การพูดคุยเกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัยกับคนรัก

เผยแพร่ครั้งแรก 12 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การพูดคุยเกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัยกับคนรัก

สำหรับบางคนหรือแม้แต่ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์แล้วก็ยังรู้สึกเขินอายที่จะพูดคุยเรื่องการใช้ถุงยางอนามัย บทความต่อไปนี้จะบอกเคล็ดลับให้คุณกล้าที่จะคุยเรื่องการใช้ถุงยางอนามัยกับคนรักได้

จริงๆ แล้วการพูดคุยเรื่องการใช้ถุงยางอนามัยก่อนการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องที่ดี แต่มันทำได้ไม่ง่ายอย่างที่คิด! สำหรับบางคนหรือแม้แต่ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์แล้วก็ยังรู้สึกเขินอายที่จะพูดคุยเรื่องนี้ แต่หากไม่สนใจที่จะพูดคุยเรื่องนี้เลยก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพร่ากายคุณเอง เพราะการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์สามารถช่วยป้องกันคุณจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ แม้คุณจะมีการใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วยอย่างการทานยาเม็ดคุมกำเนิดแล้วก็ตาม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แล้วคุณจะเอาชนะความรู้สึกเขินอายที่มีได้อย่างไร? อาจเริ่มจากการทำความรู้จักกับเจ้าถุงยางอนามัยก่อนว่ามีลักษณะอย่างไร ใช้งานอย่างไร แล้วถ้าจะพกไว้กับตัวสักอันจะเป็นยังไง แนะนำให้ซื้อถุงยางอนามัยพกไว้กับตัวสักกล่อง คุณจะได้รู้สึกคุ้นเคยกับมัน

การพูดคุยเรื่องนี้กับคนรักจะช่วยให้คุณรู้สึกสะดวกใจกับการใช้ถุงยางอนามัยมากขึ้น ลองเริ่มเปิดประเด็นคุยเรื่องนี้กับเขาหรือเธอดู หากคุณคิดว่าคนรักของคุณอาจไม่เห็นด้วยกับการใช้ถุงยางอนามัย คุณจำเป็นต้อง แสดงออกให้เขาเห็นว่าคุณจริงจังกับเรื่องนี้ ลองใช้เทคนิคเหล่านี้

  • หากคนรักของคุณบอกว่า “มันรู้สึกอึดอัดเวลาใช้ถุงยางอนามัย”

แนะนำให้คุณตอบโดยการแนะนำยี่ห้อหรือขนาดที่แตกต่างไป และการใช้ถุงยางอนามัยนั้นต้องมีการใช้ไปสักระยะหนึ่งก่อนจึงจะเกิดความคุ้นเคย

  • หากคนรักของคุณบอกว่า “มันทำให้ผมหมดอารมณ์”แนะนำให้คุณตอบว่า การมีเซ็กส์โดยไม่ป้องกันอาจทำให้คุณหมดอารมณ์ทางเพศไปอย่างถาวรได้
  • หากคนรักของคุณบอกว่า “เราสองคนรักกันมาก เราควรไว้ใจกันและกัน”แนะนำให้คุณตอบว่า ก็เพราะเราสองคนรักกันมาก เราจึงต้องมั่นใจว่าเราจะปกป้องกันและกันให้ปลอดภัย
  • หากคนรักของคุณบอกว่า “คุณกลัวที่จะติดโรคหรือ?”คุณสามารถตอบไปได้เลยว่า “บางครั้งเราอาจติดโรคมาโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นการป้องกันไว้ก่อนจึงปลอดภัยกว่า”
  • หากคนรักของคุณบอกว่า “ผมว่ามันไม่สนุกแน่เลยถ้าเราใช้ถุงยางอนามัย” แนะนำให้คุณตอบไปเลยว่า ฉันก็คงหมดสนุกเหมือนกันหากไม่ใช้ถุงยางอนามัยป้องกัน
  • หากคนรักของคุณบอกว่า “ผมไม่รู้ว่ามันใช้ยังไง” ข้อนี้ง่ายมากเลย คุณแค่บอกไปว่า “ม่ะ! ให้ฉันทำให้ดู”

เวลาที่เหมาะสมในการพูดคุย

หลังจากที่คุณเริ่มรู้จักและคุ้นเคยกับเจ้าถุงยางอนามัยแล้ว ลองหาเวลาที่เหมาะสมในการพูดคุยเรื่องการใช้ถุงยางอนามัยกับคนรัก แนะนำว่าช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการพูดคุยจำเป็นต้องมีระยะห่างจากเวลาที่คุณจะมีเพศสัมพันธ์ แต่หากคุณเลือกช่วงเวลาที่เขาหรือเธอกำลังอารมณ์ไม่ค่อยดี เขาหรือเธออาจรู้สึกว่ากำลังถูกกดดันให้ทำในสิ่งที่เขาไม่ต้องการและอาจปฏิเสธที่จะทำในเวลาต่อมาได้

ลองเริ่มการสนทนาด้วยการพูดบนพื้นฐานของความเป็นจริง คุณอาจบอกเขาว่าคุณได้ซื้อถุงยางอนามัยมาแล้ว ลองชวนเขามาดู พร้อมเสนอให้เขาพกถุงยางที่ยังไม่ได้แกะติดตัวไปด้วย หรือแนะนำให้เขาซื้อยี่ห้อที่เขาชอบมากกว่า และอย่าลืมพกติดตัวคุณเองด้วยเพื่อความปลอดภัย แนะนำให้ทดลองใช้หลากหลายยี่ห้อจนกว่าคุณและคนรักจะเจอยี่ห้อที่ถูกใจคุณทั้งสองคนมากที่สุด

คุณต้องมั่นใจและชัดเจนกับคนรักว่าคุณจะไม่ยอมมีเซ็กส์เด็ดขาดหากไม่ใช้ถุงยางอนามัย หากเขาบังคับหรือบอกคุณว่าเขาจะเลิกกับคุณหากต้องใช้ถุงยางอนามัย ก็เป็นเวลาที่เหมาะสมที่คุณควรเลิกกับคนๆ นี้ไปซะ! และบอกเขาว่า คุณจะไม่มีทางมีเซ็กส์กับคนที่ไม่ให้เกียรติและไม่เคารพการตัดสินใจของคุณหรือไม่เคารพตนเองมากพอที่จะปกป้องตัวเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

 

เทคนิคการใช้ถุงยางอนามัย

  • ตรวจสอบวันหมดอายุ เนี่องจากถุงยางอนามัยอาจแห้งและฉีกขาดได้หากหมดอายุ และอย่าใช้ถุงยางอนามัยที่มีสภาพกรอบหรือเหนียวเหนอะ – โยนมันทิ้งไปแล้วใช้อันใหม่!
  • เลือกถุงยางอนามัยที่ทำจากยางลาเท็กซ์ซึ่งเป็นประเภทยางที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่หากคุณแพ้ยางลาเท็กซ์ แนะนำให้ลองใช้ถุงยางอนามัยที่ทำจากยางพอลิยูรีเทนแทน
  • หากมีการใช้เจลหล่อลื่นร่วมกับการใช้ถุงยางอนามัย ควรใช้เจลที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบพื้นฐาน ส่วนน้ำมัน โลชั่น เจลปิโตเลียม หรือเบบี้ออยล์ อาจทำให้ถุงยางอนามัยเสียหายและฉีกขาดได้
  • แกะซองถุงยางอนามัยด้วยมือ ห้ามใช่ฟันและแกะอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้ถุงยางอนามัยฉีกขาด
  • เลือกถุงยางอนามัยที่มีปลายเก็บอสุจิ เมื่อสวมใส่ให้บีบบริเวณปลายถุงยางอนามัยเบาๆ แล้วจึงสวมใส่ โดยให้เหลือพื้นที่ส่วนปลายสำหรับอสุจิ เพราะหากไม่บีบไว้และปล่อยให้มีอากาศโอกาสที่ถุงยางจะแตกจะมีสูงขึ้น
  • เมื่อสวมถุงยางอนามัย ให้คลี่ถุงยางลงมาจนสุด และหากสวมผิดด้านคุณต้องทิ้งถุงยางอนามัยชิ้นนั้นทิ้งไปแล้วจึงใช้อันใหม่
  • ถอดถุงยางอนามัยทิ้งทันทีหลังจากเสร็จกิจกรรมและก่อนที่อวัยวะเพศจะอ่อนตัวลง เมื่อถอดคุณต้องจับปากถุงยางไว้ให้แน่นเพื่อป้องกันไม่ให้อสุจิไหลออกมาจากถุงยางอนามัย
  • วิธีการทิ้งถุงยางอนามัย เนื่องจากถุงยางอนามัยอาจทำให้ห้องน้ำอุดตันได้หากทิ้งลงในโถชักโครก แนะนำให้มัดถุงยางให้แน่นและใส่ในถุงพลาสติกหรือพันด้วยกระดาษทิชชู่ก่อนทิ้งลงในถังขยะ

คำแนะนำที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างและเทคนิคที่คุณสามารถนำไปใช้ได้ หากคุณต้องการคำแนะนำหรือมีคำถามมากกว่าที่กล่าวมาข้างต้น คุณสามารถปรึกษาเพื่อน ญาติพี่น้อง หรือพ่อแม่ผู้ปกครอง แม้คุณอาจจะรู้สึกอึดอัดที่จะปรึกษาเรื่องนี้กับพ่อแม่ แต่มีวัยรุ่นหลายคนสบายใจที่จะปรึกษาเรื่องนี้กับพ่อแม่ของตนเองเพราะพวกเขามักจะมีเทคนิคดีๆ แนะนำคุณเสมอ

การขอคำปรึกษาเกี่ยวกับเพศและการมีเพศสัมพันธ์จากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก็เป็นความคิดที่ดี นอกจากนี้แพทย์ พบายาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือคลินิควางแผนครอบครัวในชุมชนก็สามารถให้คำแนะนำเรื่องนี้ได้ – เพียงแต่คุณต้องกล้าที่จะเดินเข้าไปขอคำปรึกษาเท่านั้นเอง!

แน่นอนที่วิธีการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ดีที่สุดคือ การงดมีเพศสัมพันธ์ (abstinence) แต่หากคุณเลือกที่จะมีเพศสัมพันธ์ คุณจำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัยเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Before sex: what to ask your partner. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/sexual-health/what-to-ask-your-partner-before-sex/)
Talking to Your Partner About Sex. Healthline. (https://www.healthline.com/health/healthy-sex-partner-communication)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป