การรักษาอาการปวดสะโพก

เผยแพร่ครั้งแรก 6 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การรักษาอาการปวดสะโพก

ถึงแม้ว่าอาการปวดร้าวลงขานั้นจะพบได้น้อยกว่าอาการปวดหลัง แต่ก็ยังเป็นอาการที่พบได้บ่อย แพทย์ทั่วไปสามารถให้การรักษาภาวะนี้ได้ เพราะส่วนมากร่างกายนั้นก็จะรักษาปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวได้ด้วยตัวเอง แต่หากอาการไม่ดีขึ้นอาจจะต้องพบผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากอาจจะต้องใช้การผ่าตัดหรือการฉีดยาเพื่อช่วยในการรักษา

อาการปวดร้าวลงขาคืออะไร

อาการปวดร้าวลงขาหมายถึงอาการปวดที่เกิดขึ้นตามบริเวณเส้นประสาท sciatic ซึ่งนำข้อมูลจากสนองสมอง ผ่านไขสันหลังไปยังขา อาการปวดนั้นจะเป็นอาการปวดร้าวที่บริเวณหลังส่วนล่างลงไปตามขาและมักจะร้าวได้ไกลถึงใต้เข่า สาเหตุส่วนมากนั้นมักเกิดจากการที่หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูกสันหลังเหล่านี้เป็นโครงสร้างที่อยู่ระหว่างกระดูกสันหลัง หากขอบด้านนอกของหมอนรองกระดูกสันหลังมีการฉีกขาดจากการได้รับแรงกดดันบริเวณหลังส่วนล่าง ก็จะทำให้ชิ้นส่วนที่อยู่ภายในนั้นหลุดออกมาและทำให้เกิดการอักเสบที่เส้นประสาทบริเวณใกล้เคียงได้ ภาวะนี้พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีอายุ 30 ถึง 50 ปี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณจะรู้ได้อย่างไรว่ามันเป็นอาการปวดร้าวลงขา

การวินิจฉัยภาวะนี้นั้นมักมาจากการซักประวัติและการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะต้องการการทำเอกซเรย์หรือการตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแต่ในความจริงแล้วการตรวจเหล่านี้อาจจะไม่ได้ช่วยในการรักษาในระยะแรกมากนัก อาการของภาวะนี้มักจะรุนแรงขึ้นเวลาที่นั่งหรือไอและอาจจะเกิดร่วมกับอาการชาบริเวณขาได้ การตรวจร่างกายจะช่วยยืนยันการวินิจฉัยนี้และอาจพบว่ามีอาการอ่อนแรงหรือมีการตอบสนองของเส้นประสาทที่ขาลดลง ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวแสดงว่าควรส่งต่อผู้ป่วยไปพบกับผู้เชี่ยวชาญ (มักพบได้ไม่บ่อย) ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและให้การรักษาเบื้องต้นได้

การรักษาอาการปวดและการจัดการกับความคาดหวังของผู้ป่วย

คนส่วนมากคิดว่ายิ่งมีอาการปวดรุนแรงมากขึ้นเท่าไหร่ก็แสดงว่ามีความผิดปกตินั้นจะต้องยิ่งรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น ความเชื่อนี้นั้นไม่เป็นจริงในภาวะนี้ เพราะว่าร่างกายสามารถดูดซึมชิ้นส่วนของหมอนรองกระดูกสันหลังที่ทำให้เกิดอาการได้แม้แต่ในผู้ที่มีอาการปวดอย่างรุนแรง ดังนั้นการรักษาจึงเน้นที่การบรรเทาอาการปวดและทำให้ผู้ป่วยยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติให้ได้มากที่สุด หากอาการปวดนั้นรุนแรง การนอนพักซักระยะหนึ่งอาจจะช่วยได้แต่การนอนนานๆ นั้นจะไม่ได้ช่วยบรรเทาอาการปวดเพิ่มเติมแต่อย่างใด ดังนั้นเมื่ออาการปวดลดลงแล้วผู้ป่วยควรจะลุกขึ้นและเริ่มเดินสั้นๆ การนั่งจะยิ่งเพิ่มแรงกดที่กระทำต่อหมอนรองกระดูกสันหลังที่หลังส่วนล่าง ผู้ป่วยจึงไม่ควรนั่งนานๆ หรือขับรถ มีผู้ป่วยหลายคนที่เลือกรักษาด้วยวิธีการต่างๆเช่น การทำกายภาพบำบัด การนวด การฝังเข็ม แต่ในปัจจุบันหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พบว่าถึงแม้ว่าวิธีการรักษาเหล่านี้มันจะช่วยลดอาการปวดหลังส่วนล่างได้ แต่มักจะไม่ค่อยได้ผลในผู้ป่วยที่มีอาการปวดร้าวลงขา การใช้ยาแก้ปวดตามร้านขายยาเช่น ibuprofen และnaproxen นั้นอาจจะช่วยได้แต่ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้นแพทย์อาจจะใช้ยาแก้ปวดที่ออกฤทธิ์ได้แรงกว่า

