ในปัจจุบันมีวิธีคุมกำเนิดหลายรูปแบบและมีหลายปัจจัยที่คุณต้องพิจารณาก่อนที่จะตัดสินใจเลือก หากคุณมีภาวะบางอย่างหรือมีปัจจัยเสี่ยงบางข้ออาจจะทำให้คุณไม่เหมาะที่จะใช้วิธีการคุมกำเนิดบางวิธี การรู้ผลข้างเคียงของวิธีคุมกำเนิดแต่ละวิธีก่อนนั้นจะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
คุณอาจจะต้องการพิจารณาว่าคุณเองคิดว่าจะสามารถทนผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้วิธีคุมกำเนิดบางวิธีได้หรือไม่ โดยทั่วไป ผลข้างเคียงเหล่านี้มักไม่รุนแรงและมักจะหายไปหลังใช้ไประยะหนึ่ง
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตัวอย่างเช่น วิธีการคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมนโดยเฉพาะที่ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนนั้นอาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของการรับประทานยาคุมกำเนิดนั้นเช่นอาการคลื่นไส้หรือมีเลือดออกกะปริบกะปรอย
บางคนที่ใช้การฉีดยาคุมกำเนิดนั้นอาจจะเกิดผลข้างเคียงเช่นประจำเดือนออกมากกว่าปกติ หรือน้ำหนักเพิ่ม นอกจากนั้นการใช้การฉีดยาคุมกำเนิดนั้นยังอาจทำให้กระดูกสูญเสียไปในช่วงที่ใช้ยาได้
- ผลข้างเคียงของการใช้ยาคุมกำเนิด
- ผลข้างเคียงของการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสตินเพียงอย่างเดียว
เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลข้างเคียง
ยาฆ่าเชื้ออสุจิบางชนิดอาจทำให้องคชาติหรือช่องคลอดเกิดการระคายเคืองได้ ผู้หญิงบางคนอาจเกิดปฏิกิริยาที่ผิวหนังเมื่อใช้แผ่นแปะคุมกำเนิด
ผู้ที่ใช้ยาฝังคุมกำเนิดนั้นมักจะพบผลข้างเคียงคือประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ และอาจมีอาการปวดบริเวณที่ทำการฝังยา และห่วงคุมกำเนิดเช่น Mirena หรือ ParaGard นั้นทะลุผ่านผนังมดลูกระหว่างการใส่ได้ แต่พบได้น้อยมาก ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขแล้ว ห่วงคุมกำเนิดนี้อาจไปทำลายอวัยวะอื่นๆ ในอุ้งเชิงกรานได้
การศึกษาผลข้างเคียงของวิธีการคุมกำเนิดแต่ละชนิดจะช่วยให้คุณสบายใจขึ้นหากคุณมีอาการดังกล่าว
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ปฏิกิริยาการแพ้
อีกเรื่องหนึ่งที่จำเป็นต้องคิดถึงคือโอกาสในการแพ้ยา หากคุณหรือคู่นอนของคุณแพ้ยาง คุณอาจจะเลือกใช้ถุงยางอนามัยชนิดที่ทำจากซิลิโคนหรือ polyurethane แทน เช่น
- ถุงยางอนามัยสำหรับผู้หญิง
- ถุงยางอนามัยที่ทำจาก polyurethane
- ถุงยางอนามัยที่ทำจาก SKYN polyisoprene
- ถุงยางอนามัยที่ทำจากหนังแกะ
และไม่แนะนำให้ผู้ที่มีอาการแพ้บางและซิลิโคนใช้การคุมกำเนิดด้วย diaphragms และ cervical caps บางคนอาจมีอาการแพ้ต่อสารเคมีที่ใช้ในยาฆ่าเชื้ออสุจิ
นอกจากนั้นอาจมีการแพ้ฮอร์โมนที่พบในยาคุมกำเนิดหรือวิธีการคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมนวิธีอื่น, แพ้ทองแดงที่อยู่ในห่วงคุมกำเนิด ParaGard และเกิดผื่นแพ้เมื่อใช้ NuvaRing ได้
ประวัติทางการแพทย์
ควรพิจารณาว่าคุณมีประวัติทางการแพทย์ในอดีตที่อาจส่งผลต่อวิธีการคุมกำเนิดบางชนิดหรือไม่ ตัวอย่างเช่น
- ไม่แนะนำให้ใช้ยาคุมกำเนิดในผู้หญิงที่สูบบุหรี่
- การใช้ยาคุมกำเนิดในผู้ที่มีภาวะบางภาวะเช่นไมเกรน เบาหวาน และประวัติการสูบบุหรี่หรือโรคหัวใจนั้นอาจจะไม่ปลอดภัย
- มีผู้หญิงกลุ่มใดที่ไม่ควรใช้วิธีการคุมกำเนิดที่ใช้ฮอร์โมนหรือไม่?
- ยาคุมกำเนิดสามารถส่งผลต่อความดันโลหิตได้หรือไม่?
- น้ำหนักกับประสิทธิภาพของการใช้ยาคุมกำเนิด
เรื่องอื่นๆ ที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม
การที่คุณเพิ่งคลอดลูกหรือให้นมบุตรนั้นอาจจะส่งผลต่อวิธีการคุมกำเนิดได้ หากคุณอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าวการเลือกใช้ยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสตินอย่างเดียวนั้นอาจจะเป็นทางเลือกที่ดี นอกจากนั้นควรพิจารณาด้วยว่าบางวิธีเช่นการใช้ diaphragm, cervical caps และ sponge นั้นอาจจะมีประสิทธิภาพลดลงภายหลังจากที่ผู้หญิงมีการคลอดลูก
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์กับห่วงคุมกำเนิด
อีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องคิดถึงก็คือคุณกำลังหรือมีโอกาสในการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือไม่
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
หากคุณมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อยู่ระหว่างที่มีการใส่ห่วงคุมกำเนิด อาจทำให้มีการนำการติดเชื้อดังกล่าวเข้าสู่มดลูก ซึ่งจะทำให้เกิดการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานและเป็นหมันตามมาหากไม่ได้รับการรักษา หากคุณเลือกใช้ห่วงคุมกำเนิดและมีความเสี่ยงในการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คุณอาจจะต้องใช้ถุงยางอนามัยก่อนและหลังจากที่ใส่ห่วงคุมกำเนิด
- ห่วงคุมกำเนิด ParaGard
- ห่วงคุมกำเนิด Mirena
การฉีดยาคุมกำเนิดกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
นอกจากนั้น มีการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Sexually Transmitted Diseases ที่พบว่าผู้หญิงที่ใช้ยาฉีดคุมกำเนิดนั้นมีโอกาสที่จะติดเชื้อ chlamydia หรือหนองในมากกว่าผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดหรือวิธีการคุมกำเนิดที่ไม่ใช่ฮอร์โมนถึง 3 เท่าในช่าวง 1 ปี
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์กับการใช้ถุงยางอนามัย
หากคุณกำลังเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรทราบไว้ว่าการใช้ถุงยางอนามัยนั้นเป็นวิธีเดียวที่จะช่วยป้องกันการแพร่เชื้อโรคนี้ให้กับคู่นอนของคุณ
ในความเป็นจริงแล้ว ถุงยางอนามัยสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่อไปนี้ : หนองในเทียม. หนองในแท้, trichomoniasis, ซิฟิลิส, การติดเชื้อ HIV, โรคตับอักเสบ, chancroid และการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน การใช้ถุงยางอนามัยยังสามารถป้องกันการเกิดช่องคลอดอักเสบที่เกิดจาก trichomoniasis หรือการเปลี่ยนแปลงสมดุลกรดเบสในช่องคลอดที่อาจถูกกระคุ้นโดยน้ำอสุจิ
อย่างไรก็ตามการใช้ถุงยางอนามัยนั้นไม่ได้ช่วยป้องกันการเกิดหูดหงอนไก่หรือการติดเชื้อเริม