ใช้ถุงยางอนามัยแล้วจะปลอดภัยจริงหรือไม่ Do Condoms Really Work?

เผยแพร่ครั้งแรก 30 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ใช้ถุงยางอนามัยแล้วจะปลอดภัยจริงหรือไม่ Do Condoms Really Work?

มาดูกันว่าผู้เชี่ยวชาญจะมีความคิดเห็นเช่นไร

ผมเคยได้ยินมาว่าถุงยางอนามัยไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้จริงๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ทำไมเรายังใช้มันอยู่ล่ะ? เดวิดสงสัย

ถุงยางอนามัยสามารถป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้จริง! ในแต่ละปี 85 ใน 100 คู่รักที่มีเพศสัมพันธ์แต่ไม่มีการใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นๆ เลย มีการตั้งครรภ์ แต่หากมีการใช้ถุงยางอนามัยจำนวนหญิงตั้งครรภ์ลดลงเหลือ 18 จาก 100 คู่รัก และนอกจากถุงยางอนามัยแล้ว ก็ไม่พบว่ามีวิธีการคุมกำเนิดใดที่จะสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การใช้ถุงยางอนามัยเป็นวิธีที่มีประสิทธิผลที่สุดแล้วเพื่อการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อย่าง HIV เอดส์ หรือหนองในเทียม เป็นต้น นอกจากนี้ ถุงยางอนามัยยังช่วยป้องกันการติดโรคหูดและเริมได้ด้วย อย่างไรก็ตาม อาจมีโอกาสที่จะติดโรคดังกล่าวได้ เนื่องจากหูดและเริมอาจเกิดขึ้นในบริเวณอื่นๆ ที่ไม่ได้สวมถุงยางอนามัย

วิธีที่ดีที่สุดวิธีเดียวที่จะป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ 100% คือ การงดมีเพศสัมพันธ์ (Abstinence) อย่างไรก็ตาม คู่รักที่กำลังอยู่ในช่วงการทดลองใช้วิธีการงดมีเพศสัมพันธ์ก็ยังต้องมีการใช้ถุงยางอนามัยด้วยหากมีเพศสัมพันธ์

การใช้ถุงยางอนามัยเป็นเรื่องที่ง่ายและสะดวกที่จะหามาใช้ คุณสามารถหาซื้อถุงยางอนามัยได้ตามร้านขายยาหรือร้านสะดวกซื้อทั่วไป เป็นความคิดที่ดีที่คุณจะพกถุงยางอนามัยติดตัวไว้ด้วยเสมอและพร้อมที่จะหยิบมาใช้เมื่อมีเพศสัมพันธ์!


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Condoms. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/contraception/male-condoms/)
Condoms: Effectiveness, Types, and Proper Use. WebMD. (https://www.webmd.com/sex/birth-control/birth-control-condoms#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ประโยชน์ของถุงยางที่นอกเหนือจากการคุมกำเนิด
ประโยชน์ของถุงยางที่นอกเหนือจากการคุมกำเนิด

“ถุงยางอนามัย” เป็นอุปกรณ์คุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ มีทั้งถุงยางสำหรับผู้ชายและผู้หญิง แต่ในประเทศไทยไม่ค่อยมีถุงยางของผู้หญิงวางจำหน่าย

อ่านเพิ่ม