ดูแลสุขภาพหน้าหนาวยังไงให้แข็งแรง

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 2 มี.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

หน้าหนาวเป็นฤดูที่สำคัญทุกๆคนควรดูแลสุขภาพกันเป็นพิเศษ เพราะอากาศที่เย็นและชื้นจะทำให้ร่างกายเกิดอาการเจ็บป่วยได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่และโรคต่างๆอีกมากมายที่มากับหน้าหนาวทั้ง อีสุกอีใส หัดเยรมัน โรคท้องร่วง เป็นต้น ล้วนแล้วเป็นโรคที่น่ากลัวเพราะมันจะทำร้ายสุขภาพของเราไม่น้อยเลย แต่เราก็มีวิธีดูแลสุขภาพให้แข็งแรงตลอดหน้าหนาวได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

เลือกรับประทานอาการให้ครบ 5 หมู่

เพื่อสุขภาพที่ดีช่วงหน้าหนาว คุณควรเลือกทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยเฉพาะผักผลไม้ เพราะในผักผลไม้จะมีวิตามินสูง และช่วยป้องกันหวัดและโรคภัยต่างๆได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ดื่มน้ำมากๆ 

การดื่มน้ำให้มากๆ จะช่วยให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ดี และช่วยลดความหนาวเย็นได้แต่ควรงดน้ำเย็นหันมาดื่มน้ำอุ่นๆหรือเครื่องดื่มอุ่นๆแทน อย่างเช่นก่อนนอนอาจจะดื่มนมอุ่นๆ สักแก้วเพราะจะช่วยให้นอนหลับสบายยิ่งขึ้น และช่วยให้ร่างกายอบอุ่นขึ้นได้

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

อย่ามัวแต่ขี้เกียจออกกำลังกายอยู่เลย เพราะการออกกำลังกายจะเป็นการเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายของคุณได้อีกด้วย

นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

ในวันหนึ่งคุณควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ โดยนอนให้ได้อย่างน้อยวันละ 8-9 ชั่วโมง เพื่อที่ร่างกายจะได้แข็งแรงอยู่ตลอดเวลานั่นเอง

หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด

ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดและไม่ควรใช้สิ่งของร่วมกันกับผู้อื่นเด็ดขาด เช่น ช้อน เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ เป็นต้น ถ้าคุณไม่อยากให้หนาวนี้หมดสนุก ด้วยโรคหวัดที่มาเยือน

พยายามอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก 

การอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่มีฝุ่นละออง จะทำให้คุณมีสุขภาพที่แข็งแรงมากขึ้น และลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไปได้มากเลยทีเดียว

ใส่หน้ากากอนามันเมื่อเป็นหวัด 

หากป่วยเป็นไช้หวัดควรปิดปากและจมูกด้วยหน้ากากอนามัยเพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น และที่สำคัญคือ งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพราะจะทำให้อาการป่วยเรื้อรังได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ล้างมือบ่อยๆ 

เพราะมือคือแหล่งสะสมเชื้อโรคหากไม่ล้างมือก่อนรับประทานอาหารอาจเกิดโรคท้องร่วงได้ซึ่งเป็นโรคที่มากับฤดูหนาวด้วยนั่นเอง ซึ่งการล้างมือก็ควรล้างให้ถูกตามขั้นตอนด้วยนะ

สวมใส่เสื้อผ้าหนาๆ ให้มิดชิด

นอกจากเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว แล้วควรสวมถุงมือ ถุงเท้าด้วย แต่หากอากาศหนาวมากก็ควรสวมหมวกไหมพรมเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกายให้มากขึ้น ซึ่งเมื่อร่างกายมีความอบอุ่นก็จะลดโอกาสเสี่ยงเป็นไข้หวัดได้เช่นกัน

ไม่ควรอาบน้ำนานๆ 

ช่วงหน้าหนาวแบบนี้ไม่ควรอาบน้ำนานๆ เป็นอันขาดและที่สำคัญคือไม่ควรอาบน้ำเย็นเพราะอาจทำให้ป่วยและเกิดอาการช็อคได้ ดังนั้นควรอาบน้ำอุ่นจะดีที่สุด เพราะจะถนอมอุณหภูมิของร่างกายให้เป็นปกติและสมดุลตลอดเวลา

ควรหาโลชั่นบำรุงผิดบ่อยๆ 

เพราะอากาศที่แห้งเย็นจะทำให้ผิวของคุณแห้งกร้านอย่างแน่นอน การทาครีมจะช่วยทำให้ผิวมีความชุ่มชื่นมีน้ำมีนวลแต่คุณควรเลือกใช้ครีมทาผิวที่มีส่วนผสมของมอยเจอร์ไรเซอร์ด้วย เพราะจะมีน้ำมันน้อยแต่จะช่วยกักเก็บความชุ่มชื่นของผิวได้นานยิ่งขึ้น

ไม่ปล่อยให้ริมฝีปากแตก

ในช่วงหน้าหนาวที่มีอากาศหนาวจัด อาจทำให้ริมฝีปากแตกได้ง่าย ซึ่งก็ไม่ดีเอาเสียเลย ดังนั้นจึงควรทาลิปมันหรือลิปบาล์มบ่อยๆ ซึ่งจะช่วยลดอาการแห้งแตกของริมฝีปากได้ดีทีเดียว

การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอนั้น ไม่ใช่เรื่องยากเลย ดังนั้นหน้าหนาวนี้อย่าลืมมาดูแลสุขภาพ เพื่อร่างกายที่แข็งแรงและสุขภาพดีตลอดหน้าหนาวกันด้วย


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to Stay Active in Cold Weather. American Heart Association. (https://www.heart.org/en/healthy-living/fitness/getting-active/how-to-stay-active-in-cold-weather)
Five ways to stay healthy this winter. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/healthy-body/five-ways-to-stay-healthy-this-winter/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)