กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อาการและสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์

เผยแพร่ครั้งแรก 8 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
อาการและสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์จะพัฒนาอาการอย่างค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากขี้หลงขี้ลืมในเรื่องง่าย ๆ และค่อย ๆ พัฒนาไปจนถึงการหลงทาง การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ หรือแม้กระทั่งเกิดภาพหลอน ไม่สามารถดูแลตนเองในชีวิตประจำวันได้

อาการของโรคอัลไซเมอร์

อาการของโรคอัลไซเมอร์จะค่อยๆคืบหน้ากินเวลากว่าหลายปี บางครั้งอาการเหล่านี้อาจจะสับสนกับภาวะอื่น ๆ และในตอนแรกอาจจะถูกมองข้ามไปเนื่องจากคิดว่าเกิดจากการแก่ตัวลงเฉย ๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อัตราความคืบหน้าของอาการโรคนี้นั้นแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าอาการจะรุนแรงขึ้นเพียงใด

ในบางกรณี การติดเชื้อ การได้รับยา โรคเส้นเลือดสมอง หรืออาการเพ้อ (delirium) จากภาวะทางการแพทย์ต่าง ๆ จะทำให้อาการแย่ลงได้ ทุกคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ที่มีอาการแย่ลงอย่างรวดเร็วนั้นควรได้รับการตรวจโดยแพทย์เฉพาะทางเพื่อให้สามารถจัดการได้อย่างเหมาะสม

ระยะอาการของโรคอัลไซเมอร์

โดยทั่วไปอาการของโรคอัลไซเมอร์จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะหลัก ๆ ได้แก่

อาการระยะเริ่มแรก

ในระยะเริ่มแรก อาการหลักของโรคอัลไซเมอร์ คือ ความจำเสื่อมลงและความขี้หลงขี้ลืม ตัวอย่างเช่นคนที่มีโรคอัลไซเมอร์ในช่วงเริ่มแรกอาจมีอาการดังนี้:

  • ลืมเกี่ยวกับบทสนทนาหรือเหตุการณ์ล่าสุด หรือวางของสลับที่
  • ลืมชื่อสถานที่และวัตถุ หรือมีปัญหาในการคิดคำพูดที่ถูกต้อง
  • ย้ำคิดย้ำทำเป็นประจำ เช่น ถามคำถามเดิม ๆ หลายครั้ง
  • มักตัดสินใจผิดพลาด หรือยากที่จะตัดสินใจ
  • ปรับตัวได้ช้าลง และลังเลที่จะลองสิ่งใหม่ ๆ

นอกจากนี้ ยังมักมีสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น ความวิตกกังวลเพิ่มขึ้น หรือมีการตื่นตระหนก หรือพบว่าเกิดช่วงเวลาสับสนขึ้นมาเป็นระยะ ๆ

อาการระยะปานกลาง

เมื่อโรคอัลไซเมอร์พัฒนามากขึ้น ปัญหาเกี่ยวกับความจำจะแย่ลง คนที่มีอาการอาจพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะจำชื่อคนที่พวกเขารู้จัก และพบปัญหาในการนึกถึงบุคคลในครอบครัวและเพื่อนของตนเองว่าใครเป็นใคร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการอื่น ๆ อาจพัฒนาขึ้นร่วมด้วย เช่น:

  • สับสนและมึนงงมากขึ้น - ตัวอย่างเช่น หลงทาง หรือร่อนเร่ไปทั่ว ไม่ทราบว่าตอนนี้เวลาเท่าไหร่ หรือวันอะไร
  • เกิดภาวะย้ำคิด ย้ำทำซ้ำ ๆ
  • เกิดอาการหลงผิด (เชื่อสิ่งที่ไม่จริง) หรือรู้สึกหวาดระแวงและสงสัยในผู้ดูแลหรือแม้แต่สมาชิกในครอบครัว
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการพูดหรือภาษา (aphasia)
  • นอนหลับไม่เต็มที่
  • เกิดการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ เช่น อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ บ่อยครั้ง เกิดอาการซึมเศร้าและความรู้สึกกังวลมากขึ้น ผิดหวังหรือกระวนกระวายใจ อยู่ไม่เป็นสุข
  • ยากที่จะทำงานเกี่ยวกับเรื่องพื้นที่ เช่น การกะระยะทางจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง
  • เกิดภาพหลอน

ในระยะอาการนี้ คนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์มักต้องการการสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือในชีวิตประจำวันของพวกเขา ตัวอย่างเช่น พวกเขาอาจต้องการความช่วยเหลือในการรับประทานอาหาร การซักผ้า การแต่งกาย และการเข้าใช้ห้องสุขาด้วย

อาการระยะสุดท้าย

ในระยะหลัง ๆ ของโรคอัลไซเมอร์ อาการจะรุนแรงขึ้น น่าเป็นห่วงมากขึ้น และส่งผลกระทบรุนแรงมากขึ้นสำหรับผู้ป่วยเองและผู้ดูแล เพื่อน และครอบครัวของพวกเขาด้วย

อาการประสาทหลอนและภาพลวงตาอาจเกิดขึ้นเป็น ๆ หาย ๆ ได้ตลอดในช่วงที่เจ็บป่วย แต่สามารถจะแย่ลง ๆ ได้เรื่อย ๆ หากโรคมีการพัฒนาต่อไป บางครั้งคนที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์อาจก้าวร้าว เรียกร้องความสนใจ และระแวงคนรอบข้าง

อาการอื่น ๆ อาจเกิดขึ้นเมื่อโรคอัลไซเมอร์พัฒนาไปสู่ระยะสุดท้าย เช่น:

  • เคี้ยวอาหารและกลืนได้ลำบาก (dysphagia)
  • ยากที่จะเคลื่อนที่หรือเดินไปรอบ ๆ โดยไม่ได้รับความช่วยเหลือ
  • น้ำหนักตัวลดลงอย่างหนัก - แม้ว่าบางคนจะทานอาหารมากขึ้นก็ตาม
  • กั้นปัสสาวะ หรืออุจจาระไม่ได้ เกิดภาวะปัสสาวะหรืออุจจาระเล็ด (urinary/bowel incontinence)
  • สูญเสียความสามารถในการสื่อสารมากขึ้นเรื่อย ๆ
  • เกิดปัญหาสำคัญของทั้งความจำระยะสั้นและความจำระยะยาว

ในระยะที่รุนแรงของโรคอัลไซเมอร์ ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการดูแลตลอดเวลา และต้องได้รับความช่วยเหลือทั้งในการรับประทานอาหาร ขยับตัว เคลื่อนย้ายตำแหน่ง และเข้าห้องน้ำ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ขนมปัง "ไร้แป้ง ไร้น้ำตาล อิ่มนาน ไปรตีนสูง" อยากคุมน้ำหนัก แบบไม่อด ต้องลอง พร้อมโปร 5 ฟรี 1

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การเข้าพบแพทย์

หากคุณกังวลเกี่ยวกับความจำของคุณหรือคิดว่าคุณอาจเป็นโรคสมองเสื่อม คุณควรเข้าพบแพทย์ประจำตัวของคุณ หากคุณกังวลเกี่ยวกับคนใกล้ตัวว่าอาจจะเป็นโรคนี้ คุณควรกระตุ้น และชักชวนให้พวกเขาทำการนัดหมายและไปส่งพบแพทย์พร้อมกัน

ปัญหาความจำนั้นไม่ได้มีสาเหตุมาจากภาวะสมองเสื่อมเพียงอย่างเดียว - อาการขี้หลงขี้ลืมนี้ยังสามารถเกิดจากภาวะซึมเศร้า ความเครียด ยาบางชนิด รวมถึงปัญหาสุขภาพอื่น ๆ แพทย์ทั่วไปสามารถทำการตรวจสอบง่ายๆเพื่อหาสาเหตุที่อาจเป็นได้ และพวกเขาสามารถแนะนำคุณให้กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจทดสอบเพิ่มเติมได้หากจำเป็น

สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากส่วนต่างๆของสมองฝ่อตัวลง (atrophy) ทำให้มีผลต่อโครงสร้างและหน้าที่ของพื้นที่สมองในส่วนนั้น ๆ ที่เกิดผลกระทบ

ไม่ทราบแน่ชัดว่าสาเหตุใดที่ทำให้กระบวนการฝ่อตัวนี้เริ่มต้นขึ้น อย่างไรก็ตาม ในสมองของคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่ามีกลุ่มแผ่นแอมีลอยด์ (amyloid plaques) ซึ่งเป็นการสะสมของโปรตีนที่ผิดปกติ เกิดการบิดเป็นเกลียวของโครงสร้างภายในเซลล์ประสาทเนื่องจากโปรตีนชนิด tau (neurofibrillary tangles) และความไม่สมดุลของสารเคมีสื่อประสาทที่ชื่อว่า acetylcholine

นอกจากนี้ ยังพบความเสียหายของหลอดเลือดสมองในระดับที่แตกต่างกันไปในผู้ป่วยกลุ่มนี้ด้วย

ปกติแล้วเซลล์ประสาททำหน้าที่ส่งข้อความไปและกลับจากสมอง กระบวนการเหล่านี้จะลดของประสิทธิภาพเซลล์ประสาทสุขภาพดีต่าง ๆ ลง และค่อยๆ ทำลายเซลล์เหล่านี้ลง

เมื่อเวลาผ่านไป ความเสียหายนี้จะแพร่กระจายมากขึ้นไปสู่หลายบริเวณของสมอง บริเวณแรกที่ได้รับผลกระทบนั้นจะเป็นสมองส่วนความทรงจำ

ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากอะไรได้บ้าง

แม้ว่าจะยังไม่ทราบถึงสิ่งที่เป็นตัวก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ แต่มีหลายปัจจัยที่เป็นที่ทราบกันดีว่าสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะดังกล่าว

อายุ

อายุเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ความเป็นไปได้ที่จะเกิดโรคนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุก ๆ 5 ปี หลังจากที่คุณอายุครบ 65 ปี

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้นที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ ประมาณ 1 ใน 20 คนที่มีอาการป่วยดังกล่าวมีอายุต่ำกว่า 65 ปี ซึ่งเรียกภาวะนี้ว่า โรคอัลไซเมอร์ชนิดเกิดเร็ว (early onset Alzheimer's disease) และส่งผลต่อผู้ป่วยที่มีอายุประมาณ 40 ปี

ประวัติครอบครัว

กรรมพันธุ์ที่สืบทอดมาจากพ่อแม่ของคุณ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร ์แม้ว่าหลายคนจะมีความเสี่ยงเพิมขึ้นจริงน้อยมากแม้ว่าญาติใกล้ชิดของพวกเขาเกิดเป็นโรคอัลไซเมอร์นี้ขึ้นก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ในบางครอบครัวโรคอัลไซเมอร์เกิดจากการสืบทอดด้วยยีนเพียงตัวเดียว ดังนั้นความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ที่สืบทอดส่งต่อกันจะสูงกว่ากรรมพันธุ์รูปแบบอื่นมาก

หากพบว่าสมาชิกในครอบครัวของคุณหลายคนเกิดภาวะสมองเสื่อมในหลายช่วงอายุ และหลายรุ่น คุณอาจจำเป็นต้องเข้าขอรับคำปรึกษาทางพันธุกรรมสำหรับข้อมูลและคำแนะนำเกี่ยวกับโอกาสในการเป็นโรคอัลไซเมอร์เมื่อคุณแก่ตัวลง

โรคดาวน์ซินโดรม (Down's syndrome)

คนที่เป็นดาวน์ซินโดรมมีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ร่วมด้วย

เนื่องจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เป็นสาเหตุของดาวน์ซินโดรมนั้นสามารถทำให้เกิดกลุ่มแผ่นแอมีลอยด์ขึ้นในสมองได้ตลอดเวลา และทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ในผู้ป่วยบางคนได้

การบาดเจ็บที่ศีรษะ

ผู้ที่มีเคยมีอาการบาดเจ็บศีรษะอย่างรุนแรง จะเพิ่มความเสี่ยงอย่างมากในการเกิดโรคอัลไซเมอร์

โรคหัวใจและหลอดเลือด

หลายงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยวิถีชีวิตและภาวะทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้

ภาวะดังกล่าวนั้นได้แก่:

ซึ่งคุณสามารถช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้โดย:

  • หยุดสูบบุหรี่
  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • ใช้ชีวิตกระฉับกระเฉง สมดุลทั้งร่างกายและจิตใจ
  • ลดน้ำหนักหากจำเป็น
  • ดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อยลง
  • เข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/alzheimers-disease#causes


32 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Alzheimer's disease - Causes. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/alzheimers-disease/causes/)
Alzheimer's disease: Symptoms, stages, causes, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/159442)
Causes and Risk Factors of Alzheimer’s Disease. WebMD. (https://www.webmd.com/alzheimers/guide/alzheimers-causes-risk-factors)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป