สาบเสือ (Siam weed)

"สาบเสือ พืชกลิ่นฉุน บางคนเข้าใจว่าเป็นวัชพืช ที่แท้มีสรรพคุณทางยาซ่อนอยู่ ไม่ว่าจะส่วนลำต้น ดอกหรือใบสาบเสือ "
เผยแพร่ครั้งแรก 20 ธ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
สาบเสือ (Siam weed)

สาบเสือ จัดเป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดแถบอเมริกากลาง และมีการแพร่กระจายไปในประเทศเขตร้อน ทั้งในอินเดีย พม่า ไทย เป็นพืชที่เติบโตและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว

ลักษณะเฉพาะตัวของพืชชนิดนี้คือดอกที่มีกลิ่นฉุนคล้ายกลิ่นเสือ จึงเป็นที่มาของชื่อสาบเสือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Chromolaena odorata (L.) R.M. King & H. Rob
ชื่อวงศ์ COMPOSITAE
ชื่อสามัญ Siam weed, Bitter bush, Christmas bush, Devil weed, Camfhur grass

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของสาบเสือ

ลักษณะของสาบเสือ เป็นไม่ล้มลุก สูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นและกิ่งมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม มีขนปกคลุม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ขอบใบหยัก ผิวใบมีขน ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายยอด กลับดอกสีขาวหรือขาวแกมม่วง ผลเป็นผลแห้ง เป็นเส้นยาวแบน มีสีน้ำตาลดำ มีขน

สรรพคุณของสาบเสือ

ส่วนต่างๆ ของต้นสาบเสือมีสรรพคุณดังนี้

  • ใบ มีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดหดตัว กระตุ้นกระแข็งตัวของเลือด

    จึงนำมาใช้เป็นยาภายนอก โดยใช้ใบสด โขลก แล้วนำมาพอกบริเวณบาดแผล เพื่อห้ามเลือด รักษาแผลสด ช่วยสมานแผล หรือนำมาทาบริเวณที่ถูกแมลงกัด จะช่วยลดอาการอักเสบ ปวดจากแมลงกัดต่อย

    นอกจากนี้สาบเสือยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยต้านการอักเสบ และต้านการติดเชื้อที่แผล

    ใบสาบเสือสด มาต้ม และดื่ม เป็นยาลดไข้ แก้ไอ บรรเทาอาการท้องเสีย ขับปัสสาวะ ลดอาการอักเสบ และช่วยรักษาริดสีดวงทวาร

    สารสกัดจากใบ นำมารักษาแผลไหม้ และการติดเชื้อที่ผิวหนังได้ นอกจากนี้ใบสดของสาบเสือสามารถใช้หมักผม ทำให้เส้นผมดำขึ้นได้
  • ดอก ใช้ดอกสดหรือดอกแห้ง ต้มดื่ม ช่วยแก้ไข้ แก้ร้อนใน บำรุงหัวใจ
  • ทั้งต้น สามารถใช้เป็นยารักษาอาการปวดท้อง ท้องอืดได้ นอกจากนี้ต้นสาบเสือยังนำมาทำยาไล่แมลงได้ เนื่องจากมีกลิ่นฉุน ทำให้เป็นประโยชน์ต่อการทำเกษตรกรรม

สาบเสือ นับได้ว่าเป็นพืชที่มีคุณประโยชน์ที่สามารถรักษาได้หลายโรค ซึ่งการใช้สมุนไพรแต่ละชนิดควรปรึกษาผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง เช่น แพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ เภสัชกร เพื่อความปลอดภัย


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ดร. ปิยาภรณ์ วรานุสันติกูล, Antioxidant Study of the Crude Extracts from Chromolaena odorata (L.) King & Robinson (https://www.tci-thaijo.org/index.php/sdust/article/view/177782).
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สาบเสือ (https://pharmacy.mahidol.ac.th/siri/index.php?page=search_detail&medicinal_id=261).
พืชเกษตร, สาบเสือ ใบสาบเสือ และสรรพคุณสาบเสือ (https://puechkaset.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD/) , 23 พฤศจิกายน 2559.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)