กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ช่องคลอดหลวม รักษาได้ด้วยการทำรีแพร์

การทำรีแพร์ คืออะไร อาการแบบใดบ้างที่ควรเข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้ วิธีเตรียมตัวก่อนทำ และวิธีดูแลรักษาแผลหลังทำ
เผยแพร่ครั้งแรก 9 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 6 ธ.ค. 2022 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ช่องคลอดหลวม รักษาได้ด้วยการทำรีแพร์

การทำรีแพร์ (Repair) คือการผ่าตัดซ่อมแซมช่องคลอด ด้วยการตกแต่งเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อในช่องคลอดที่มีความหย่อนยานจากการคลอดบุตร หรือจากภาวะบางอย่างให้กลับมากระชับดังเดิม ซึ่งการผ่าตัดชนิดนี้ช่วยรักษาอาการปัสสาวะเล็ดได้ด้วย

ทำรีแพร์ มีวิธีไหนบ้าง?

การทำรีแพร์ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือการผ่าตัด และการทำเลเซอร์ แต่ละวิธีมีรายละเอียดดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

1. การทำรีแพร์ด้วยการผ่าตัด

จะเป็นการผ่าเข้าไปตามแนวลึกของช่องคลอด ในบางรายอาจต้องผ่าตัดบริเวณเนื้อเยื่อและผิวหนังบริเวณปากช่องคลอดร่วมด้วยเพื่อให้มีการหดรัดที่ดีกว่าเดิม

การผ่าตัดจะเริ่มจากการวางยาสลบแก่ผู้ป่วย จากนั้นแพทย์จะกรีดเปิดแผลจากปากช่องคลอดไปตามแนวผนังช่องคลอดด้านหลัง แล้วตกแต่งซ่อมแซมเนื้อเยื่อด้วยวัสดุต่างๆ เพื่อให้ขนาดของช่องคลอดเล็กลงและกระชับกว่าเดิม 

บางรายที่มีภาวะช่องคลอดหย่อนยานมาก แพทย์อาจใช้แผ่นตาข่ายใยสังเคราะห์มาช่วยเสริมความแข็งแรง และช่วยป้องกันไม่ให้ผนังช่องคลอดด้านหน้าหย่อนลงมา

การทำรีแพร์ด้วยการผ่าตัด สามารถแบ่งได้อีก 2 ประเภท คือ

  1. การซ่อมแซมเฉพาะส่วนล่างของช่องคลอด ด้วยการตัดผนังช่องคลอดส่วนที่หย่อนลงมาออกไป แล้วเย็บเข้าหากันเพื่อให้มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลง

    วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาช่องคลอดหย่อนยานไม่รุนแรง รวมถึงผู้ที่ช่องคลอดกว้าง ซึ่งอาจเกิดจากการคลอดบุตร
  2. ทำรีแพร์แบบผ่าตัดใหญ่ เป็นการผ่าตัดซ่อมแซมผนังช่องคลอดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาปัสสาวะเล็ด หรือมดลูกหย่อนที่มีอาการรุนแรง เช่น มีก้อนตุงที่ปากช่องคลอด เป็นต้น

ปัจจุบันมักไม่ค่อยมีการทำรีแพร์ด้วยการผ่าตัดแล้ว เว้นแต่ผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะเล็ดรุนแรง หรือผู้ที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น เนื่องจากการทำรีแพร์ด้วยการผ่าตัดมักจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บแผลหลังผ่าตัดหลายวัน และต้องใช้เวลาพักฟื้นค่อนข้างนาน

นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ การตกเลือดหรือเสียเลือดมาก หากแพทย์ไม่ชำนาญ อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดระหว่างผ่าตัดจนทำให้รู้สึกเจ็บเมื่อมีเพศสัมพันธ์ และที่รุนแรงสุด คืออวัยวะเพศผิดรูปร่างไปจากเดิม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. การทำรีแพร์ด้วยเลเซอร์

เป็นการนำเครื่องยิงเลเซอร์ขนาดเล็กใส่เข้าไปในช่องคลอด จากนั้นก็จะยิงเลเซอร์ตามระยะเวลาที่แพทย์ได้วางแผนไว้ ซึ่งส่วนมากจะใช้เวลาประมาณ 15-20 นาทีในการรักษาแต่ละครั้ง

เมื่อยิงเลเซอร์เข้าไปแล้ว ความร้อนที่ได้จากเลเซอร์จะไปกระตุ้นให้คอลลาเจนที่อยู่ตามเนื้อเยื่อช่องคลอดเกิดการหดตัวลง ขณะเดียวกันก็จะไปกระตุ้นให้เนื้อเยื่อสร้างคอลลาเจนและสารอีลาสติกใหม่ ซึ่งจะทำให้ภายในช่องคลอดหนาตัวขึ้นกว่าเดิม ผลที่ได้คือภายในช่องคลอดมีความแข็งแรง และกระชับเหมือนที่เคยเป็น

อย่างไรก็ตาม การทำรีแพร์ด้วยเลเซอร์อาจจะไม่ได้ให้ผลลัพธ์เท่าการผ่าตัดที่มีการเย็บและซ่อมแซมเนื้อเยื่อไปเลย เพราะการยิงเลเซอร์เป็นการตุ้นให้กล้ามเนื้อหดตัว จึงดูเหมือนกระชับขึ้นภายในระยะเวลาสั้นๆ และยังมีราคาค่อนข้างสูงอีกด้วย

อาการทั่วไปของผู้ที่มีภาวะช่องคลอดหย่อนยาน

อาการที่แสดงให้เห็นว่าช่องคลอดหย่อนยาน มีดังนี้

  • ขณะที่มีเพศสัมพันธ์ จะมีเสียงคล้ายเสียงผายลมออกมาจากช่องคลอด ซึ่งเกิดจากการหย่อนยานของช่องคลอด หากมีอาการรุนแรงอาจพบเสียงดังกล่าวเวลาพลิกตัวตะแคงข้างด้วย
  • ความสุขในเรื่องเพศสัมพันธ์ลดลง หรือยากที่จะถึงจุดสุดยอด
  • ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะและผายลมได้ เมื่อไอ จาม หรือกระโดดอาจพบอาการปัสสาวะเล็ด
  • มีก้อนเนื้อตุงที่ปากช่องคลอด หรือยื่นพ้นปากช่องคลอดที่ไม่ใช่ริดสีดวง ซึ่งเกิดจากผนังช่องคลอดด้านหลังอ่อนแอจึงทำให้มีเนื้อเยื่อหย่อนลงมา
  • มีอาการท้องผูกเป็นเวลานาน หรือท้องผูกเรื้อรัง

สาเหตุของการมีภาวะช่องคลอดหย่อนยาน

ภาวะช่องคลอดหย่อนยานอาจเกิดได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • มีเพศสัมพันธ์บ่อยและใช้เวลานานในแต่ละครั้งติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี
  • การคลอดบุตรด้วยวิธีธรรมชาติ โดยเฉพาะการคลอดบุตรหลายคน การคลอดบุตรที่มีน้ำหนักตัวแรกเกิดมากกว่า 3,500 กรัมขึ้นไป และการคลอดบุตรยากที่ต้องอาศัยเครื่องดูดสูญญากาศหรือใช้คีมช่วยคลอด
  • มีอายุมากขึ้น หรือเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยทอง
  • มีน้ำหนักตัวน้อย หรือมีน้ำหนักตัวมากเกินไป
  • ทำงานประจำที่ต้องเกร็งช่องท้องบ่อย เช่น ยกของหนัก
  • มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น ท้องผูกรุนแรง หรือเป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการไอรุนแรง จึงทำให้แรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น
  • มีภาวะทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ ทำให้มีปัญหากับการปัสสาวะ

แม้จะไม่เคยผ่านการมีบุตร หรือเคยคลอดบุตรด้วยการผ่าคลอด ก็อาจเกิดภาวะช่องคลอดหย่อนยานได้ หากมีปัจจัยดังที่กล่าวมาข้างต้น

วิธีเตรียมตัวก่อนเข้ารับการทำรีแพร์

ก่อนการทำรีแพร์ คุณควรเตรียมตัวตามหลักต่อไปนี้เพื่อให้การผ่าตัดหรือเลเซอร์ได้ผลดีและลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ

  • ไม่ควรเข้ารับการทำรีแพร์ในช่วงเวลา 7 วัน ก่อนและหลังมีประจำเดือน เพราะอาจมีการปนเปื้อนและทำให้แผลเกิดการติดเชื้อได้
  • ผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด ต้องงดน้ำและอาหารทุกชนิดก่อนเข้ารับการผ่าตัดเป็นเวลาอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
  • งดใช้ยาทุกชนิดก่อนเข้ารับการรักษา โดยเฉพาะยาที่มีผลต่อเลือด เช่น แอสไพริน
  • หากมีโรคประจำตัว หรือแพ้อาหาร ต้องแจ้งแพทย์ทุกครั้งก่อนทำการรักษา

การดูแลตัวเองหลังการทำรีแพร์

เพื่อให้การทำรีแพร์ได้ผลดี และปลอดภัยต่อสุขภาพ คุณควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • งดมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 45 วัน หรือจนกว่าจะมั่นใจว่าแผลหายสนิท
  • หลังการรักษาอาจพบเลือดซึมออกจากแผลบ้าง สามารถใส่ผ้าอนามัยให้ดูดซับเลือดจนกว่าเลือดจะหยุดไหลได้
  • ภายใน 3-5 วันแรงหลังการรักษา ผู้ป่วยอาจรู้สึกตึงแผล จึงอาจทำให้ปวดหน่วงๆ ที่ก้นคล้ายปวดอุจจาระ สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ตามปกติ เมื่อเวลาผ่านไปอาการปวดจะค่อยๆ ดีขึ้น
  • พยายามเคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด ระหว่างนี้ให้หลีกเลี่ยงการยกของหนัก และเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อป้องกันแผลแตก
  • งดสูบบุหรี่ และงดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 1 เดือนหลังผ่าตัด
  • หลังอาบน้ำทุกครั้ง ควรทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศให้แห้งสนิท เพื่อป้องกันการอับชื้นการและการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • หากพบอาการผิดปกติ เช่น รอบบาดแผลบวมแดง ช้ำเขียว หรือปัสสาวะไม่ออก ให้รีบกลับมาพบแพทย์ทันที

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว เลเซอร์กระชับช่องคลอด (รีแพร์ด้วยเลเซอร์) ที่ The Skin Clinic | HDmall


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
โรงพยาบาลยันฮี, รีแพร์ กระชับช่องคลอด คืนความมั่นใจให้ผู้หญิง (https://th.yanhee.net/หัตถการ/รีแพร์/), 2019
โรงพยาบาลบางปะกอก 8, เลเซอร์กระชับช่องคลอด (http://www.bangpakok8.com/package/content/lady_program), 2015
ชัยเลิศ พงษ์นริศร, การผ่าตัดรีแพร์หรือซ่อมเสริมผนังช่องคลอดด้านหลังและฝีเย็บ (http://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=956:2014-03-10-15-38-45&catid=124:patient-education&Itemid=1003), 31 พฤษภาคม 2014

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการคันและแสบในช่องคลอดไม่ใช่เรื่องปกติ
อาการคันและแสบในช่องคลอดไม่ใช่เรื่องปกติ

จุดซ่อนเร้นคือจุดสำคัญ ขอให้หมั่นสังเกตเพื่อแก้ไขก่อนที่อาการจะรุนแรงและยากต่อการรักษา

อ่านเพิ่ม