กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โบกมือลา Serratiopeptidase

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ธ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
โบกมือลา Serratiopeptidase

Serratiopeptidase (เซอร์ราทิโอเพพทิเดส) หรือที่หลาย ๆ คนอาจคุ้นหูในชื่อการค้าว่า DANZEN (แดนเซ่น) เป็นยาในกลุ่มเอ็นไซม์ย่อยโปรตีน (Proteolytic enzyme) จึงนำมาใช้ลดอาการบวม (Anti-inflammatory) ที่เชื่อกันว่าเกิดจากการคั่งของน้ำและโปรตีนในบริเวณที่มีการอักเสบ

อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาศึกษาวิจัยยาเซอร์ราทิโอเพพทิเดสเปรียบเทียบกับยาหลอกที่ชี้ว่า ยาอาจไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาตามข้อบ่งใช้ จึงทำให้ถูกจัดว่าเป็น “ยาฟุ่มเฟือย” ที่แม้จะยังนิยมใช้กันตามความเชื่อเดิม ๆ แต่ถ้าไม่มี ก็ไม่กระทบต่อผลการรักษาใด ๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

และแม้ว่าจะไม่พบปัญหาด้านความปลอดภัยที่แน่ชัด แต่เนื่องจากไม่มีหลักฐานทางวิชาการเพียงพอที่จะสนับสนุนด้านประสิทธิผล บริษัททาเคดา ประเทศญี่ปุ่น ผู้ผลิตแดนเซ่น ซึ่งเป็นยาต้นแบบ (Original drugs) ของเซอร์ราทิโอเพพทิเดส จึงได้เรียกคืนยาจากท้องตลาดก่อนที่จะยกเลิกการจำหน่ายไปในที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2557

แม้จะไม่มีแดนเซ่นอีกแล้ว ในประเทศไทยก็ยังมีเซอร์ราทิโอเพพทิเดสที่เป็นยาสามัญ (Generic drugs) อีกหลายชื่อการค้าให้เลือกใช้และชวนให้กังขาเรื่อยมาว่า ในเมื่อ “ตัวแม่” เอ๊ย! ยาต้นตำรับยังพิสูจน์ไม่ได้ว่ามีประโยชน์ แล้วทำไมไม่ยกเลิกการขึ้นทะเบียนยานี้ไปให้สิ้นเรื่องสิ้นราวไปเลย แต่กลับรอให้บริษัทผู้ผลิตทั้งหลายได้ทำใจ เอ๊ย! สมัครใจโดยพร้อมเพรียงกันก่อน?!?

มาแล้วยังดีกว่ามาช้า มาช้ายังดีกว่าไม่มา

ในที่สุด หลังจากผ่านมานานกว่า 4 ปี คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก็มีการเรียกคืนยาเซอร์ราทิโอเพพทิเดสในท้องตลาด และยกเลิกทะเบียนตำรับยานี้ (ซะทีจ้า...) ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2561 ด้วยคำชี้แจงว่า “เนื่องจากยาดังกล่าวขาดหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนด้านประสิทธิผล และเพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้บริโภค” (ซึ้งซะไม่มี! ฮ่า...)

เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้เรา ๆ ท่าน ๆ ก็จะไม่เห็นยาลดบวมเซอร์ราทิโอเพพทิเดสวางจำหน่ายกันแล้วนะคะ แต่ผู้ที่ยังต้องการใช้ยาในกลุ่ม Proteolytic enzyme ก็ไม่ต้องกังวล เพราะยังมียาลดบวมตัวอื่นที่ยังคงขึ้นทะเบียนอยู่ให้เลือกใช้แทนได้สบายมาก (ฮ่า) ซึ่งจะเข้าอีหรอบเดิมกับแดนเซ่น และคายโมรอล (CHYMORAL) ยาลดบวมในกลุ่มเอนไซม์ย่อยโปรตีนที่ถูกถอนทะเบียนตำรับยาไปก่อนหน้านั้นนานมากด้วยเหตุผลเดียวกันหรือไม่ ก็ต้องรอดูต่อไป แต่ไม่ต้องลุ้นด้วยใจระทึกนะคะ เพราะน่าจะอีกนานพอดู กลัวว่าจะระทึกจนเหนื่อยอ่อนไปซะก่อนน่ะค่ะ (ฮ่า)


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Serratiopeptidase – A Cause for Spread of Infection. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5028551/)
Serrapeptase: Benefits, Dosage, Dangers, and Side Effects. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/serrapeptase)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป