โรคตาแดงจากเชื้อไวรัสพบได้มากในประเทศอินเดีย ซึ่งมีไม่กี่คนที่ทราบถึงความรุนแรงที่แท้จริงของมัน
โรคตาแดงคืออะไร?
โรคตาแดง หรือก็คือการติดเชื้ออะดิโนไวรัสที่เยื่อบุตา (แต่ก็มีไวรัสอีกไม่กี่ตัวที่พบว่ามีผลทำให้ตาแดงเช่นกัน) โดยเยื่อบุตาคือเนื้อเยื่อชั้นบางใสที่อยู่บนพื้นผิวชั้นใน ซึ่งเป็นส่วนสีขาวของลูกตามนุษย์ อาการของโรคนี้จะคงอยู่ประมาณ 10 ถึง 12 วัน และไม่ส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพหากทำการวินิจฉัยอย่างรวดเร็วและถูกต้อง
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตามปรกติแล้วการติดเชื้อชนิดนี้จากคนสู่คนเกิดขึ้นค่อนข้างง่าย อย่างการสัมผัสโดนฝอยละอองจากระบบหายใจ หรือการลงสระว่ายน้ำที่มีเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคดังกล่าว วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้อื่นอย่างการจับมือ หรือใช้สิ่งของร่วมกัน เป็นต้น
ในบรรดาอะดิโนไวรัสที่มีมากมาย จะมีชนิด 8 และ 19 ที่ก่อให้เกิดโรคตาแดงขึ้นมา โดยการเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศคือปัจจัยหลักที่ทำให้ไวรัสแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว
อาการของการติดเชื้อโรคตาแดงมีดังนี้
- ตาแดง: ตาขาวจะแดงหรือมีสีออกชมพู และเป็นอาการแรกที่พบได้ทั่วไปที่สุด แม้จะไม่อันตราย แต่ภาวะนี้ก็อาจส่งผลเสียต่อดวงตาได้หากปล่อยไว้เป็นเวลานาน
- เปลือกตาบวม: การบวมออกของตาขาวหรือเปลือกตามักจะเกิดขึ้นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อนที่จะแพร่ไปสู่อีกข้าง
- น้ำตาไหล: โรคตาแดงจะเร่งกระบวนการสร้างน้ำตามากขึ้น ซึ่งพบได้มากในกลุ่มโรคตาแดงจากอาการแพ้
- ระคายเคือง: จะเกิดอาการระคายเคืองและคันตาขึ้นที่ดวงตาข้างที่แสดงอาการตาแดง
- ตาปล่อยของเสีย: หากเป็นการติดเชื้อไวรัสจะทำให้ดวงตามีน้ำใส ๆ ไหลออกมา แต่หากเป็นตาแดงจากเชื้อแบคทีเรียจะทำให้มีขี้ตาหรือหนองสีเหลืองเขียวแทน
- ลืมตาไม่ขึ้น: บางครั้งการติดเชื้อของดวงตาจะทำให้เปลือกตาติดกันจนลืมตาไม่ขึ้นเมื่อตื่นนอน ซึ่งเกิดมาจากการแห้งกรังของของเสียที่ปล่อยออกมาจากดวงตาในขณะที่หลับนั่นเอง
- ดวงตามีความอ่อนไหวกว่าปรกติ: ผู้ที่เป็นโรคเยื่อบุตาอักเสบมักมีความอ่อนไหวต่อแสงมากกว่าคนอื่น แม้จะต้องกับแสงระดับอ่อนก็ตาม ซึ่งหากพบว่าคุณมีความอ่อนไหวต่อแสงในระดับรุนแรงกว่าปกติ มีอาการปวดตา หรือสายตาเปลี่ยนแปลง สามารถคาดการณ์ได้ว่าการติดเชื้ออาจเข้าไปลึกกว่าชั้นเยื่อบุตา จึงควรเข้าพบการตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้เร็วที่สุด
- รู้สึกเหมือนมีบางสิ่งเข้าดวงตา: บางครั้งเชื้ออาจทำให้คุณรู้สึกเหมือนมีบางอย่างเข้าหรือติดที่ดวงตา ซึ่งกระตุ้นให้รู้สึกอยากเกาตา
- ปุ่มน้ำเหลืองโต: มีกรณีที่พบได้ไม่บ่อยนักที่ผู้ป่วยจะรู้สึกถึงการโตขึ้นของปุ่มน้ำเหลืองที่อยู่ภายในหู (ทำหน้าที่เป็นตัวกรองทำลายและชะล้างไวรัสออกจากร่างกาย)
- เป็นหวัดหรือไข้: บางกรณีก็พบว่ามีไข้หวัดและการติดเชื้อในระบบหายใจอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่นกัน