แอลกอฮอล์และโรคหอบหืด สัมพันธ์กันอย่างไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 4 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
แอลกอฮอล์และโรคหอบหืด สัมพันธ์กันอย่างไร?

โรคหอบหืดเป็นโรคที่ทำให้ทางเดินหายใจของเราตีบแคบลง ซึ่งส่งผลต่อการหายใจ ทั้งนี้อาการของคนที่เป็นโรคนี้สามารถเป็นได้ตั้งแต่ระดับเบาไปจนถึงระดับรุนแรง ผู้ป่วยจำเป็นต้องรักษาตัวแบบฉุกเฉินเพื่อให้กลับมาหายใจได้อีกครั้ง อย่างไรก็ดี ตัวกระตุ้นของโรคดังกล่าวนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ตัวอย่างเช่น ความเครียด ฝุ่น สารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้อื่นๆ และบางงานวิจัยพบว่าแอลกอฮอล์ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุเช่นกัน

แอลกอฮอล์และโรคหอบหืด

แอลกอฮอล์มักถูกมองว่าเป็นตัวการ หรือตัวกระตุ้นให้เกิดโรคหอบหืด แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมากพอ อย่างไรก็ดี หนึ่งในงานวิจัยที่ใหญ่ที่สุดที่ถูกเผยแพร่ใน The Journal of Allergy and Clinical Immunology เมื่อปี ค.ศ.2000 โดยให้ผู้ใหญ่มากกว่า 350 คน ตอบคำถามเกี่ยวกับตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ ซึ่งมีการค้นพบดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • 33% ของผู้ตอบคำถามพบว่าแอลกอฮอล์ทำให้โรคหอบหืดกำเริบอย่างน้อย 2 ครั้ง
  • ไวน์เกี่ยวข้องกับอาการแพ้โดยเฉพาะ
  • อาการเริ่มต้นของการเป็นโรคหอบหืดที่สัมพันธ์กับแอลกอฮอล์เกิดขึ้นภายใน 1 ชั่วโมงของการดื่มแอลกอฮอล์
  • คนที่มีอาการหอบหืดส่วนมากรายงานว่าตัวเองมีอาการอยู่ในระดับเบาไปจนถึงปานกลาง

ทั้งนี้นักวิจัยได้มุ่งเน้นไปที่องค์ประกอบ 2 ชนิดในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นตัวการของโรคภูมิแพ้ และสามารถทำให้โรคหอบหืดกำเริบ ซึ่งสารประกอบทั้งสองชนิดนั้นก็คือ ซัลไฟต์และฮีสตามีน

ซัลไฟต์เป็นสารกันเสียที่มักใช้ในการทำไวน์และเบียร์ และอาจนำไปใส่ในอาหารชนิดอื่นๆ เช่นกัน คนที่เป็นโรคหอบหืดมักมีความไวต่อสารดังกล่าว ในขณะที่ฮีสตามีนนั้นจะก่อตัวขึ้นเมื่อแอลกอฮอล์ถูกหมัก ซึ่งเราสามารถพบสารชนิดนี้ได้ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด และมักเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้

 ภาวะแทรกซ้อน

ความเครียดสามารถทำให้เกิดอาการของโรคหอบหืดทางอ้อม บางคนที่รู้สึกเศร้าหรือเครียดอาจหันไปพึ่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งนี้โรคหอบหืดสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากมาย มันสามารถส่งผลต่อความสามารถในการนอนหลับ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย การทำงาน หรือการไปโรงเรียน หากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้อาการเหล่านี้แย่ลง ภาวะแทรกซ้อนและผลของโรคหอบหืดก็จะแย่ลงเช่นกัน

มีเครื่องดื่มบางชนิดที่ปลอดภัยมากกว่าหรือไม่?

หากคนที่เป็นโรคหอบหืดมีแอลกอฮอล์เป็นตัวกระตุ้น การรู้ว่ามีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดใดเป็นตัวกระตุ้นให้อาการกำเริบถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ จากงานวิจัยข้างต้น ไวน์ดูเหมือนเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้มากที่สุด ไวน์ชนิดออร์แกนิกที่ไม่มีการเติมสารกันเสียอาจมีระดับของสารซัลไฟต์ต่ำกว่า ในขณะที่เบียร์ก็มีส่วนผสมของสารดังกล่าวที่สามารถกระตุ้นให้อาการหอบหืดกำเริบได้

ทั้งนี้ปริมาณของแอลกอฮอล์อาจทำให้อาการแย่ลงได้เช่นกัน ไวน์เพียงหนึ่งแก้วอาจไม่ทำให้เกิดอาการใดๆ แต่การดื่มไวน์ 3 แก้ว สามารถทำให้เราได้รับสารซัลไฟต์และฮีสตามีนพอที่จะทำให้เกิดอาการแพ้

ตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคหอบหืด

  • มลพิษในอากาศ สารเคมี ควัน
  • ไรฝุ่น แมลงสาบ เชื้อรา สะเก็ดผิวของสัตว์
  • การออกกำลังกาย
  • ยาบางชนิด เช่น แอสไพริน และอะซีตามิโนเฟน
  • ความเครียด
  • สภาพอากาศแบบสุดโต่ง เช่น ร้อน หรือเย็นเกินไป

อาการ

โรคหอบหืดสามารถมีอาการแบบฉับพลัน หรือมีอาการแบบที่เราไม่ทันสังเกต เช่น การไอเรื้อรังตอนกลางคืน ตัวอย่างของอาการ เช่น แน่นหน้าอก มีอาการไอบางช่วงเวลาของวัน มีปัญหากับการกลั้นหายใจ หายใจมีเสียงฟืดฟาด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม โรคหอบหืดเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งมันจะไม่หายไปแม้ว่าคุณจะทำการรักษาก็ตาม และมักเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การรักษา

การรักษาโรคหอบหืดนั้นจะทำโดยการหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้น และทานยาที่สามารถช่วยบรรเทาอาการ ซึ่งยาที่แพทย์จ่ายให้นั้นจะแบ่งเป็น Short-Acting และ Long-Acting

สำหรับยาแบบ Short-Acting นั้นจะใช้สำหรับบรรเทาอาการทันทีในระหว่างที่อาการหอบหืดกำเริบแบบฉับพลัน ยาประเภทนี้ช่วยเปิดทางเดินหายใจ ทำให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้น ตัวอย่างของยา เช่น Albuterol

ในขณะที่ยาแบบ Long-acting นั้นช่วยลดการอักเสบที่สามารถทำให้เกิดโรคหอบหืด ตัวอย่างของยา เช่น ยาต้านลิวโคไตรอีน ยาโครโมลินโซเดียม สารปรับภูมิคุ้มกันร่างกาย ยาพ่นสเตียรอยด์ ยาขยายหลอดลมชนิด Long-Acting Beta2-Agonists เมทิลแซนทีน

ที่มา: https://www.medicalnewstoday.c...313460.php?sr


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Alcohol and asthma: How does alcohol affect asthma?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/313460)
Alcohol and Airways Function in Health and Disease. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2081157/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)