กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เลือดออกกะปริดกะปรอย (Spotting)

อาการเลือดออกกะปริดกะปรอยที่เกิดขึ้นก่อน หรือหลังการมีประจำเดือนเกิดจากอะไร และเมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์
เผยแพร่ครั้งแรก 4 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เลือดออกกะปริดกะปรอย (Spotting)

อาการเลือดออกมีอยู่ 4 ประเภท คือแบบเบา แบบปานกลาง แบบหนัก และแบบกะปริดกะปรอย ที่ถูกนิยามว่าเป็นการมีเลือดออกนอกเหนือช่วงเวลาประจำเดือนตามปกติ เช่น การมีเลือดออกก่อนหรือหลังมีประจำเดือน

การเลือดออกกะปริดกะปรอยสามารถเกิดได้จากระบบสืบพันธุ์ส่วนต้นของผู้หญิง เช่น มดลูก หรือระบบสืบพันธุ์ส่วนท้าย เช่น ปากมดลูก หรือช่องคลอด ขึ้นอยู่กับระดับความหนักเบาของเลือดที่ออกมา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สาเหตุทั่วไปของการมีเลือดออกกะปริดกะปรอย

การมีเลือดออกกะปริดกะปรอย อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุดังนี้

  • การคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน : การมีเลือดออกนอกเหนือประจำเดือน เป็นผลข้างเคียงทั่วไปของการคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน เช่น Hormonal IUD กับยา Mini-Pill โดยเฉพาะในช่วงไม่กี่เดือนแรกหลังเริ่มคุมกำเนิด แต่หากคุณกำลังใช้ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานร่วมด้วย อาการเลือดออกกะปริดกะปรอยจะสามารถหายไปเองภายใน 2-3 เดือนได้ ถ้าเวลาผ่านไปแล้วยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อขอเปลี่ยนยาคุมกำเนิดที่มีระดับฮอร์โมน Estrogen ต่างจากเดิม
  • การตั้งครรภ์ : อาการเลือดออกกะปริดกะปรอย เป็นอาการทั่วไปของการตั้งครรภ์อ่อนๆ ซึ่งมีอีกชื่อเรียกว่า เลือดล้างหน้าเด็ก (Implantation Bleeding) โดยผู้หญิงที่มีอายุครรภ์ระหว่าง 5-8 สัปดาห์ ประมาณ 25% จะมีอาการเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม อาการเลือดออกกะปริดกะปรอยสามารถเป็นอาการของการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ (Ectopic Pregnancy) โดยการตั้งครรภ์ดังกล่าวมักจะเกิดขึ้นบริเวณท่อนำไข่แทนที่จะเป็นมดลูก ภาวะนี้ทำให้มีอาการเลือดออกร่วมกับอาการอื่น ๆ ซึ่งผู้ที่มีภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูกควรเข้าพบแพทย์อย่างเร่งด่วน
  • ภาวะทางร่างกายและการติดเชื้อ: อาการเลือดออกกะปริดกะปรอยสามารถเกิดจากการติดเชื้อและความเปลี่ยนแปลงของระบบสืบพันธุ์ หรือความไม่สมดุลทางฮอร์โมนได้ โดยภาวะทางร่างกายที่ทำให้เกิดอาการเลือดออกกะปริดกะปรอยมีทั้งเนื้องอก (Fibroids) ติ่งเนื้อมดลูกหรือคอมดลูก (Uterine or Cervical Polyps) หรือภาวะ Cesarean Scar Defects
  • ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease (PID)) : เกิดขึ้นจากการติดเชื้อที่เชิงกรานบางประเภท โดยอาการอื่นๆ ของ PID มีทั้งอาการปวดที่ท้องน้อย มีของเสียออกจากช่องคลอดอย่างผิดปกติ, และเจ็บปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  • การติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infections (UTIs)) : ภาวะนี้สามารถทำให้มีเลือดออกจากมดลูกได้ด้วย โดยอาการของ UTI คืออาการเจ็บปวดขณะปัสสาวะพร้อมมีเลือดปริมาณเล็กน้อย
  • ปัญหาเกี่ยวกับการตกไข่หรือฮอร์โมน : อาการเลือดออกกะปริดกะปรอยสามารถเกิดขึ้นในช่วงที่มีการตกไข่ในบางคน โดยภาวะเช่นนี้อาจเกิดจากฮอร์โมน Estrogen ที่ลดลงอย่างรวดเร็วหลังการตกไข่ ก่อนที่จะมี Progesterone เพิ่มขึ้น

ส่วนการมีเลือดออกกะปริดกะปรอยหลังมีเพศสัมพันธ์ (Postcoital Spotting) มักเกิดจากปัญหาที่ปากมดลูก เช่น ติ่งเนื้อ หรือรอยโรค หากสังเกตว่าตัวเองมีอาการนี้ให้ปรึกษากับแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งปากมดลูกได้

ที่มาของข้อมูล

What is spotting? (https://helloclue.com/articles/cycle-a-z/what-is-spotting), 6 ตุลาคม 2017


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What causes bleeding between periods?. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/common-health-questions/womens-health/what-causes-bleeding-between-periods/)
Spotting vs. Period: 12 Differences Between Symptoms & Signs. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/spotting_vs_period_differences/article.htm)
Spotting vs. period: Differences and common causes. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/317595)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม