แหล่งเชื้อโรคใกล้ตัว ที่คุณอาจคาดไม่ถึง ต้องทำความสะอาด

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ความสกปรกย่อมนำมาซึ่งเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้เจ็บไข้ได้ป่วยได้ ส่วนใหญ่เรามักคิดว่าเชื้อโรคมักอยู่ในที่สกปรกมากๆ อย่างกองขยะ น้ำเน่า หรือตามของเสีย แต่รู้หรือไม่สิ่งใกล้ตัวที่อยู่ข้างๆ ตัวเราก็เป็นแหล่งเชื้อโรคชั้นดีได้ และบางทีเราอาจคาดไม่ถึงเลยด้วยซ้ำ สำหรับแหล่งเชื้อโรคใกล้ตัวจะมีดังนี้

โทรศัพท์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต

แย่แล้ว! นี่มันอุปกรณ์สุดโปรดที่แทบจะอยู่ตัวติดกันตลอด 24 ชั่วโมงเลยด้วยซ้ำ เชื่อหรือไม่ว่าสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต คือแหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดี ที่มีการวิจัยพบว่ามีเชื้อโรคสะสมมากกว่าโถส้วมถึง 20 เท่าเลยทีเดียว ได้แก่ เชื้อ E. coli และ Staphyloccocus aureus ที่เป็นที่มาของโรคผิวหนังต่าง ๆ โรคปอดอักเสบ และการติดเชื้อในกระแสเลือด แต่ละโรคไม่ธรรมดาเลยจริงๆ สำหรับเชื้อโรคพวกนี้ติดมากับมือที่ใช้สัมผัสหน้าจอ ซื่งโดยส่วนใหญ่ก่อนจับโทรศัพท์จะไม่ได้มีการล้างมือทุกครั้ง อีกทั้งไม่ได้ทำความสะอาดหน้าจอเลย ทำให้เชื้อโรคสะสมอยู่บนจอโทรศัพท์ และกว่าจะรู้ตัวก็สายไปเสียแล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เพื่อเป็นการป้องกันเชื้อโรคที่จะเกิดขึ้น จึงควรทำความสะอาดที่หน้าจอด้วยน้ำยาทำความสะอาดจอทัชสกรีนอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และควรล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังการใช้งาน ก็จะเป็นการยั้บยั้งเชื้อโรคได้ดีที่สุด ที่สำคัญไม่ควรใช้โทรศัพท์ร่วมกันเพราะจะทำให้เชื้อโรคติดต่อกันได้

เงิน

ไม่ว่าจะเป็นธนบัตรหรือเหรียญต่างๆ ล้วนเต็มไปด้วยเชื้อโรคที่ส่งผ่านกันมามือต่อมือ ไม่รู้มือใครเป็นมือใคร จับอะไรกันมาบ้าง จึงกลายเป็นแหล่งเชื้อโรคที่คนต่างละเลยและไม่คิดถึงมากที่สุด จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ระบุว่าบนธนบัตร 1 ใบ มีเชื้อแบคทีเรียสะสมโดยเฉลี่ยถึง 26,000 ตัว ซึ่งเชื้อโรคเหล่านี้จะมีอันตรายกับผู้ที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำได้ ทางที่ดีเมื่อหยิบจับเงินแล้วก็ควรล้างมือทุกครั้งที่จับหรือสัมผัสกับเงินแค่นั้นเอง

รีโมท

รีโมทเป็นอุปกรณ์ที่เราหยิบจับอยู่ทุกวัน โดยลืมนึกถึงว่าคือแหล่งสะสมเชื้อโรคเช่นกัน เพราะส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้ทำความสะอาดรีโมทกันเลย ทั้งๆที่ต้องสัมผัสโดยตรงกับมือของเรา เชื้อโรคจึงสะสมอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของรีโมท สำหรับวิธีการทำความสะอาดก็ไม่ยาก แค่ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคเช็ดทำความสะอาดบ่อย ๆ ก่อนใช้และหลังใช้พยายามล้างมือเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายเท่านั้นเอง

หมอน ผ้าห่ม ฟูกนอน

ไม่ว่าจะเป็นหมอน ผ้าห่มหรือฟูกนอนที่เรานอนหลับสบายทุกๆคืน ล้วนเต็มไปด้วยเชื้อโรคและสิ่งสกปรกมากมาย เพราะในทุกคืนที่เรานอนหลับนั้น ผิวจะผลัดเซลล์ที่ตายออกและยังคงอยู่บนหมอน บนผ้าห่มและที่นอนนั่นเอง ทั้งบรรดาเศษสิ่งสกปรกและเชื้อโรคต่าง ๆ การนำของมาวางไว้ หรือแม้แต่การนำอาหารขึ้นมากินบนที่นอน และเมื่อเรานอนเชื้อโรคก็จะเข้าสู่ร่างกายได้ ดังนั้นจึงควรนำปลอกหมอนและผ้าปูที่นอนนำมาซักด้วยน้ำร้อนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง อีกทั้งนำเอาหมอนและเตียงนอนมาตากแดดบ่อย ๆ แค่นี้เชื้อโรคก็หนีไปไกลแล้ว

สวิตช์ไฟ

จากการศึกษาในประเทศอังกฤษพบว่าบนสวิตช์ไฟมีเชื้อแบคทีเรียอยู่ถึง 217 ตัวต่อตารางนิ้ว โดยเฉพาะสวิตช์ไฟที่ห้องน้ำมีเชื้อโรคอาศัยอยู่มากกว่าหลายเท่าตัว ดังนั้นอย่าได้ละเลยในการทำความสะอาดสวิตช์ไฟเด็ดขาด แค่เพียงใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคเช็ดทำความสะอาดสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง สวิตช์ไฟก็จะสะอาดและปราศจากเชื้อโรคแล้ว

ไม่น่าเชื่อเลยใช่ไหมเอ่ย ว่าสิ่งของเหล่านี้จะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคชุดใหญ่ ซึ่งเมื่อรู้แล้ว คุณควรทำความสะอาดสิ่งของเหล่านี้ให้สะอาดหมดจดอยู่เสมอ แล้วคุณจะปลอดจากเชื้อโรคแน่นอน


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Diversity, distribution and sources of bacteria in residential kitchens. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5100818/)
The 9 Dirtiest Places in Your Home: Find Out Where the Germs Live. Healthline. (https://www.healthline.com/health/germy-places)
Willett, M., (2015, March 10). Your pillows are filled with dust mites and dead skin cells — Here’s how to wash them (http://www.businessinsider.com/how-to-clean-your-pillows-2015-3)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)