เคล็บลับการดูแลสุขภาพต้อนรับลมหนาว

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

เดือนพฤศจิกายนเวียนมาอีกครั้งหนึ่ง เป็นจุดเริ่มต้นของฤดูหนาวในไทย ถึงแม้ประเทศไทยจะอยู่ในเขตศูนย์สูตร แต่ก็ยังได้รับอิทธิพลจากลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดพาเอาลมหนาวจากประเทศจีนมาที่บ้านเรา ทำให้เขตจังหวัดทางภาคเหนือและภาคอีสานได้คลายร้อนก่อนใคร อย่างเมื่ออาทิตย์ที่แล้วมีวันหยุดยาว พวกเราก็พร้อมใจกันไปสูดลมหนาวที่ภูทักเบิกจนรถติดยาวเป็นกิโล ดังที่สำนักข่าวต่างๆ ได้นำเสนอทางหน้าหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ถึงแม้จะเป็นเรื่องน่ายินดีที่ฤดูหนาวจะเข้ามาเยือน แต่เราก็ควรเตรียมตัวให้พร้อมก่อนจะป่วยเพราะอากาศหนาว

เคล็บลับการดูแลสุขภาพต้อนรับลมหนาว

1.เตรียมห้องน้ำ

2.เตรียมห้องนอน

3.เตรียมตู้เสื้อผ้า

4.เตรียมอาหาร

5.เตรียมน้ำ

6.เตรียมผิว

 

1.เตรียมห้องน้ำ

ในฤดูหนาวแบบนี้ คงมีใครหลายคนซักแห้งก่อนไปทำงาน เพราะอากาศนั้นหนาวจับใจ จะอาบน้ำทีก็ตัวสั่นระริก เดี๋ยวพาลเป็นหวัดไปทำงานไม่ได้กันพอดี ถ้าเรารู้แบบนี้แล้วก็ควรเตรียมเครื่องทำน้ำอุ่น หรือตื่นให้เช้าขึ้นสักนิดเพื่อต้มน้ำร้อนมาผสมกับน้ำเย็น แล้วจะได้อาบน้ำที่อุ่นกำลังดี เพราะการดูแลสุขภาพอนามัยเป็นสิ่งที่เราต้องเอาใจใส่และดูแลเป็นประจำสม่ำเสมอ ถึงแม้อากาศจะหนาว เราไม่รู้สึกว่ามีเหงื่ออก แต่ร่างกายเรามีแบคทีเรียและสิ่งสกปรกสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก หากไม่อาบน้ำตัวเราจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะป่วยได้ ถ้าหากเตรียมเครื่องทำน้ำอุ่นหรือต้มน้ำไม่ทันจริงๆ เราก็ควรทำใจแข็งยอมอาบน้ำเย็น โดยมีเทคนิคคือค่อยๆ เอาน้ำราดที่ขาเพื่อปรับอุณหภูมิ แล้วจึงค่อยๆ ราดตามลำตัวและปิดท้ายที่ใบหน้า จะไม่ทำให้ร่างกายช๊อคเพราะความเย็น ว่ากันว่าการอาบน้ำเย็นจัดจะช่วยกระตุ้นให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้นอีกด้วย

2.เตรียมห้องนอน

ห้องนอนในฤดูหนาวควรมิดชิดกว่าฤดูอื่น แต่ก็ไม่ถึงขั้นต้องปิดสนิท เพราะในช่วงฤดูหนาวมักจะมีสัตว์หนีหนาวมาหลบในห้องอุ่นสบายของเรา เช่น แมลง ผีเสื้อ แต่ที่นากังวลกว่านั้นก็คือสัตว์เลื้อยคลานประเภทงู เพราะฉะนั้นใครที่ชอบเปิดประตูหรือหน้าต่างทิ้งไว้ ควรติดมุ้งลวดไว้สักหน่อยเพื่อความปลอดภัย นอกจากนี้เครื่องนอนก็เป็นสิ่งสำคัญ ควรเตรียมผ้าห่มที่หนากว่าปกติไว้ให้พร้อม หรือเพิ่มผ้าห่มมาห่มทับอีกผืนเพื่อเพิ่มความอบอุ่น

3.เตรียมตู้เสื้อผ้า

ถึงเวลาจัดตู้เสื้อผ้าใหม่อีกครั้งให้พร้อมรับกับหน้าหนาว พวกเสื้อกันหนาวที่มีอยู่ในตู้ควรนำมาซักเพื่อกำจัดฝุ่นเสียก่อนจึงนำมาสวมใส่ โดยเสื้อกันหนาวนั้นอาจะใส่ซ้ำได้สองถึงสามวัน ในกรณีที่ไม่ได้ทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงงานหรือทำอะไรให้ตัวเปื้อน เราไม่ควรซักเสื้อกันหนาวทุกวัน เพราะนอกจากจะลดอายุการใช้งานของเสื้อกันหนาวแล้ว ยังเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรอื่นๆ อีกด้วย ซักแต่เสื้อตัวในกับเสื้อชั้นในก็พอ

4.เตรียมอาหาร

ฤดูหนาวมาพร้อมกับอากาศหนาว ร่างกายต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่ต่างไปจากปกติ การรับประทานประเภทไขมันจะช่วยให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย นอกจากนี้การเลือกรับประทานอาหารที่เสิร์ฟร้อนๆ อย่างเช่น ก๋วยเตี๋ยว ต้มยำ หม้อไฟ เนื้อย่าง จะเป็นการทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้นได้อีกวิธีหนึ่ง

5.เตรียมน้ำ

เพราะหน้าหนาวนั้นอากาศจะแห้งกว่าปกติ สาวๆ หลายคนอาจมีปัญหาริมฝีปากแห้งแตก ผิวลอกเป็นขุย เราสามารถป้องกันได้ด้วยการจิบน้ำอุ่นเรื่อยๆ ตลอดทั้งวัน

6.เตรียมผิว

อากาศแห้ง ผิวก็แห้ง ดังนั้นเราควรทาโลชั่นทุกครั้งหลังอาบน้ำ ผิวจะได้ไม่แห้งแตกให้แสบคันจนต้องเกากันทั้งวันนั่นเอง หากใครคิดว่าการทาโลชั่นนั้นใช้เวลามาก แถมยังทำให้ผิวเหนอะหนะ สามารถผสมน้ำมันทาผิวกับน้ำที่อาบ จะช่วยเติมความชุ่มชื้นให้ผิวในเวลาอันสั้นได้อีกวิธีหนึ่ง

และนี่ก็เป็นเคล็ดลับดีๆ ที่จะทำให้คุณผ่านหน้าหนาวนี้ไปได้อย่างแน่นอน ลองเอาไปปรับใช้ดูกันได้เลย


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Five ways to stay healthy this winter. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/healthy-body/five-ways-to-stay-healthy-this-winter/)
Be Prepared to Stay Safe and Healthy in Winter. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/features/winterweather/index.html)
Top 10 Tips for Healthy Winter Skin. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/skin-and-beauty/top-tips-for-healthy-winter-skin.aspx)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)