อาการและอาการแสดงของโรคหลอดเลือดสมอง

เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการและอาการแสดงของโรคหลอดเลือดสมอง

อาการหลักของโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ อ่อนแรงที่ใบหน้าครึ่งซีก ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ แขนขาอ่อนแรง ชา ที่ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย ดังนั้นหากมีอาการดังกล่าวนี้ให้รีบโทรเรียกรถพยาบาลทันที

ถ้าคุณกำลังสงสัยว่าตัวคุณเองหรือคนใกล้ตัวของคุณกำลังเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ให้รีบโทรเรียกรถพยาบาลที่ 1669 ทันที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

และแม้ว่าอาการของโรคหลอดเลือดสมองจะหายไประหว่างที่คุณกำลังรอรถพยาบาลมารับ คุณหรือคนใกล้ตัวของคุณก็ควรไปโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจรักษา

ถ้าอาการของโรคหายไปอย่างรวดเร็ว (มีอาการไม่ถึง 24 ชั่วโมง) อาจหมายความว่าคุณกำลังมีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (transient ischaemic attack (TIA)) และจะถือว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองถาวรในระยะเวลาอันใกล้

เมื่อมาถึงโรงพยาบาลและได้รับการตรวจประเมินเบื้องต้นแล้ว คุณอาจจำเป็นต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจที่ละเอียดมากขึ้น และถ้าจำเป็นอาจต้องเริ่มการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

อาการและอาการแสดงของโรคหลอดเลือดสมองแตกต่างกันขึ้นกับบุคคล แต่โดยทั่วไปอาการจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน และเนื่องจากแต่ละส่วนของสมองจะควบคุมการทำงานของร่างกายที่บริเวณแตกต่างกันด้วย ดังนั้นอาการของผู้ป่วยขึ้นกับว่าสมองบริเวณใดที่ได้รับผลกระทบและได้รับผลกระทบเป็นบริเวณกว้างแค่ไหน

อาการหลักของโรคหลอดเลือดสมอง มีดังนี้:

  • อาการที่ใบหน้า-อ่อนแรงที่ใบหน้าครึ่งซีก ผู้ป่วยอาจไม่สามารถยิ้มได้ หรือปากเบี้ยว มุมปากตก
  • อาการที่แขน-ผู้ที่สงสัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองอาจไม่สามารถยกแขนขึ้นได้ เพราะมีอาการอ่อนแรงหรือชาที่แขนข้างใดข้างหนึ่ง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด-พูดไม่ชัด พูดติด พูดไม่ได้ หรือผู้ป่วยอาจไม่สามารถพูดคุยสื่อสารได้แม้ว่าจะตื่นอยู่ก็ตาม

หากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการดังกล่าว ให้รีบโทรเรียกรถพยาบาลทันทีที่เบอร์ 1669

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

มันเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทุกคนควรจะรู้ว่าอาการและอาการแสดงของโรคหลอดเลือดสมองคืออะไรบ้าง หากคุณอาศัยอยู่กับหรือดูแลใครก็ตามที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เช่น เป็นผู้สูงอายุ หรือเป็นผู้ป่วยเบาหวาน หรือเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ให้พึงสังเกตอาการของโรคหลอดเลือดสมองเสมอ

อาการอื่นๆ ของโรคหลอดเลือดสมอง

อาการหลักของโรคหลอดเลือดสมองได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ แต่บางครั้งก็อาจมีอาการอื่นๆ ที่แตกต่างออกไป

อาการและอาการแสดงอื่นๆ ได้แก่:

  • อัมพาตที่ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย
  • สูญเสียการมองเห็นหรือมองภาพไม่ชัดเฉียบพลัน
  • เวียนศีรษะ
  • สับสน
  • ไม่เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด
  • มีปัญหาในการทรงตัวและการประสานงานกันของร่างกาย
  • กลืนลำบาก (dysphagia)
  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลันไม่เหมือนกับที่เคยเป็นมาก่อน
  • หมดสติ

อย่างไรก็ตาม อาการด้านบนมักมีสาเหตุมาจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่โรคหลอดเลือดสมอง

ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (transient ischaemic attack (TIA))

อาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวจะเหมือนกับอาการของโรคหลอดเลือดสมอง แต่มีแนวโน้มที่จะมีอาการเพียงไม่กี่นาทีจนถึงไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่อาการจะหายไป

อย่างไรก็ตามแม้ว่าอาการจะดีขึ้นแล้ว แต่ไม่ควรละเลยอาการที่เกิดขึ้น เพราะนี่ถือเป็นสัญญาณเตือนร้ายแรงของสมองขาดเลือด ซึ่งหมายถึงคุณจะมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองถาวรในอนาคตอันใกล้

ดังนั้นถ้าคุณมีอาการของภาวะสมองขาดเลือด คุณควรไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ที่มา : https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/stroke#symptoms-and-signs


38 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Stroke - Symptoms. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/stroke/symptoms/)
Stroke Signs and Symptoms. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/stroke/signs_symptoms.htm)
Stroke Symptoms: How to Spot The Warning Signs of Stroke FAST. WebMD. (https://www.webmd.com/stroke/guide/signs-of-stroke)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)