กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

สัญญาณอันตรายระหว่างตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
สัญญาณอันตรายระหว่างตั้งครรภ์

1. มีเลือดออกทางช่องคลอด

a1.gif

 ในช่วงแรก ๆ ของการตั้งครรภ์ ประมาณเดือนแรกหรือเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์ ให้สันนิษฐานเลยว่าเป็น “การแท้ง” การแท้งจะมีอาการปวดท้องมาก ๆ ร่วมด้วย ต้องรีบพบแพทย์ด่วน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

a1.gif

 การแท้งนั้นแพทย์จะวินิจฉัยว่า คุณแม่จะตั้งครรภ์ต่อไปได้หรือไม่ ถ้าเลือดออกโดยปากมดลูกปิด ทารกยังมีชีวิตอยู่ ก็สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้ แต่ถ้าทารกในครรภ์เสียชีวิตแล้วต้องทำแท้งขูดมดลูกเอาของเสียออกให้หมด แต่การแท้งชนิดที่เนื้อเยื่อ ถุงน้ำคร่ำออกมาหมด ก็ไม่ต้องขูดมดลูก

2. อาการปวดท้อง มีเลือดกะปริบกะปรอยออกมาทางช่องคลอด


 
a1.gif

 คล้าย ๆ กับการแท้ง แต่เป็นความผิดปกติของการตั้งครรภ์อีกชนิดหนึ่งก็คือ “การตั้งครรภ์นอกมดลูก” เกิดจากไข่ที่ผสมแล้วเดินทางไปฝังตัวในท่อนำไข่ แล้วไม่สามารถเจริญเติบโตได้ จึงเกิดการแตกทำให้มีการตกเลือดในช่องท้อง คุณแม่จะปวดท้องมาก เป็นลมและอาจถึงแก่ชีวิตได้

ในการวินิจฉัยของแพทย์ต้องใช้วิธีอัลตร้าซาวด์ และเจาะเลือดเพื่อตรวจระดับฮอร์โมน

3. คุณแม่ตัวบวม แขนขาบวม


 
a1.gif

 มักจะเกิดในช่วงหลังของการตั้งครรภ์ คุณแม่จะมีใบหน้าบวม ข้อเท้า มือ ขาทั่งสองข้างบวม กดแล้วบุ๋ม เกิดจาก “ภาวะความดันโลหิตสูง” ถ้าเป็นมากอาจจะเกิดอาการตาพร่ามัว เวียนศีรษะ ปวดท้อง ปัสสาวะน้อย ความดันโลหิตสูงถึงกว่า 160/100 มม.ปรอท ถ้าเป็นรุนแรงอันตรายอาจถึงชักได้ควรได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด

คุณแม่ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานก็คือ

  • คุณแม่ที่มีอายุเกิน 35 ปี
  • มีประวัติว่า พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือพี่น้องเป็นเบาหวาน
  • ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ
  • เคยคลอดลูกที่มีน้ำหนักมาก (4,000 กรัม)
  • มีประวัติลูกตายในท้องหรือภายหลังคลอด

ผลที่เกิดกับลูกเมื่อคลอดแล้ว

  • ใช้เวลาคลอดนานกว่าปกติ และคลอดยากเพราะเด็กตัวโต
  • เด็กมีโอกาสติดไหล่ ได้มากกว่าปกติ
  • ช่องคลอดฉีกขาด
  • มีการเสียเลือดมาก
  • มีโอกาสผ่าท้องคลอด
  • มีภูมิต้านทานน้อย ป่วยง่าย
  • มีโอกาสพิการ ถ้าเป็นเบาหวานรุนแรงใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
  • ทารกจะเป็นเบาหวาน ตัวซีด เหลือง ปอดไม่สามารถหายใจได้ตามปกติ อาจเสียชีวิต

วิธีการรักษา

a1.gif

 แพทย์จะฉีดอินซูลินให้คุณแม่แทนการกินยา เพราะมีผลให้เกิดความปกติต่อลูก ตัวคุณแม่ต้องควบคุมระดับปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือด และปฏิบัติตามแพทย์สั่งทุกระยะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การคลอด

a1.gif

 แพทย์จะพยายามให้คลอดปกติ เมื่อคุณแม่พร้อมและลูกน้อยตัวไม่โตจนเกินไป หากพบว่าทารกมีสุขภาพไม่ดี ปากมดลูกไม่อยู่ในสภาพที่จะคลอดตามปกติ หรือมีปัญหาขนาดของทารกกับช่องคลอด แพทย์จะให้ผ่าท้องคลอดแทนการคลอดปกติ

การปฏิบัติตนของคุณแม่ที่เป็นเบาหวานในขณะที่ตั้งครรภ์

  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเส้นเลือด ควบคุมอาหาร ไม่กินอาหารที่หวานจัด อาหารที่มีส่วนประกอบของแป้ง ให้หั้นมากินอาหารประเภทโปรตีน และอาหารที่มีใยอาหารมาก ๆ
  • ฉีดอินซูลินในกรณีที่เป็นเบาหวานมากโดยอยู่ในความดูแลของแพทย์
  • ออกกำลังกายเหมาะสม
  • ตรวจคลื่นหัวใจของลูก (โดยแพทย์) สนใจการดิ้นของลูก

5. ตกเลือดทางช่องคลอดปริมาณมาก ๆ

a1.gif

 การตกเลือดมีเลือดออกมาทางช่องคลอดครั้งละมาก ๆ เป็นเลือดสด ๆ ไหลจนเปียกชุ่มกางเกงในหรือกระโปรง ควรรีบเดินทางไปพบแพทย์โดยเร่งด่วน เพราะคุณแม่อาจจะเสียเลือดมาก

สาเหตุของอาการตกเลือดให้สันนิษฐานได้หลายประเด็น

รกเกาะต่ำ หมายถึง ตำแหน่งที่รกเกาะอยู่ต่ำกว่าปกติ อยู่บริเวณใกล้ช่องคลอด การรักษาคุณหมดจะให้ยาคลายมดลูกเพื่อให้เลือดหยุด ถ้าอายุครรภ์มากก็อาจให้คลอดก่อนกำหนดโดยการผาตัดคลอด

รกลอกตัวก่อนกำหนด จะมีเลือดออกมากและปวดท้องมาก เกิดจากรกซึ่งเป็นสารอาหารของทารกเกิดลอกตัวหลุดออกมาหรือถุงน้ำคร่ำแตก จะเป็นอันตรายต่อทารก จะทำให้ขาดอากาศหายใจ แพทย์จะต้องรีบผ่าตัดช่วยชีวิตทารกและมารดา

6. อาการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด


 
a1.gif

 คืออาการเจ็บครรภ์ มีการหดรัดตัวของมดลูกเป็นระยะ และปากมดลูกเปิดพร้อมจะคลอด การคลอดทารก ก่อนกำหนด ถ้าอายุครรภ์เกิน 7 เดือน ก็จะมีโอกาสเติบโตเป็นทารกที่แข็งแรงได้


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Exercise during pregnancy: danger signs. BabyCenter Australia. (https://www.babycenter.com.au/a7818/exercise-during-pregnancy-danger-signs)
Warning Signs of a Problem in Pregnancy. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/times-you-should-definitely-call-your-doctor-2371756)
DANGER SIGNS IN PREGNANCY - Counselling for Maternal and Newborn Health Care. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK304178/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม