กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เทคนิคในการดูแลสุขภาพ เพื่อสุขภาพดี พร้อมทำงานได้ตลอดทั้งปี

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 30 ก.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

ตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่งปีเต็ม บางคนอาจจะต้องทำงานหนักเต็มที่มาโดยตลอด ส่งผลทำให้บางคนอาจจะนอนหลับพักผ่อนได้ไม่เต็มที่ ยิ่งเวลาหมุนไปเร็วมากขึ้นเท่าไหร่ สุขภาพของเราก็อาจจะเสื่อมโทรมตามช่วงอายุที่มากขึ้นเรื่อย ๆ และเมื่อเริ่มต้นปีใหม่ หลังจากที่ได้มีโอกาสพักผ่อนกันแบบยาว ๆ การที่จะกลับเข้าสู่โหมดทำงานอย่างหนักหน่วงในรูปแบบเดิม ซึ่งเราจะต้องพร้อมทั้งทางด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ เพื่อที่จะสามารถกลับไปทำงานได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ วันนี้เราจึงมีเทคนิคดี ๆ ในการดูแลสุขภาพ เพื่อให้พร้อมกับการทำงานได้ตลอดทั้งปี มาให้ลองทำตามกัน

วิธีดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจ เพื่อให้กลับไปทำงานได้อย่างเต็มที่

1. ดื่มกาแฟให้น้อยลง จิบน้ำเปล่าให้มากขึ้น

สำหรับมนุษย์เงินเดิมทุกคน มักจะเป็นคอกาแฟตัวยง หากไม่ได้ดื่มกาแฟวันไหน ชีวิตดูเหมือนจะทำงานได้แบบไม่กระฉับกระเฉง เพราะร่างกายของเราขาดคาเฟอีนตังยงที่เป็นแรงผลักดัน แต่ในส่วนของการดื่มกาแฟเป็นประจำนั้น ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น เพื่อให้เป็นการดูแลสุขภาพได้อย่างแท้จริง เราควรหลีกเลี่ยงและงดดื่มกาแฟ และหันมาจิบน้ำเปล่าให้มากยิ่งขึ้นแทน เนื่องจากน้ำเปล่าจะเพิ่มออกซิเจนในเลือด ซึ่งสามารถช่วยให้เรามีชีวิตชีวา รู้สึกกระปรี้กระเปร่าได้เทียบเท่ากับการได้ดื่มกาแฟเลยทีเดียว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2. ผ่อนคลายสมอง ด้วยอากาศบริสุทธิ์

ความเครียดจากการทำงาน ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ ทำให้สมองเหนื่อยล้า และเริ่มทำงานได้ช้าลง ในส่วนนี้เราสามารถแก้ไขได้ ด้วยการหาช่วงเวลาในการผ่อนคลายสักระยะหนึ่ง และลองเดินออกไปสูดอากาศบริสุทธิ์ ชมวิวทิวทัศน์ที่กว้างไกล นับได้ว่าเป็นการพักสายตาจากการทำงาน ประมาณ 5 – 10 นาที เพียงแค่นี้เราก็สามารถดูแลสุขภาพด้วยการชาร์จพลัง ให้สามารถกลับไปทำงานต่อได้อย่างชิล ๆ

3. ดูแลสุขภาพด้วยการรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์

เพียงแค่คุณเปลี่ยนสไตล์ในการรับประทานอาหารใหม่ โดยเน้นเลือกรับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีโปรตีนสูง และอาหารจำพวกแป้งที่ไม่ขัดสี ที่มีไฟเบอร์สูง และควรเลือกรับประทานอาหารเพื่อบำรุงสมอง ประเภทปลาแซลมอน ไข่ และอะโวคาโด ซึ่งอาหารเหล่านี้จะสามารถช่วยเพิ่มพลัง และสร้างสุขภาพดีให้กับคุณได้อย่างยาวนาน

4. เรียงลำดับความสำคัญของชีวิต เพื่อลดความตึงเครียดให้น้อยลง

ความเครียดมักจะสะสมอยู่ทุกวัน ยิ่งถ้าหากคุณไม่มีเวลาให้กับตัวเองแล้ว ยิ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของคุณเข้าไปใหญ่ เพราะฉะนั้น การจัดการ การวางระบบ และการวางแผน ย่อมเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้คุณสามารถเรียงลำดับความสำคัญของชีวิต และจัดการชีวิตให้ง่ายขึ้น พร้อมทั้งลดความเครียดให้น้อยลง เพียงแค่นี้สุขภาพของคุณก็จะดี และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. แบ่งเวลาเพื่อออกกำลังกาย

การแบ่งเวลาเพียงแค่เล็กน้อย เพื่อออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 30 – 40 นาทีเป็นอย่างต่ำ ถ้าหากคุณทำได้ สุขภาพของคุณก็จะดีขึ้น ซึ่งคุณจะสามารถสัมผัสได้ ถึงสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์และแข็งแรง

6. ปรับท่วงท่าในการทำงานอยู่เสมอ

พนักงานเงินเดือนส่วนใหญ่ มักจะประสบปัญหากับการเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม เพราะต้องนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมตลอดทั้งวัน ปัญหานี้เราสามารถแก้ไขได้อย่างง่าย ๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนท่านั่งทำงานให้ถูกต้องและเหมาะสมอย่างเป็นประจำ ถือได้ว่าเป็นการดูแลสุขภาพ เพื่อให้ห่างไกลจากโรคภัย อย่างโรคออฟฟิศซินโดรมได้อย่างมั่นใจ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เพื่อหันมาดูแลสุขภาพของเราให้ดียิ่งขึ้น ย่อมส่งผลดีต่อตัวของคุณเอง เพราะเมื่อเรามีสุขภาพดี ต่อให้เราต้องทำงานหนักเป็นประจำทุกวัน ชีวิตเราก็สามารถที่จะมีความสุขได้ เนื่องจากสุขภาพดีเป็นเลิศ ถือได้ว่าเป็นกำไรชีวิตอันสูงสุด ที่เราทุกคนสามารถสร้างได้นั่นเอง


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Health Promotion: An Effective Tool for Global Health. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3326808/)
5 ways to improve skin health. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/320071)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป