การสูบบุหรี่และอาการหอบหืด

เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การสูบบุหรี่และอาการหอบหืด

Smoking and Asthma การสูบบุหรี่และอาการหอบหืด

มาดูกันว่าทำไมการสูบบุหรี่ถึงเป็นสิ่งที่แย่ โดยเฉพาะหากคุณเป็นโรคหอบหืด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การสูบบุหรี่ทำให้อาการหอบหืดแย่ลงจริงหรือฺ?

แน่แท้ที่สุด! เมื่อคุณเป็นโรคหอบหืด การสูบบุหรี่นั้นมีความเสี่ยงมากเพราะควันบุหรี่จะยิ่งทำร้ายปอดของคุณ

โดยควันจะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้หลอดลมบวม ตีบ และติดเหนียวไปด้วยเสมหะ ซึ่งลักษณะอาการจะคล้ายคลึงกันกับอาการหอบหืดกำเริบ ดังนั้น การสูบบุหรี่จะทำให้อาการหอบหืดกำเริบถี่ขึ้น มีอาการรุนแรงขึ้น และควบคุมอาการได้ยาก แม้จะมียารักษาก็ตาม

ทำไมเราควรเลิกสูบบุหรี่

คุณอาจเริ่มสูบบุหรี่จากการที่เพื่อนชวน หรืออาจเพราะคุณเติบโตขึ้นมาในสภาพแวดล้อมที่คนในครอบครัวสูบ แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ถ้าคุณคิดจะเลิกแล้ว มันถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่จะทำให้อาการหอบหืดของคุณดีขึ้น

เหตุผลต่างๆ นานาที่ทำให้คุณต้องเลิกสูบบุหรี่

  • การสูบบุหรี่มีผลต่อฤทธิ์ของยาที่คุณทานอยู่เป็นประจำซึ่งจะส่งผลในระยะยาว
  • การสูบบุหรี่อาจทำให้คุณต้องใช้ยาเสริมเพื่อบรรเทาอาการที่เกิดถี่ขึ้น
  • การสูบบุหรี่จะรบกวนการนอนของคุณในยามค่ำคืนเพราะคุณจะไออยู่ตลอดเวลา
  • การสูบบุหรี่จะลดสมรรถนะทางด้านกีฬาและสภาพร่างกายของคุณ
  • และที่แย่ที่สุดคือ การสูบบุหรี่อาจทำให้คุณต้องเข้าโรงพยาบาลอย่างกระทันหันเพราะอาการหอบหืดกำเริบอย่างรุนแรง

หากคุณตัดสินใจแล้วว่าจะเลิกสูบบุหรี่ คุณไม่จำเป็นต้องลุยเดี่ยวเสมอไป ลองหาการสนับสนุนจากคนรอบข้าง เช่น ครอบครัว เพื่อน หรือแม้แต่คนที่ต้องการเลิกเช่นเดียวกับคุณ แล้วไม่ต้องอายที่จะต้องปรึกษาแพทย์ คุณสามารถสอบถามแพทย์ว่ามีวิธีการใดหรือไม่ที่จะช่วยให้อยากสูบบุหรี่น้อยลง และแน่นอนแพทย์รอที่จะช่วยคุณอยู่!

ควันบุหรี่มือสองส่งผลต่ออาการหอบหืดหรือไม่

แม้คุณจะไม่ได้เป็นผู้สูบบุหรี่ แต่คุณรู้หรือไม่ว่า คุณก็มีสิทธิ์รับควันเข้าสู่ร่างกายได้หากคุณอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับผู้สูบ เช่น งานเลี้ยง งานต่างๆ หรือแม้แต่ที่บ้านของคุณเอง ซึ่งควันบุหรี่มือสองเปรียบเสมือนตัวกระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืด ดังนั้น หากคุณเป็นโรคหอบคุณต้องเลี่ยงไม่ให้ตัวเองเข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่มีคนสูบบุหรี่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เพราะถ้าคุณใช้ชีวิตที่รายล้อมไปด้วยคนสูบบุหรี่หรือสมาชิกในบ้านของคุณสูบ อาการหอบหืดที่คุณเป็นอยู่จะกำเริบบ่อยและอาการจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คุณต้องทานยาในปริมาณที่มากขึ้น พบหมอบ่อยขึ้น และอาจหนักจนถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาลเลยทีเดียว

จริงๆ แล้วคุณไม่สามารถควบคุมหรือกำกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของใครได้ แต่คุณจำเป็นต้องบอกให้เพื่อนหรือคนในครอบครัวของคุณทราบว่า ควันบุหรี่ทำให้อาการหอบหืดของคุณแย่ลง คุณควรขอความร่วมมือไม่ให้พวกเขาสูบบุหรี่ในบ้านหรือในรถของคุณ

แล้วบุหรี่ไฟฟ้าล่ะ ปลอดภัยต่อผู้ป่วยหอบหืดหรือไม่

ผู้ป่วยโรคหอบหืดหลายท่านเข้าใจว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้านั้นถือเป็นทางเลือกที่ปลอดภัย เพราะพวกเขาไม่ได้สูดควันเข้าสู่ปอด เพียงแต่เสพนิโคตินเข้าไปในร่างกายเท่านั้น อย่างไรก็ตาม นิโคตินนี่แหละที่ทำให้คุณติดบุหรี่ และเป็นพิษหากรับในปริมาณมากๆ นอกจากนี้ ยังเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงและการเต้นของหัวใจผิดปกติด้วย

ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่า ควันที่เกิดจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้านั้นเป็นอันตรายไม่เพียงเฉพาะต่อผู้สูบเองเท่านั้น แต่ยังส่งผลเสียต่อผู้ที่อยู่ในบริเวณเดียวกันด้วย

ที่มาของข้อมูล http://kidshealth.org/en/teens/smoking-asthma.html


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Effects Of Smoking With Asthma. Cleveland Clinic. (https://my.clevelandclinic.org/health/articles/4584-smoking--asthma)
Asthma and Secondhand Smoke | Overviews of Diseases/Conditions | Tips From Former Smokers. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/tobacco/campaign/tips/diseases/secondhand-smoke-asthma.html)
The Impact of Cigarette Smoking on Asthma: A Population-Based International Cohort Study. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3696371/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป