น้ำตาล เป็นสารให้รสหวานที่คนส่วนใหญ่ชื่นชอบ แต่หากบริโภคมากเกินไป จะทำให้เกิดโทษมากมายต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน เบาหวาน หัวใจ ไขมันพอกตับ ฯลฯ
นอกจากนี้งานวิจัยหลายชิ้นยังระบุไว้อีกว่า การบริโภคน้ำตาลส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายมีประสิทธิภาพต่ำลง
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
น้ำตาลส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอย่างไร ควรบริโภคน้ำตาลต่อวันเท่าไร การลดการบริโภคน้ำตาลจะส่งผลดีอย่างไรต่อร่างกาย แนวทางการควบคุมปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมเป็นอย่างไร HD มีคำตอบ
น้ำตาลส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอย่างไร?
นายแพทย์ นิเก็ท ซันพอล (Dr. Niket Sonpal) อายุรแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหาร ชาวอเมริกา ระบุว่า การบริโภคน้ำตาลที่มากเกินไปอาจส่งผลต่อเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่กำจัดแบคทีเรีย ไวรัส และสิ่งแปลกปลอมต่างๆ โดยจะทำให้ประสิทธิภาพในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นลดลง
ทั้งนี้มีงานวิจัยหลายชิ้นสนับสนุนแนวคิดนี้ โดยระบุว่า น้ำตาลจะส่งผลให้ความสามารถในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมของเซลล์เม็ดเลือดขาวลดลงชั่วคราว โดยยิ่งรับประทานน้ำตาลมากเท่าไร ประสิทธิภาพในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมก็จะลดลงมากเท่านั้น ในสัดส่วนดังนี้
- 6 ช้อนชา ประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันลดลง 25%
- 10 ช้อนชา ประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันลดลง 50%
- 24 ช้อนชา ประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันลดลง 92%
แม้ผลกระทบนี้จะคงอยู่ในร่างกายเพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่หากช่วงเวลาดังกล่าวคุณเข้าไปอยู่ในเขตที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ก็จะทำให้มีโอกาสติดเชื้อและป่วยได้ง่ายกว่าปกติ เพราะภูมิคุ้มกันทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่ทำให้เกิดโรค COVID-19 นพ. เพชร รอดอารีย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเลขาธิการสมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย ยังระบุเพิ่มเติมว่า เชื้อไวรัสจะเจริญเติบโตได้ดีในผู้ภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูง นั่นคือผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งหากเกิดการติดเชื้อจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดผันผวนและควบคุมได้ยาก รวมทั้งมีภูมิคุ้มกันต่ำลง ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น และส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา
ควรบริโภคน้ำตาลต่อวันเท่าไรจึงจะเหมาะสม?
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) แนะนำว่า คนทั่วไปไม่ควรรับประทานน้ำตาลเกิน 10% ของปริมาณพลังงานทั้งหมดที่ได้รับในแต่ละวัน โดยเฉลี่ยผู้ใหญ่วัยทำงานต้องการพลังงานประมาณ 2,000 กิโลแคลอรี จึงไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัมต่อวัน
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ขณะที่ข้อมูลปี พ.ศ. 2557 ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย ระบุว่า โดยเฉลี่ยคนไทยบริโภคน้ำตาลสูงถึง 28.4 ช้อนชาต่อวัน ซึ่งนับว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมเกือบ 5 เท่า
อย่างไรก็ตาม ปริมาณ 6 ช้อนชานี้ไม่ได้หมายถึงว่าแต่ละวันจะต้องรับประทานน้ำตาลให้ได้วันละ 6 ช้อนชา จึงจะเหมาะสม แต่หมายถึงควรรับประทานให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และไม่เกินปริมาณนี้
การลดการบริโภคน้ำตาลจะส่งผลดีอย่างไรต่อร่างกาย?
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า น้ำตาลเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดความเสี่ยงของหลายโรค ซึ่งหากลดปริมาณการรับประทานน้ำตาลลงได้ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ ลงได้ด้วย ดังนี้
- โรคอ้วน
- โรคเบาหวาน
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด
- โรคหัวใจ
- โรคไขมันพอกตับ
- โรคซึมเศร้า
- ลดโอกาสในการเกิดสิว
- ลดโอกาสการเกิดริ้วรอยหรือผิวหน้าเสื่อมสภาพก่อนวัย
แนวทางการควบคุมปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมเป็นอย่างไร?
ปัจจุบันพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มรวมทั้งการรับประทานอาหารของคนส่วนใหญ่มักมีการบริโภคน้ำตาลมากเกินความเหมาะสม เช่น เครื่องดื่มชาเขียวสำเร็จรูปประมาณ 500 มิลลิลิตร อาจมีน้ำตาลสูงถึง 14.5 ช้อนชา ซึ่งสูงกว่าที่ร่างกายควรได้รับเกิน 2 เท่า หรือนมเปรี้ยวพร้อมดื่มขนาด 400 มิลลิลิตร อาจมีน้ำตาลสูงถึง 19 ช้อนชา ซึ่งสูงกว่าที่ร่างกายควรได้รับเกิน 3 เท่า
ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมการบริโภคน้ำตาลคือ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร ขนมหรือเครื่องดื่มที่มีรสหวานจัด งดการเติมน้ำตาลเพิ่มก่อนรับประทานอาหาร และที่สำคัญก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ใดๆ ควรอ่านฉลากโภชนาการทุกครั้ง โดยควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลเกิน 15 กรัมหรือ 3 ช้อนชา
ปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพ ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์กันมากขึ้น ทำให้มีผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพสูตรลดน้ำตาลหรือสูตรหวานน้อยเกิดขึ้นมากมาย หนึ่งในนั้นคือ V-SOY นมถั่วเหลือง แคลเซียมสูง สูตรไม่เติมน้ำตาล
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
V-SOY นมถั่วเหลือง ผลิตจากถั่วเหลืองธรรมชาติ 100% เป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำตาล โดยมีคุณประโยชน์ดังนี้
- ไม่มีคอเลสเตอรอล จึงส่งผลดีต่อหลอดเลือดและหัวใจ
- ไม่มีส่วนผสมของนมผง ผู้แพ้นมวัวสามารถดื่มได้
- มีแคลเซียมสูงถึง 400 มิลลิกรัมและวิตามินดีสูง มีส่วนช่วยบำรุงกระดูก
- มีวิตามิน B12 ช่วยบำรุงการทำงานของระบบประสาทและสมอง
- มีโอเมก้า 6 ช่วยลดคอเลสเตอรอลและดีต่อหลอดเลือดและหัวใจ
- มีโฟเลต ช่วยสร้างเม็ดเล็ดแดง
- มีเลซิติน (Lecithin) กระตุ้นสมองให้ความทรงจำดีขึ้น
- ผลิตจากถั่วเหลืองธรรมชาติที่ไม่ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรม (GMO)
- ไม่ใส่วัตถุกันเสีย
นอกจากนี้ กระบวนการผลิต V-SOY นมถั่วเหลือง แคลเซียมสูง สูตรไม่เติมน้ำตาล ยังได้มาตรฐานสากล และได้รับการรับรองจากหลายสถาบัน ดังนี้
- ตรา “ทางเลือกสุขภาพ” น้ำตาลน้อยกว่า 6 กรัมต่อมิลลิลิตร จากมูลนิธิส่งเสริมโภชนาการฯ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ตรา “อาหารรักษ์หัวใจ” จากมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยฯ ว่าไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
- รางวัล Guru’s Pick จาก ชีวจิต Awards ในปี 2019 สาขา Natural Products
นอกจากสูตรไม่เติมน้ำตาลแล้ว ยังมีอีก 2 รสชาติ นั่นคือ สูตรน้ำตาลน้อย และสูตรงาขาวและงาดำ โดยมีน้ำตาลเพียง 4% เหมาะสำหรับผู้รักสุขภาพ และหลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำตาล
ภูมิคุ้มกันของร่างกาย เปรียบเสมือนเกราะป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคและโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ หากประสิทธิภาพการทำงานของภูมิคุ้มกันลดลง ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การหลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำตาลนับเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยให้ภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงควรเลือกรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาล และพยายามควบคุมการบริโภคน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อให้ภูมิคุ้มกันได้ทำหน้าที่ป้องกันร่างกายของเราได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ยิ่งภูมิคุ้มกันทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากเท่าไร ก็ยิ่งช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อได้มากเท่านั้น