โรคฟิฟธ์ หรือที่เรียกว่า Slapped cheek syndrome หรือ parvovirus B19 คือภาวะติดเชื้อไวรัสที่ทำให้มีผื่นแดงสดบนแก้ม แม้จะเป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็กแต่ในความเป็นจริงก็เป็นโรคที่สามารถเกิดกับใครก็ได้
แม้ว่าผื่นที่เกิดขึ้นจะดูน่ากลัว แต่โรคฟิฟธ์เป็นเพียงการติดเชื้อที่ไม่รุนแรงและจะหายไปเองภายในหนึ่งหรือสามสัปดาห์ เมื่อคุณเคยป่วยเป็นโรคนี้แล้ว คุณจะมีภูมิต้านทานต่อโรคนี้ไปตลอดชีวิต
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อย่างไรก็ตาม โรคฟิฟธ์อาจมีความรุนแรงในบางคนได้ หากคุณกำลังตั้งครรภ์ มีความผิดปรกติของเลือด หรือมีระบบภูมิต้านทานอ่อนแอและติดเชื้อไวรัสตัวนี้ คุณควรไปพบแพทย์ในทันที
โรคฟิฟธ์
อาการของโรคฟิฟธ์มักจะเกิดขึ้นหลังการติดเชื้อ 4-14 วัน แต่ในบางกรณีอาจอาจใช้เวลานานถึง 21 วันก็ได้
อาการแรกเริ่ม
ผู้ป่วยโรคฟิฟธ์บางรายจะไม่สังเกตเห็นอาการแรกเริ่มของโรค แต่สำหรับผู้ป่วยส่วนมากจะมีอาการดังต่อไปนี้เป็นเวลาไม่กี่วัน:
การติดเชื้อจะแพร่เชื้อง่ายที่สุดในช่วงระยะแรกเริ่มนี้
สำหรับผู้ใหญ่ อาการเหล่านี้มักจะเกิดพร้อมกับอาการเจ็บตึงที่ข้อ ซึ่งอาจจะยาวนานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนหลังจากอาการอื่น ๆ หายไปแล้ว
ผื่นบนแก้ม
หลังจากนั้นไม่กี่วันจะเกิดผื่นสีแดงสดบนแก้มทั้งสองข้าง กระนั้นผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่บางรายอาจจะไม่มีอาการนี้ก็ได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ในช่วงเวลาที่ผื่นปรากฏขึ้นมา ภาวะฟิฟธ์จะไม่สามารถแพร่เชื้อได้อีก
หลังจากนั้นไม่กี่วัน จะปรากฏผื่นสีชมพูอ่อนบนหน้าอก ท้อง แขน และต้นขา ซึ่งอาจจะเห่อขึ้นมาและมีอาการคันร่วมด้วยก็ได้
ผื่นมักจะจางหายไปภายในเวลาหนึ่งหรือสองสัปดาห์ บางกรณีผื่นบนร่างกายอาจจะมา ๆ หาย ๆ หลายครั้งในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์หลังการติดเชื้อผ่านไป ซึ่งเป็นผลมาจากการออกกำลังกาย ความร้อน ความกังวล หรือความเครียด
ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?
เมื่อคุณหรือลูกของคุณป่วยเป็นโรคฟิฟธ์ ไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์เนื่องจากภาวะนี้มักจะดีขึ้นเอง
อย่างไรก็ตามคุณควรติดต่อแพทย์หรือบริการทางสุขภาพใกล้เคียงหากว่าคุณใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคฟิฟธ์หรือคุณมีอาการของการติดเชื้อนี้ และ:
- คุณกำลังตั้งครรภ์: การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงที่อายุครรภ์อ่อนจะมีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร การตายคลอด หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ อย่างไรก็ตามความเสี่ยงนี้จะมีน้อยมากหากผู้หญิงคนนั้นมีภูมิต้านทานต่อโรคฟิฟธ์แล้ว
- คุณมีความผิดปกติของเลือด เช่นโรคโลหิตจางเม็ดเลือดรูปเคียง หรือทาลาสซีเมีย หรือมีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ: การติดเชื้อจะทำให้เกิดภาวะโลหิตจางรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล
- คุณมีอาการของโรคโลหิตจางรุนแรง เช่นมีผิวหนังสีซีดมาก ช่วงหายใจสั้นมาก เหน็ดเหนื่อยรุนแรง หรือหมดสติ
- ในกรณีเหล่านี้จะมีการตรวจเลือดเพื่อหาภูมิต้านทานต่อโรค หากคุณไม่มีภูมิต้านทานโรคนี้ แพทย์จะคอยสอดส่องอาการของคุณเพื่อมองหาปัญหาต่าง ๆ
- หากคุณเริ่มมีอาการภาวะโลหิตจางรุนแรง คุณอาจต้องเข้าพักฟื้นที่โรงพยาบาลและทำการถ่ายเลือดเพื่อชดเชยเซลล์เม็ดเลือดแดงที่เสียหายไป
จะทำอย่างไรหากคุณหรือลูกของคุณป่วยเป็นโรคฟิฟธ์
โรคฟิฟธ์มักจะไม่รุนแรงและควรจะหายไปเองแม้จะไม่ได้รับการรักษา หากคุณหรือลูกของคุณรู้สึกไม่สู้ดี คุณสามารถใช้วิธีต่อไปนี้เพื่อบรรเทาอาการได้:
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
พักผ่อนและดื่มน้ำให้มาก ๆ : ทารกสามารถดื่มนมได้ตามปกติ
สำหรับอาการไข้ ปวดศีรษะ หรือปวดข้อ คุณสามารถทานยาแก้ปวดอย่างพาราเซตตามอลหรืออิบูโพรเฟนได้: เด็กอายุต่ำกว่า 16 ปีไม่ควรได้รับยาแอสไพริน
คุณสามารถทานยาต้านฮิสตามีนเพื่อลดอาการคัน หรือใช้สารเพิ่มความชุ่มชื้นกับผิวหนังได้: ยาต้านฮิสตามีนบางตัวอาจไม่เหมาะกับเด็กเล็ก ดังนั้นควรปรึกษาเภสัชกรก่อนเลือกใช้ยา
ควรแจ้งโรงเรียนของลูกของคุณเกี่ยวกับการติดเชื้อของลูกคุณเพื่อให้คุณครูคอยสอดส่องอาการแรกเริ่มต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว และเพื่อป้องกันผู้ที่อ่อนไหวต่อการติดเชื้อ
คุณติดเชื้อโรคฟิฟธ์ได้อย่างไร?
โรคฟิฟธ์เกิดมาจากเชื้อไวรัสที่เรียกว่า parvovirus B19 ที่พบได้ในละอองจามและไอของผู้ติดเชื้อ
ไวรัสนี้แพร่กระจายด้วยวิธีเดียวกับไข้หวัดธรรมดาและไข้หวัดใหญ่ แปลว่าคุณสามารถติดเชื้อโรคฟิฟธ์ได้จาก:
การสูดนำละอองสารคัดหลั่งเหล่านี้เข้าไป
การสัมผัสสิ่งของและพื้นผิวที่มีการปนเปื้อนเชื้อและนำมือเปื้อนเชื้อไปสัมผัสกับปากหรือจมูกของตนเอง
ผู้ป่วยโรคฟิฟธ์จะแพร่เชื้อได้ระหว่างช่วงแรกเริ่มก่อนจะมีผื่นขึ้น และเมื่อผื่นปรากฏขึ้นมา ภาวะนี้จะไม่สามารถติดต่อกันได้อีก
การป้องกันการแพร่เชื้อโรคฟิฟธ์
การป้องกันกรแพร่เชื้อโรคฟิฟธ์นั้นทำได้ยาก เพราะว่าผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงแพร่เชื้อจะไม่มีอาการใด ๆ
อย่างไรก็ตามเพื่อความมั่นใจ คุณควรดูแลให้ทุกคนในครัวเรือนล้างมือของพวกเขาบ่อย ๆ เพื่อหยุดการแพร่กระจายของเชื้อ
ณ ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้อย่างเป็นทางการ