อ. ทพญ. พฤษพร เกียรติ์เกริกไกร ทันตแพทย์ชำนาญการ
เขียนโดย
อ. ทพญ. พฤษพร เกียรติ์เกริกไกร ทันตแพทย์ชำนาญการ
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ถอนฟันคุด ผ่าฟันคุด เป็นอย่างไร? ตอบทุกข้อสงสัยจากทันตแพทย์

รวมคำตอบเกี่ยวกับฟันคุด เกิดได้อย่างไร การผ่าตัดหรือถอน แผลกี่วันหาย
เผยแพร่ครั้งแรก 10 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 20 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ถอนฟันคุด ผ่าฟันคุด เป็นอย่างไร? ตอบทุกข้อสงสัยจากทันตแพทย์

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ฟันคุด เป็นฟันซี่ที่ขึ้นพ้นเหงือก หรืออยู่ใต้เหงือกในลักษณะผิดปกติ มักทำให้เกิดปัญหาฟันเก ล้ม หรือเอียงตามมา รวมถึงปัญหาฟันผุที่ซี่ฟันคุดเอง รวมถึงฟันซี่ที่อยู่ข้างเคียงด้วย
  • ฟันซี่ที่มักเกิดเป็นฟันคุด คือ ฟันกรามซี่ที่ 3 โดยวิธีตรวจหาฟันคุดจะเป็นการตรวจฟัน ร่วมกับการเอกซเรย์หาฟันคุดที่อยู่ใต้เหงือก
  • การผ่าฟันคุดซี่บน และซี่ล่างจะมีกระบวนการพื้นฐานเหมือนกัน คือ การเปิดแผ่นเหงือก การกรอกระดูกที่คลุมฟันอออก การกรอตัดแบ่งฟัน การเอาฟันที่กรอตัดออกจากกระดูกเบ้าฟัน การเย็บปิดแผล แต่ความง่ายต่อการถอนจะเป็นฟันซี่บน เพราะมีความยืดหยุ่นมากกว่า
  • การดูแลตนเองโดยหลักๆ หลังจากผ่าฟันคุด คือ กัดผ้าก๊อซให้แน่นเพื่อห้ามเลือด งดการแตะ แคะ หรือกดแผล แปรงฟันบริเวณแผลเบาๆ รับประทานาอาหารที่เคี้ยวง่าย เนื้อนิ่ม ไม่ร้อนเกินไป ประคบอุ่นเมื่อมีอาการบวมหลังจากผ่าตัดไปแล้วประมาณ 48 ชั่วโมง
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจถอน และผ่าฟันคุด

เมื่อเกิดปัญหาฟันคุด หรือฟันที่ไม่งอกพ้นเหงือกบริเวณขากรรไกร หลายคนจึงต้องเผชิญกับอาการเจ็บปวดเหงือกบริเวณดังกล่าวจนต้องเข้ารับการถอน หรือผ่าฟันคุดเพื่อกำจัดฟันซี่นั้นๆ 

โดนการผ่า หรือถอนฟันคุดของผู้เข้ารับบริการแต่ละราย ทางทันตแพทย์จะใช้วิธีการที่แตกต่างกันไป รวมถึงระยะเวลาในการทำด้วย ขึ้นอยู่กับลักษณะฟันที่งอก หรืออยู่ใต้เหงือก 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ถอนหรือผ่าฟันคุดวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 594 บาท ลดสูงสุด 67%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ต้องถอน หรือผ่าฟันคุดส่วนมากมักต้องเผชิญกับอาการเจ็บปวดแผล แก้มบวม เคี้ยวอาหารไม่ได้ และต้องทุกข์ทรมานจากการผ่า หรือถอนฟันคุดไปอีกเกือบ 1 สัปดาห์เต็มๆ

เราจึงควรรู้วิธีดูแลตนเองหลังผ่าฟันคุดว่า เป็นอย่างไร แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ฟันที่ขึ้นในช่องปากเป็นฟันคุด หรือฟันปกติกันแน่ 

ความหมายของฟันคุด

ฟันคุด (Wisdom teeth) เป็นฟันที่โผล่พ้นเหงือกมาในลักษณะผิดปกติ ทำให้เกิดปัญหาฟันเก ล้ม หรือเอียง หรือฟันไม่โผล่พ้นเหงือกขึ้นมาตามการเรียงตัวแบบฟันซี่อื่นๆ

สาเหตุของการเกิดฟันคุด สันนิษฐานว่า ในอดีต มนุษย์สมัยโบราณนั้นมีกระดูกขากรรไกรที่ใหญ่ ทำให้เมื่อฟันขึ้นก็จะขึ้นเต็มขนาด และความยาวของเหงือกไปจนถึงบริเวณกระดูกขากรรไกรด้านใน และไม่มีฟันคุดเกิดขึ้น

จนกระทั่งวิวัฒนการการเจริญเติบโตของร่างกายมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลง รูปร่าง ขนาด และส่วนสูงของมนุษย์ค่อยๆ เล็กลง กระดูกขากรรไกรจึงมีขนาดเล็กลงตามขนาดตัวของมนุษย์ด้วย ในขณะจำนวนซี่ และขนาดของฟันยังเท่าเดิม

ดังนั้นขนาดกระดูกขากรรไกรจึงไม่พอดีกับซี่ฟันที่ขึ้นมาพ้นเหงือก และทำให้ฟันไม่สามารถขึ้นเรียงตัวได้พอดีกับความยาวรวมถึงขนาดของมัน (Long axis) จึงทำให้เกิดฟันคุดขึ้นมา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ถอนหรือผ่าฟันคุดวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 594 บาท ลดสูงสุด 67%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ฟันซี่ที่มักกลายเป็นฟันคุดในภายหลัง

โดยฟันซี่ที่เกิดฟันคุดได้ มักเป็นฟันกรามซี่ที่ 3 ซึ่งจะขึ้นในช่วงอายุประมาณ 17-21 ปี จัดเป็นฟันกรามซี่สุดท้ายที่จะขึ้นบริเวณปลายแถวของเหงือก และอยู่บริเวณกระดูกขากรรไกรพอดี

ลักษณะของฟันคุดที่เห็นจากภายนอกจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับลักษณะการเอียงล้ม และความยาวของฟันที่ผิดปกติ บางรายอาจเห็นเนื้อฟันโผล่ขึ้นมาจากเหงือกเป็นพื้นที่เล็กๆ บางรายจะเห็นเป็นเพียงเหงือกแดงเข้มบริเวณที่ฟันคุดอยู่ใต้เหงือก หรือบางรายก็อาจเห็นฟันคุดโผล่ขึ้นมาทั้งซี่ก็ได้

อาการแสดงเมื่อเกิดฟันคุด

หากฟันคุดไม่ได้ไปดัน หรือล้มเอียงเบียดฟันซี่ข้างๆ รวมถึงไม่ได้มีเศษอาหารเข้าไปสะสมจนเกิดปัญหาฟันผุ ผู้ที่มีฟันคุดก็จะไม่ได้รู้สึกถึงความผิดปกติอะไร

แต่หากฟันคุดไปเบียดฟันซี่ข้างๆ เกิดการอักเสบ และผุ ผู้ที่มีฟันคุดก็มักจะมีอาการคันเหงือก ปวดเจ็บบริเวณที่ฟันคุดขึ้น มีอาการฟันผุที่ฟันคุด และฟันซี่ข้างๆ

จะรู้ได้อย่างไรว่าต้องผ่าฟันคุด?

เพราะฟันคุดอาจซ่อน หรือล้มเอียงอยู่ใต้เหงือก ทำให้ยากต่อการเห็นจากภายนอก ทันตแพทย์มักแนะนำให้ผู้เข้ารับการตรวจฟันทุกรายเอกซเรย์ช่องปากด้วย เพื่อหาฟันคุดที่ซ่อนตัวอยู่ใต้เหงือก 

หากพบฟันคุดที่มีลักษณะล้ม เก เอียง หรือมีแนวโน้มจะล้มเบียดฟันข้างเคียงในอนาคต ทันตแพทย์ก็มักแนะนำให้ผ่าฟันคุดออกเสีย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ถอนหรือผ่าฟันคุดวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 594 บาท ลดสูงสุด 67%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความแตกต่างระหว่างการผ่าฟันคุดบน หรือล่าง

ขั้นตอนการผ่าฟันคุดไม่ว่าจะซี่บน หรือซี่ล่างนั้น โดยพื้นฐานจะมีวิธีการเหมือนกัน ได้แก่

  • การเปิดแผ่นเหงือก
  • การกรอกระดูกที่คลุมฟันอออก
  • การกรอตัดแบ่งฟัน
  • การเอาฟันที่กรอตัดออกจากกระดูกเบ้าฟัน
  • การเย็บปิดแผล

ส่วนความแตกต่างของการผ่าฟันคุดซี่บน หรือซี่ล่าง คือ

  • ความยืดหยุ่น และรูพรุนของขากรรไกร ซึ่งขากรรไกรส่วนบนจะมีความยืดหยุ่น และมีรูพรุนมากกว่า รวมถึงแข็งแรงน้อยกว่า ทำให้ฟันคุดซี่บนสามารถถอน และผ่าง่ายกว่าฟันคุดซี่ล่าง
  • ทางเข้าเครื่องมือ การใช้แสงส่องระหว่างผ่าตัด หรือเรียกง่ายๆ ก็คือ ความง่ายในการใช้เครื่องมือช่วยประกอบการผ่าฟันคุด ซึ่งในส่วนนี้ฟันซี่ล่างจะทำได้ง่ายกว่าฟันซี่บน

ข้อปฏิบัติหลังการผ่า และถอนฟันคุด

หลังจากถอนฟันคุดเสร็จเรียบร้อยแล้ว คุณควรทำตามคำแนะนำต่อไปนี้เพื่อดูแลแผลจากการผ่าให้อยู่ในสภาพดี ไม่เสี่ยงติดเชื้อ และฟื้นตัวเร็วขึ้น

  1. หลังจากผ่าฟันคุดเสร็จ ทันตแพทย์จะให้กัดผ้าก๊อซเพื่อห้ามเลือดบริเวณแผล โดยให้กัดให้แน่น อย่าเคี้ยว หรือพูดในระหว่างกัดผ้า เพื่อให้เลือดหยุดไหลภายใน 1 ชั่วโมงหลังการผ่า และคุณอาจมีลิ่มเลือดปนออกมากับน้ำลายหลังจากผ่าตัดแล้ว 24 ชั่วโมงซึ่งเป็นเรื่องปกติ
  2. ห้ามบ้วนน้ำ ไม่ว่าจะน้ำลาย หรือบ้วนน้ำล้างปากตลอดวันที่ผ่าตัด หากมีน้ำลาย หรือเลือดในปาก ให้กลืนลงไป
  3. หากกัดผ้าก๊อซครบ 2 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด ให้คายผ้าก๊อซทิ้ง หากยังมีเลือดสดไหลอยู่ ให้กัดผ้าก๊อซแผ่นใหม่ไปอีก 1 ชั่วโมง โดยก่อนใส่ผ้าก๊อซแผ่นใหม่ จะต้องล้างมือให้สะอาดต้องจับผ้าก๊อซ
  4. รับประทานยาที่แพทย์จ่ายให้อย่างเคร่งครัด เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด
  5. ในวันต่อมาหลังจากผ่าตัด ให้บ้วนปากหลังจากรับประทานอาหารด้วยน้ำเกลือ
  6. หากยังมีเลือดไหลภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่า ห้ามอมน้ำแข็งในปากเด็ดขาด แต่ให้ใช้เจล หรือน้ำแข็งประคบที่แก้ม หรือบริเวณขากรรไกรที่ตรงกับบริเวณที่ผ่าฟันคุดแทน
  7. เมื่อผ่านไป 48 ชั่วโมงหลังจากผ่าตัด หรือถอนฟันคุดแล้ว ให้เปลี่ยนจากประคบเย็น เป็นประคบอุ่นแทน เพื่อลดอาการบวม และรอยช้ำที่พบได้เป็นปกติหลังผ่า หรือถอนฟันคุด แต่โดยทั่วไปในวันที่ 3-4 อาการบวมก็จะลดลง
  8. ห้ามแตะ แคะ กด หรือเอาลิ้นดุนที่แผลผ่าตัดเด็ดขาด
  9. อย่าเพิ่งออกกำลังกายหนัก แต่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
  10. งดสูบบุหรี่ บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารรสเผ็ด รสจัดอย่างน้อย 1 สัปดาห์
  11. ในวันแรกๆ หลังจากผ่าตัด ควรรับประทานอาหารประเภทของเหลว เคี้ยวง่าย และไม่ร้อนเกินไป เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ต้มเลือดหมู
  12. สามารถแปรงฟันได้ตามปกติในวันต่อมาหลังจากผ่าฟันคุด แต่ให้แปรงเบาๆ ด้วยแปรงผิวนุ่มบริเวณที่เป็นแผลผ่าตัด และห้ามใช้แปรงแคะ แกะ หรือเขี่ยแผลเด็ดขาด
  13. หากใช้ไหมไม่ละลายในการเย็บแผล ต้องกลับไปให้ทันตแพทย์ตัดไหมให้ภายหลังผ่าตัด 7-10 วัน

และอีกสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือ คุณยังต้องไปเข้ารับการตรวจสุขภาพฟันทุกๆ 6 เดือนด้วย เพื่อให้แน่ใจว่า สุขภาพฟันยังคงเป็นปกติ รวมถึงเข้ารับการขูดหินปูนเพื่อป้องกันฟันผุ และเพื่อตรวจว่า มีฟันคุดซี่อื่นๆ ขึ้นอีกหรือไม่

แผลผ่าฟันคุดต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหาย?

การผ่าตัดฟันคุดเป็นกระบวนการผ่าตัดเกี่ยวกับกระดูก และมีการผ่าเหงือกเกิดขึ้น จึงทำให้มีอาการช้ำ บวม และเจ็บปวดแผลได้เป็นปกติ

โดยหลังจากผ่าตัด 3-5 ชั่วโมงหลังจากผ่าตัด เมื่อยาชาหมดฤทธิ์ ผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกปวดเจ็บแผลขึ้น แต่ก็สามารถบรรเทาได้ด้วยการประคบเย็น และรับประทานยาที่สั่งจ่ายโดยทันตแพทย์

หลังจากนั้นในวันที่ 1-3 หลังจากผ่าฟันคุด อาการปวดจะค่อยๆ ทุเลาลง แต่อาจยังมีอาการแก้มบวมเกิดขึ้น และจะค่อยๆ ยุบตัวลงภายใน 1 สัปดาห์

แต่หากหลังวันที่ 3 ผู้ที่ผ่าฟันคุดยังมีอาการเจ็บปวดแผลอยู่ หรือความรุนแรงของอาการมีมากกว่าเดิม นั่นอาจเป็นสัญญาณของอาการกระดูกเบ้าฟันอักเสบ หรืออาการแทรกซ้อนอื่นๆ ซึ่งต้องรีบกลับไปพบทันตแพทย์เพื่อรักษาโดยทันที

ส่วนเหงือกที่ถูกกรีดเปิดเพื่อผ่าเอาฟันคุดออกนั้น แผลจะเริ่มปิดหลังจากผ่านไปประมาณ 5 วัน - 2 สัปดาห์หลังจากผ่า หรือถอนฟันคุด และจะปิดสนิทภายใน 1 เดือนหลังจากนั้น

ปัญหาฟันคุดเป็นปัญหาที่หากพบแล้ว ก็ควรรีบปรึกษาทันตแพทย์เกี่ยวกับวิธีกำจัดฟันซี่นี้ออก เพราะฟันคุดสามารถส่งผลกระทบต่อฟันข้างเคียงทำให้เกิดความเสียหายตามมาได้ด้วย และยังทำให้เกิดอาการเจ็บปวดเหงือกมากในระหว่างที่ฟันซี่นี้ยังอยู่ในช่องปากของคุณ

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจถอน หรือผ่าฟันคุด
จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

ผ่าฟันคุด


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ถอนฟันคุดดีไหม ไม่ผ่าฟันคุดได้ไหม?, (https://hdmall.co.th/c/wisdom-tooth-removal).
ผ่าฟันคุดเจ็บไหม? ฟันคุดแบบไหนถอนได้? ตอบครบทุกข้อมูลโดยทันตแพทย์จาก TDH, (https://hdmall.co.th/c/hdinsight-wisdom-teeth-by-thonglor-dental-hospital).
Susarla SM, Blaeser BF, Magalnick D. Third molar surgery and associated complications. Oral Maxillofac Surg Clin North Am. 2003 May;15(2):177-86

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ผ่าฟันคุด เป็นอย่างไร? คู่มือการผ่าฟันคุดที่ครบถ้วนที่สุด
ผ่าฟันคุด เป็นอย่างไร? คู่มือการผ่าฟันคุดที่ครบถ้วนที่สุด

การถอน หรือผ่าฟันคุด ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด แถมยังป้องกันอาการปวดและลดอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ของฟันข้างเคียงได้

อ่านเพิ่ม
ฟันคุด
ฟันคุด

ต้นเหตุของความเจ็บปวดที่ซ่อนอยู่ใต้เหงือก ยิ่งรู้เร็ว ยิ่งรักษาไว คลายความทรมาน

อ่านเพิ่ม
อยากผ่าฟันคุด ควรไปผ่าที่ไหน? ราคาประมาณเท่าไร การใช้สิทธิประกันสังคม
อยากผ่าฟันคุด ควรไปผ่าที่ไหน? ราคาประมาณเท่าไร การใช้สิทธิประกันสังคม

ไขข้อข้องใจ ถ้าต้องผ่าฟันคุดไปที่ไหนดี ใช้สิทธิ์ประกันสังคมได้หรือไม่ เช็กสิทธิ์ได้ที่ไหน และตัวอย่างราคาค่าผ่าฟันคุดตามโรงพยาบาลต่างๆ

อ่านเพิ่ม