่ของคุณไปตรวจด้วยถือเป็นความคิดที่ดีอย่างยิ่ง
ถ้าคุณและคู่ของคุณเป็นพาหะของโรคนี้ทั้งคุณ จะมีโอกาสดังนี้:
- มีโอกาส 1 ใน 4 (25%) ที่ลูกจะไม่ป่วยเป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว และไม่เป็นพาหะของโรค
- มีโอกาส 1 ใน 2 (50%) ที่ลูกจะเป็นพาหะของโรค แต่ไม่ป่วยเป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
- มีโอกาส 1 ใน 4 (25%) ที่ลูกจะป่วยเป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
ถ้าคุณและคู่ของคุณเป็นพาหะทั้งคู่ และกำลังวางแผนจะมีลูก คุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบ ซึ่งแพทย์จะส่งคุณไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรม โดยผู้เชี่ยวชาญสามารถอธิบายถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับลูกของคุณ และบอกทางเลือกที่คุณสามารถเลือกได้
โดยทางเลือกต่างๆ มีดังนี้:
- ทำการตรวจระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อดูว่าลูกของคุณเป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวหรือไม่
- การรับเด็กมาเลี้ยง
- ทำการผสมเด็กหลอดแก้ว โดยการใช้ไข่ หรือ อสุจิ ที่ได้รับบริจาค
- ใช้วิธีตรวจพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนฝังตัว (pre-implantation genetic diagnosis)
การตรวจพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนฝังตัว จะเหมือนกับวิธีการผสมเด็กหลอดแก้ว แต่ตัวอ่อนจะได้รับการตรวจยืนยันก่อนว่าไม่เป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว ก่อนที่ตัวอ่อนจะถูกฝังตัวที่มดลูก
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ความเสี่ยงต่อสุขภาพที่พบได้น้อย
หากคุณเป็นพาหะของโรค คุณจะไม่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
แต่คุณอาจมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพได้ ซึ่งเป็นกรณีที่พบได้น้อย เมื่อคุณไม่ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ เช่น:
- ระหว่างการผ่าตัดภายใต้การใช้ยาสลบ อย่าลืมแจ้งให้บุคลากรทางการแพทย์ทราบว่าคุณเป็นพาหะของโรคนี้ก่อนที่จะทำการผ่าตัด เพื่อให้ทีมแพทย์ดูแลให้แน่ใจว่าคุณได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
- ระหว่างการเล่นกีฬาที่ท้าทาย เช่น การดำน้ำลึก และการปีนเขาในที่สูง ถ้าคุณต้องเล่นกีฬาเหล่านี้ ต้องมั่นใจว่าคุณจะไม่ขาดออกซิเจน
- ระหว่างการออกกำลังกายอย่างเข้มข้น คุณจะต้องดื่มน้ำอย่างเพียงพอระหว่างการออกกำลังกาย และหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่เหนื่อยเกินไป
มีความเสี่ยงเพียงเล็กน้อยที่จะเกิดปัญหาที่ไตซึ่งสัมพันธ์กับการเป็นพาหะของโรคนี้
นอกเหนือจากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น คุณสามารถมีชีวิตที่สมบูรณ์ สุขภาพดีได้เหมือนคนทั่วไป แม้ว่าคุณจะเป็นพาหะของโรคก็ตาม
พาหะของโรคเลือดชนิดอื่นๆ
ผู้ที่เป็นพาหะของโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวจะมีความเสี่ยงที่จะมีลูกป่วยเป็นโรคเลือดชนิดอื่นๆ หากคู่ของคุณเป็นพาหะของโรคเลือดชนิดอื่นๆ ที่แตกต่างออกไป
https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/blood-and-lymph/sickle-cell-disease#carriers