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีอาการนี้ (ประมาณสามในสี่) จะมีอาการดีขึ้นภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ น้อยมากที่แพทย์จะตรวจพบว่ามีอาการอ่อนแรงที่ขาและจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน ในผู้ที่มีอาการไม่ดีขึ้นหลังจากผ่านไปแล้วหกสัปดาห์อาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัด การผ่าตัดนั้นจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดส่วนใหญ่ก็มักจะมีอาการดีขึ้นในระดับที่ใกล้เคียงกับผู้ที่ตัดสินใจรอให้ร่างกายหายได้ด้วยตัวเอง การผ่าตัดนั้นจะเป็นการตัดชิ้นส่วนของหมอนรองกระดูกสันหลังที่ทำให้เกิดการอักเสบที่เส้นประสาทการผ่าตัดนี้เป็นการผ่าตัดที่ปลอดภัยและพบภาวะแทรกซ้อนได้น้อยแต่ก็สามารถพบได้ ยิ่งไปกว่านั้น 5- 10% ของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดพบว่าอาการไม่ดีขึ้นหรืออาจจะทำให้มีอาการปวดที่รุนแรงมากขึ้นหลังจากการผ่าตัด

ผู้ป่วยมักขอฉีดยาการฉีดยาซึ่งเป็นการฉีดยาในกลุ่มสเตียรอยด์เข้าไปยังบริเวณที่มีอาการ การฉีดยานี้อาจเหมาะสมในผู้ที่ไม่สามารถใช้ยาในการรักษาได้ หรือมีอาการเรื้อรังและไม่ต้องการผ่าตัด การฉีดยาจะช่วยบรรเทาอาการปวดในระยะสั้นและเช่นเดียวกับการทำหัตถการอื่นๆการฉีดยานั้นมีความเสี่ยงที่อาจทำให้มีอาการปวดเพิ่มขึ้นแม้จะพบได้น้อย และไม่ได้ช่วยลดโอกาสในการเข้ารับการผ่าตัดในอนาคต

การรักษาแบบคำนึงถึงผู้ป่วยเป็นหลักและการอธิบายว่าอาการปวดนั้นไม่ได้หมายถึงอันตรายเสมอไป

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีอาการปวดร้าวลงขาควรไปพบแพทย์ทั่วไปก่อน ผู้ป่วยส่วนมากมักรู้สึกกังวลและกลัวเนื่องจากพวกเขาอาจจะไม่เคยมีอาการมาก่อน พวกเขาต้องการให้อาการปวดหายอย่างรวดเร็วซึ่งนั่นมักหมายถึงการผ่าตัดหรือการฉีดยา แต่ในความจริงแล้วอาการปวดเหล่านี้สามารถดีขึ้นได้แต่ต้องใช้เวลาและไม่จำเป็นต้องได้รับการทำหัตถการที่มีความเสี่ยงดังกล่าว เวลาที่พบแพทย์ แพทย์จะทำการประเมินและระบุผู้ป่วยที่อาจจะต้องได้รับการส่งต่อไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ แพทย์จะแนะนำว่าอาการปวดนั้นไม่ได้หมายถึงอันตรายเสมอไปและการรักษาที่แพทย์ให้นั้นก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดและทำให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตได้อย่างตามปกติได้มากที่สุดในระหว่างที่รอให้ร่างกายฟื้นฟูตัวเอง ในผู้ที่มีอาการไม่ดีขึ้นแพทย์อาจส่งตัวเพิ่มเติมเช่นการตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าก่อนที่จะส่งตัวต่อไปพบแพทย์ผ่าตัดหรือทำการฉีดยา หากผู้ป่วยตัดสินใจว่าวิธีการเหล่านั้นเป็นวิธีการที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย ในกรณีผู้ป่วยที่รู้สึกว่าอาการปวดนั้นสามารถควบคุมได้ แพทย์ก็จะสามารถบอกได้ว่าพวกเขาไม่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดอย่างน้อยภายในหกเดือนและไม่ได้ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวเพิ่มขึ้น


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Taming the pain of sciatica: For most people, time heals and less is more. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/taming-pain-sciatica-people-time-heals-less-2017071212048)
How Long Does Sciatica Last? Plus Tips for Managing Your Symptoms. Healthline. (https://www.healthline.com/health/back-pain/how-long-does-sciatica-last)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป