ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและข้ออักเสบ

เผยแพร่ครั้งแรก 13 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและข้ออักเสบ

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและข้ออักเสบ

มีผลิตภัณฑ์มากมายที่อ้างสรรพคุณในการลดอาการปวดจากข้ออักเสบ แต่ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมักมีข้อมูลการวิจัยสนับสนุนน้อย ผลิตภัณฑ์ที่มีข้อมูลการวิจัยสนับสนุนและนิยมกันมากที่สุดในปัจจุบันคือ คอนดรอยทิน (Chondroitin) กลูโคซามีน (Glucosamine) น้ำมันปลา เอ็มเอสเอ็ม (Methylsulfonylmethane: MSM) และ แซมมี (S-adenosylmethionine: SMEe)

กลูโคซามีน

  • เป็นสารธรรมชาติที่พบในเซลล์กระดูกอ่อนและเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เป็นน้ำตาลที่รวมกับกรดแอมิโนที่ร่างกายสร้างขึ้นเองได้ ผลิตภัณฑ์กลูโคซามีนที่ใช้กัน ผลิตมาจากเปลือกหอย กุ้ง ปู ในรูปกลูโคซามีนซัลเฟตหรือกลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์
  • การเสริมกลูโคซามีนจะช่วยกระตุ้นการสร้างสาระสำคัญในกระดูกอ่อน ช่วยสร้างและซ่อมแซมกระดูกอ่อน จึงช่วยลดอาการในผู้ที่มีปัญหาข้ออักเสบได้ มีงานวิจัยรายงานว่า กลูโคซามีนซัลเฟตให้ผลดีพอๆกับการใช้ยาไอบูโปรเฟน แถมมีผลข้างเคียงน้อยกว่า เพียงแต่จะต้องเวลานานถึงสองเดือนกว่าจะเห็นผล แม้ว่าผลิตภัณฑ์นี้จะทำมาจากเปลือกอาหารทะเล แต่ไม่มีรายงานว่าก่อให้เกิดอาการแพ้ในผู้ที่แพ้อาหารทะเล

คอนดรอยทิน

  • เป็นสารคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ช่วยกระดูกอ่อนเก็บน้ำไว้ ผู้มีปัญหาข้ออักเสบส่วนใหญ่จะเลือกใช้ทั้งคอนดรอยทินและกลูโคซามีนร่วมกัน ซึ่งให้ผลดี แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าถ้าใช้ตัวใดตัวหนึ่งเพียงอย่างเดียว ผลิตภัณฑ์ชนิดใดจะให้ผลดีกว่ากัน กรณีนี้สถาบันสุขภาพแห่งชาติในสหรัฐอเมริกายังทำการวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อยืนยันผล
  • ขนาดของการเสริมสำหรับข้ออักเสบคือ คอนดรอยทินซัลเฟต วันละ 1,200 มิลลิกรัม แบ่งเป็น 3 เวลา ครั้งละ 400 มิลลิกรัม หรือ กลูโคซามีนซัลเฟตะวันละ 1,500 มิลลิกรัม แบ่งเป็น 3 เวลา ครั้งละ 500 มิลลิกรัม ร่วมกับมัลติวิตามินที่มีวิตามินดี หรืออาจให้ทั้งสองชนิดร่วมกัน

แซมมี

  • ร่ายกายคนเราสร้างสารชนิดนี้จากกรดแอมิโนเมไทโอนีน แซมมีเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาชีวเคมีในร่างกายมากกว่า 40 ปฏิกิริยา เช่น การขจัดพิษ การทำงานของสมอง และใช้ในการสร้างสารที่เป็นส่วนประกอบของกระดูกอ่อน งานวิจัยในยุโรปจำนวนมากพบว่า แซมมี ให้ผลในการลดอาการปวดในโรคข้ออักเสบ และมีผลข้างเคียงน้อย แต่ต้องใช้ร่วมกับวิตามินบี 6 บี 12 และโฟเลต ส่วนสรรพคุณที่อ้างว่าช่วยสร้างกระดูกอ่อนยังไม่มีข้อมูลยืนยัน

เอ็มเอสเอ็ม

  • เป็นสารประกอบกำมะถันที่มีในธรรมชาติ ใช้ในการสร้างโปรตีนโดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีนในกล้ามเนื้อ รวมทั้งคอลลาเจน และกระดูกอ่อน มีรายงานการวิจัยพบว่า เอ็มเอสเอ็มช่วยในการบำบัดอาการปวดได้ดีเท่าๆ กับยาประเภทเอ็นเสดส์ (NSAISs)

คุณหมอโจแอนน์ จอร์แดน (Joanne Jordan) นักวิจัยของ Thurston Arthritis Research Center ในนอร์ทแคโรไลนา ยกย่องว่า กลูโคซามีนและคอนดรอยทินเหมาะสำหรับคนไข้ที่มีปัญหาข้ออักเสบมากกว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆ ซึ่งมีข้อมูลการวิจัยสนับสนุนน้อยกว่า คุณหมอโจแอนน์แนะนำให้เสริมวิตามินดีเพิ่ม เนื่องจากมีข้อมูลบ่งชี้ว่าผู้ที่ได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอ ความรุนแรงของโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์จะเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ได้รับวิตามินดีเพียงพอ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

น้ำมันปลา

  • มีข้อมูลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการเสริมน้ำมันปลาเป็นเวลา 3 เดือน ช่วยลดอาการอักเสบและลดความเจ็บปวดของข้ออักเสบรูมาทอยด์ลงได้ ขนาดในการเสริมคือน้ำมันปลาวันละ 3 กรัม สำหรับคนที่มีข้ออักเสบรูมาทอยด์

ปัญหาข้ออักเสบสามารถป้องกันและบำบัดได้ด้วยวิธีธรรมชาติ การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต โดยการเลือกรับประทานอาหารให้ถูกต้อง ได้แก่ ผักและผลไม้ อาหารสไตล์เมดิเตอร์เรเนียน การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การดูแลน้ำหนัก เสริมวิตามินดี ปรึกษาแพทย์ในการเสริมกลูโคซามีนซัลเฟตคอนดรอยทินซัลเฟต ละน้ำมันปลา การเสริมผลิตภัณฑ์เหล่านี้อาจต้องใช้เวลา 2-3 เดือนจึงจะเห็นผล


24 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Dietary supplements for osteoarthritis. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18246887)
Osteoarthritis diet: 8 foods to eat and 3 to avoid. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322603)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป