กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การมีเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิด และการตั้งครรภ์อีกครั้งหลังคลอด

การมีเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิด และการตั้งครรภ์อีกครั้งหลังคลอด
เผยแพร่ครั้งแรก 4 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การมีเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิด และการตั้งครรภ์อีกครั้งหลังคลอด

หลังคลอดบุตร แพทย์มักจะแนะนำว่าควรรออย่างน้อย 6 สัปดาห์ ก่อนจะกลับไปมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่อีกครั้ง ด้วยเหตุผลในเรื่องของการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ และการรักษาความเสียหายของเนื้อเยื่อที่เกิดจากการคลอดบุตร ซึ่งระยะเวลา 6 สัปดาห์ จะเป็นช่วงเวลาที่แผลหายสนิทพอดี

อย่างไรก็ตาม มีผู้หญิงหลายคนที่สามารถมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่หลังคลอดก่อนครบกำหนด 6 สัปดาห์โดยไม่มีอาการแทรกซ้อนใดๆ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถทำเช่นนี้ได้ วิธีที่ดีที่สุดที่จะดูว่าพร้อมสำหรับการมีเพศสัมพันธ์หรือไม่ คือรอจนกว่าสีของช่องคลอดจะหายแดง หรืออาจเข้ารับการปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกายอีกครั้งว่าสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เลยหรือไม่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การตั้งครรภ์อีกครั้งหลังคลอด

การตั้งครรภ์สามารถเกิดขึ้นได้ ในระหว่างหลังคลอด และก่อนมีประจำเดือนครั้งแรกหลังคลอด อย่าลืมว่าการตกไข่จะเกิดขึ้นก่อนประจำเดือนจะมา เมื่อฮอร์โมนในร่างกายกลับสู่สภาวะปกติหลังคลอด ร่างกายของผู้หญิงจะกลับไปสู่ความพร้อมที่จะตั้งบุตรอีกครั้ง ดังนั้น หากมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน ก็เป็นไปได้ที่จะมีการตั้งครรภ์อีกครั้งในเวลาไม่กี่สัปดาห์หลังคลอดบุตร

การให้นมบุตรด้วยตัวเอง จะช่วยเลื่อนการกลับมามีประจำเดือนอีกครั้งออกไปอีกหลายเดือน แต่ถ้าหากไม่ได้ให้นมบุตรเอง (และไม่ได้ปั๊มนมเก็บไว้ให้บุตรด้วย) จะทำให้การตกไข่และประจำเดือนกลับสู่สภาวะตามปกติภายในเวลาประมาณ 1 เดือนหลังคลอดบุตร ดังนั้น หากยังไม่พร้อมที่จะมีบุตรคนต่อไป ก็ควรเลือกใช้วิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสม

การคุมกำเนิดวิธีใดบ้าง ที่เหมาะสำหรับผู้หญิงพึ่งคลอดบุตร

มีหลายวิธีในการป้องกันการตั้งครรภ์ภายหลังการคลอดบุตร โดยไม่กระทบต่อสุขภาพ และการให้นมบุตร (กรณีให้นมบุตรด้วยตัวเอง) เช่น

  • วิธีการใช้ฮอร์โมน (Hormonal Methods) : การคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมนโพรเจสติน (Progestin) เป็นวิธีคุมกำเนิดระหว่างให้นมบุตรที่แนะนำกันมากที่สุด เนื่องจากไม่ค่อยมีผลกระทบต่อน้ำนม การคุมกำเนิดวิธีนี้ จะทำให้เมือกมดลูกมีความเหนียวข้นจนอสุจิไม่สามารถผ่านเข้าไปถึงไข่ได้ และช่วยป้องกันไม่ให้ไข่ถูกปล่อยออกจากรังไข่ มีให้เลือกใช้ทั้งวิธีรับประทาน แบบห่วงอนามัย และแบบห่วงช่องคลอด
  • การคุมกำเนิดตามธรรมชาติด้วยการให้นม (Lactational Amenorrhea Method (LAM)) : LAM คือวิธียับยั้งการตกไข่ตามธรรมชาติ โดยใช้หลักการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนที่เกิดขึ้นระหว่างที่ให้นมบุตร มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าวิธีนี้จะมีประสิทธิภาพมากกว่า 98% ในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด แต่ถ้าคุณไม่ได้ให้นมบุตรด้วยตัวเอง ก็ต้องคอยนวดหรือปั๊มเต้านมของตนเองให้เหมือนกับกำลังให้น้ำนมลูกทางเต้า
  • การใช้ห่วงคุมกำเนิดทองแดง (Copper Intrauterine Devices (IUD)): IUD ชนิดทองแดงเป็นอุปกรณ์ที่สอดเข้าไปยังช่องคลอดโดยผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ โดยอุปกรณ์ประกอบไปด้วยลวดทองแดงที่จะเข้าไปรบกวนความสามารถในการเข้าถึงท่อนำไข่ของอสุจิซึ่งเป็นการป้องกันการปฏิสนธิ แม้อสุจิสามารถว่ายผ่านไปได้ IUD ก็จะป้องกันไม่ให้เอ็มบริโอ (Embryo) ฝังตัวได้ IUD ประเภทนี้อาจทำให้ผู้หญิงบางรายมีเลือดออกและปวดท้องน้อยได้ แต่ข้อดีคือสามารถคงอยู่ในร่างกายและทำงานตามปกติได้หลายปี นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นวิธีคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินได้หากมีการใช้อุปกรณ์ภายหลังการมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่ที่ไม่ป้องกันภายใน 5 วัน
  • การคุมกำเนินด้วยสิ่งกีดขวาง (Barrier Methods): วิธีการนี้จะป้องกันไม่ให้อสุจิไหลเข้าไปในมดลูก ซึ่งมีทั้งการใช้ถุงยางอนามัย การใส่ฝาครอบปากมดลูก (Cervical Cap) และการใช้สารฆ่าอสุจิ (Spermicidal Foam, Sponges and Film) โดยอุปกรณ์กีดขวางทั้งหมดนี้จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้มากขึ้น หากใช้ร่วมกับสารฆ่าอสุจิ
  • การคุมกำเนิดฉุกเฉิน (Emergency Contraception) : วิธีนี้ใช้ Levonorgestrel หรือ Progestin-only ECP ที่จัดว่ามีความปลอดภัยหากต้องใช้อย่างต่อเนื่องขณะที่ให้นมบุตรอยู่ โดยวิธีคุมกำเนิดฉุกเฉิน จะต้องดำเนินการภายใน 3-5 วันหลังมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่โดยไม่ป้องกัน หรือการคุมกำเนิดที่ไม่ได้ผล
  • การทำหมัน (Surgical Sterilization): การทำหมันในผู้หญิงหมายถึงกระบวนการผูกท่อนำไข่ (Tubal Ligation) ซึ่งจะมีการตัดและเย็บเพื่อปิดช่องทางไม่ให้ไข่ออกมาจากรังไข่ สำหรับครอบครัวที่ต้องการมีบุตรเพียงคนเดียว แพทย์มักจะแนะนำให้มีการทำหมันด้วยการการผูกท่อนำไข่ภายหลังจากการคลอดบุตรเลย

ผู้ชายก็สามารถเข้ารับการผ่าตัดประเภทนี้ได้เช่นกัน โดยจะเรียกว่าการทำหมันชาย (Vasectomy) ซึ่งจะเป็นการตัดและเย็บท่อ Vas Deferens ภายในอัณฑะ เพื่อป้องกันไม่ให้อสุจิเคลื่อนตัวออกมาพร้อมน้ำเชื้อ (เป็นการป้องกันไม่ให้มีอสุจิออกมาปะปนกับน้ำเชื้อ แต่ปริมาณน้ำเชื้อยังมีเท่าเดิม)

ที่มาของข้อมูล

Barbara Santen, Postpartum: Sex, fertility, and contraception (https://helloclue.com/articles/life-stages/postpartum-sex-fertility-and-contraception), 30 มกราคม 2017.


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sex and contraception after birth. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/sex-contraception-after-birth/)
Sex after pregnancy: When can it continue?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/308480)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม