ฝันเปียกคืออะไร? WHAT ARE WET DREAMS?

เผยแพร่ครั้งแรก 19 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ฝันเปียกคืออะไร? WHAT ARE WET DREAMS?

มาดูกันว่าผู้เชี่ยวชาญจะตอบว่าอย่างไร

บางครั้งผมตื่นมาตอนเช้าแล้วพบว่ากางเกงชั้นในและชุดนอนของผมเปียกและเหนียวเหนอะ มันต้องไม่ใช่ฉี่แน่นอน แล้วมันคืออะไรกันแน่? เด็กชายสจวตสงสัย

น่าจะเป็นอาการ “ฝันเปียก” แน่นอน! โดยภาวะดังกล่าวอาจทำให้คุณรู้สึกเขินอายและสับสนได้ไม่มากก็น้อย แต่อย่าลืมว่ามันเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ อาการฝันเปียกหรือที่ทราบกันดีว่ามันคือการหลั่งอสุจิตอนกลางคืนหรือในขณะหลับนั่นเอง เป็นภาวะที่ร่างกายรู้สึกตื่นตัวทางเพศและหลั่งอสุจิออกมาในขณะที่หลับอยู่ ซึ่งจะเกิดขึ้นในขณะที่คุณหลับฝันถึงภาพหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับเพศ โดยบางคนอาจตื่นขึ้นมาระหว่างที่เกิดอาการฝันเปียกหรือบางคนอาจหลับยาวไปถึงเช้าเลยก็เป็นได้

อาการฝันเปียกนั้นจะเกิดขึ้นช่วงที่ภาวะการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เริ่มขึ้นแล้วสักระยะหนึ่ง ซึ่งร่างกายได้มีการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนออกมามากขึ้นแล้ว แม้หนุ่มๆ อาจรู้สึกเขินอายหรือรู้สึกผิดที่มีอาการฝันเปียก แต่อย่าลืมว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมหรือหยุดไม่ให้เกิดขึ้นได้ โดยเด็กหนุ่มส่วนใหญ่จะมีภาวะนี้ในช่วงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์หรือบางคนเกิดขึ้นในช่วงที่โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว อย่างไรก็ตามเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่อย่างสมบูรณ์แล้วภาวะนี้จะเกิดขึ้นน้อยลงและจะค่อยๆ หายไปเอง

  ที่มาของข้อมูล http://kidshealth.org/en/teens/expert-wet-dreams.html


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Wet dreams: 10 myths and facts. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321351)
What Are Wet Dreams? (for Teens). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/teens/expert-wet-dreams.html)
What Wet Dreams During Sleep Mean to Sexual Health. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/what-is-a-wet-dream-and-what-does-it-mean-3015090)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การเปลี่ยนแปลงสู่วัยหนุ่มสาว – คำตอบสำหรับเด็กหนุ่มขี้สงสัย
การเปลี่ยนแปลงสู่วัยหนุ่มสาว – คำตอบสำหรับเด็กหนุ่มขี้สงสัย

เมื่อเราโตขึ้น ร่างกายของเราจะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เราเรียกภาวะการเจริญเติบโตนี้ว่า “ภาวะการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์”

อ่านเพิ่ม