ภาวะถุงข้อต่อบวมอักเสบ (Bursitis)

ภาวะถุงข้อต่อบวมอักเสบ เป็นภาวะที่ทำให้เกิดการเจ็บปวด บวม และไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้เท่าที่ควร แต่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากอาการยังไม่รุนแรงมากนัก
เผยแพร่ครั้งแรก 6 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ภาวะถุงข้อต่อบวมอักเสบ (Bursitis)

ภาวะถุงข้อต่อบวมอักเสบ เป็นภาวะที่ทำให้เกิดการเจ็บปวด บวม และไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้เท่าที่ควร แต่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากอาการยังไม่รุนแรงมากนัก

เบอร์ซา (Bursa) คือถุงน้ำบรรจุของเหลวบริเวณข้อต่อในส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยถุงดังกล่าวจะครอบคลุมพื้นที่ที่เส้นเอ็น ผิวหนัง และเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อที่เข้ามาเกาะกระดูก หน้าที่หลักของถุงน้ำ หรือถุงข้อต่อ คือการหล่อลื่นเพื่อช่วยลดแรงเสียดทานระหว่างการเคลื่อนไหว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เมื่อเกิดภาวะถุงข้อต่อบวมอักเสบ จะทำให้เกิดอาการปวดบวม และไม่สบายในบริเวณที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งอาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวในบางท่า ภาวะบวมอักเสบของถุงข้อต่อมีได้หลายประเภท บางชนิดอาจเป็นแบบเรื้อรัง และบางชนิดอาจเป็นแบบเฉียบพลัน เช่น

  • Prepatellar Bursitis : เป็นการอักเสบบริเวณกระดูกหัวเข่า อาจเกิดเฉียบพลันหรือเรื้อรังก็ได้
  • Olecranon Bursitis : เป็นการอักเสบบริเวณข้อศอก มักเป็นแบบเรื้อรัง
  • Trochanteric Bursitis : เป็นการอักเสบบริเวณสะโพก อาจเกิดเฉียบพลันหรือเรื้อรังก็ได้
  • Retrocalcaneal Bursitis : ทำให้เกิดอาการปวดและบวมที่ส้นเท้า อาจเกิดได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง
  • Infectious Bursitis : ภาวะที่มีการอักเสบในถุงข้อต่อและทำให้ ปวด บวม แดง ร้อนบริเวณข้อต่อ อาจส่งผลให้เกิดอาการหนาวสั่น เป็นไข้และอาการอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อ

สาเหตุของภาวะถุงข้อต่อบวมอักเสบ

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะถุงข้อต่อบวมอักเสบ คือ การได้รับบาดเจ็บหรือความเสียหายต่อถุงข้อต่อ ซึ่งก็มีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเภท ได้แก่

  • Prepatellar : เกิดจากการฉีกหรือความเสียหายต่อกระดูกหุ้มหัวเข่าหรือ มักเกิดจาก กิจกรรมทางกีฬา การงอเข่าหรือคุกเข่าเป็นเวลานาน และการติดเชื้อ
  • Olecranon : เกิดจากการวางข้อศอกกระแทกบนพื้นผิวแข็งซ้ำๆ หรือได้รับแรงกระแทกทางด้านหลังของข้อศอก และยังสามารถเกิดจากการติดเชื้อได้อีกด้วย
  • Trochanteric : เกิดได้จากการทิ้งน้ำหนักลงสะโพกเป็นเวลานาน การนั่งหรือยืนที่ไม่เหมาะสม การเป็นโรคข้ออักเสบ รวมถึงการได้รับบาดเจ็บบริเวณสะโพกจากอุบัติเหตุ
  • Retrocalcaneal : เกิดจากการวิ่ง การกระโดด หรือการทำกิจกรรมซ้ำๆ โดยไม่ได้วอร์มอัพร่างกายอย่างเหมาะสม

การวินิจฉัยภาวะถุงข้อต่อบวมอักเสบ

ภาวะดังกล่าวสามารถวินิจฉัยได้จากการตรวจร่างกายทั่วไป รวมถึงการตรวจเพิ่มเติม เช่น การทำเอ็มอาร์ไอเพื่อถ่ายภาพพื้นที่ที่เกิดการอักเสบ การตรวจเลือดและเจาะตรวจตัวอย่างชิ้นเนื้อจากถุงข้อต่อที่อักเสบ เป็นต้น

การรักษาภาวะถุงข้อต่อบวมอักเสบ

การพักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นประคบเย็น และรับประทานยาแก้ปวด ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการจากภาวะถุงข้อต่อบวมอักเสบได้แล้ว แต่ถ้าหากมีอาการรุนแรง ก็อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  • การรับประทานยาปฏิชีวนะ ในกรณีที่เกิดการติดเชื้อ
  • การได้รับยาสเตียรอยด์ เพื่อบรรเทาอาการปวด การอักเสบ และบวม
  • การผ่าตัด เพื่อกำจัดถุงข้อต่อที่เสียหาย หรือระบายของเหลวออกจากถุงข้อต่อ
  • การทำกายภาพบำบัด เพื่อบรรเทาอาการปวดและอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ที่มาของข้อมูล

Brindles Lee Macon and Elizabeth Boskey, What causes bursitis? (https://www.healthline.com/symptom/bursitis), February 29, 2016.


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Bursitis. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/bursitis.html)
Bursitis Guide: Causes, Symptoms and Treatment Options (https://www.drugs.com/health-guide/bursitis.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การประคบสมุนไพร
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การประคบสมุนไพร

ภูมิปัญญาไทย แก้ปวด เมื่อย เคล็ด ขัด ยอก ฟกช้ำ และอักเสบ ได้ด้วยสมุนไพรและความร้อน

อ่านเพิ่ม