ข้อแนะนำ ในการใช้ยาสามัญประจำบ้าน

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ข้อแนะนำ ในการใช้ยาสามัญประจำบ้าน

a14.gif ในสภาวการณ์ปัจจุบัน รัฐบาลมีนโยบายได้ขยายพัฒนาการทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ สู่ชุมชนชนบทมากขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชิวิตของประชากรชนบท และให้ทุกคนช่วยตนเองให้มากที่สุด แต่ทุกคนย่อมมีการเจ็บป่วยไม่มากก็น้อย และส่วนใหญ่ทุกคนจะต้องมีการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ก่อนเสมอ กระทรวงสาธารณสุขจึงมีการกำหนดเป้าหมายเป็น “ปีรณรงค์คุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติ” สอดคล้องกันกับเป้าหมายขององค์การอนามัยโลกที่ว่า “ประชาชนจะมีสุขภาพดีถ้วนหน้าในปี 2543” จากการสำรวจตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม ปัจจุบันของคนไทย มีความเคยชินร้อยละ 70 ที่ซื้อยารักษาโรคเองและมียาไว้ประจำบ้าน ก่อนจะไปปรึกษาแพทย์

a14.gif ด้วยเหตุนี้ประชาชนชนบทควรจะได้รับความรู้เรื่องการใช้ยาง่าย ๆ ไว้บ้าง เช่น ยาตำราหลวงซึ่งเป็นยาสามัญประจำบ้าน ยาประเภทนี้เป็นยาที่ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรมและได้จดทะเบียนไว้กับกระทรวงพาณิชย์แล้ว ยาเหล่านี้เป็นยาสามัญประจำบ้านที่ได้รับการยกเว้นให้จำหน่ายได้ โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตขายยา ตามประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เช่น ยาพาราเซตามอล เป็นยาสามัญ 500 มิลลิกรัม และอยู่ในขนาดบรรจุ 10 เม็ด พร้อมมีฉลากที่มีข้อความว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” ยานี้มีจำหน่ายอยู่ตามท้องตลอด ยาสามัญประจำบ้านมี 3 ลักษณะ เช่น เม็ด, ผง, น้ำ, และขี้ผึ้งหรือครีม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีการการเก็บรักษายา

a14.gif ในตู้ยาสำหรับเก็บใส่ยาสามัญประจำบ้านควรจัดให้เป็นระเบียบเพื่อง่ายและสะดวกในการใช้ยา

  • ยาชนิดรับประทาน จะต้องจัดแยกกับยาที่ใช้ทาภายนอก
  • ยาที่ไม่รับประทาน ต้องปิดฉลากด้วยสีอื่น เช่น สีแดง หรือสีชมพู
  • ยาเหล่านี้จะต้องเก็บแยก ห่างจากยาที่เป็นพิษ เช่น ยาฆ่าแมลง เป็นต้น

ตำแหน่งของตู้พยาบาล

  • จัดตั้งไว้ในที่สูงที่เด็กเอื้อมไม่ถึง
  • จัดตั้งไว้ในที่อากาศเย็น ไม่ถูกแสงแดดหรือร้อนจัด และไม่อยู่ในบริเวณชื้นและสะดวกในการจะไปหยิบใช้

ในตู้ยาประจำบ้านควรมีอะไรบ้าง

  1. สำลี สะอาด
  2. ผ้าพันแผล หรือผ้าก๊อซ
  3. ปลาสเตอร์สำหรับปิดยึดผ้าพันแผลม้วน
  4. แอลกอฮอล์ 75%
  5. น้ำยาไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
  6. ปากคีบ
  7. กรรไกร

a14.gif ยาทั้งชนิดน้ำ ชนิดเม็ด ส่วนมากจะมีอายุของตัวยาที่ประกอบในยาแต่ละอย่าง หากเก็บไว้นานเกินไปจนหมดอายุ ก็เป็นยาเสื่อมคุณภาพ จะใช้ในการรักษาโรค หรืออาการของโรคได้ไม่ดี ยาบางชนิดเมื่อหมดอายุ หากรับประทานไปแล้วเกิดโทษได้อีก ยาที่มีอายุของตัวยา ผู้ผลิตจะบอกวันที่หมดอายุ ไว้ที่ซองหรือฉลากกล่องยา ยาที่มีอายุส่วนมากเป็นยาปฏิชีวนะ รักษากำจัดเชื้อโรคในร่างกายจึงไม่จำเป็นซื้อเก็บไว้ในตู้ยานาน ๆ
 


การสังเกตดูการเสื่อมสภาพของยา

ยาชนิดน้ำใส

  • สังเกตจากสีจะเปลี่ยนไปจากสีที่มีอยู่เดิม โดยมากสีจะคล้ำไปจากเดิม
  • น้ำยาจะเริ่มขุ่น และอาจมีตะกอนแขวนลอยอยู่ หรือนอนที่ก้นขวด
  • กร่อนจะมีลักษณะกลิ่นบูดเปรี้ยว รสจะเปลี่ยนไปจากเดิม
  • ยาน้ำชนิดแขวนตะกอน
  • สีจะเปลี่ยนไป
  • ตะกอนทำให้ขุ่นมาก ตะกอนอาจจะแข็งตัวขึ้นเขย่าแล้วไม่แตกเป็นเนื้อเดียวกัน
  • รสและกลิ่นจะเปลี่ยนไป

ยาเม็ดธรรมดา

  • สีจะคล้ำไปจากสีเดิม
  • ยาบางชนิดจะตกผลึกเป็นเกล็ดรูปเข็มเล็ก ๆ เกาะติดเม็ดยา
  • มีกลิ่นน้ำส้มเช่น แอสไพริน ที่ถูกความชื้นจากอากาศ
  • รสจะเปลี่ยนไปบ้างแต่ไม่มากเหมือนยาน้ำ เป็นยาที่ไม่ควรนำไปรับประทาน
  • ยาเม็ดชนิดมีน้ำตาลเคลือบ
  • สีของน้ำตาลเคลือบจะเปลี่ยนซีดลงและยาเม็ดเยิ้ม สีละลายจากที่ถูกความร้อนหรือความชื้นอากาศสีจะด่างซีดไม่เสมอกัน
  • เม็ดอาจจะแตกแยกออก หรือน้ำตาลเคลือบแตกกร่อน
  • รสจะเปลี่ยนไป เนื่องจากน้ำตาลหวานที่เคลือบแตกหลุด ตัวยาจะซึมออกมา

ยาชนิดบรรจุในแคปซูล

  • โดยมากเป็นผงละเอียดอยู่
  • สีภายในยาจะเปลี่ยนไป
  • แคปซูลแตกออกหรือพองออก เพราะยาถูกความชื้นจะชื้นบวมดันแคปซูลพอง
  • กลิ่นและรสจะเปลี่ยนไป เนื่องจากยาแตกหรือซึมออกจากแคปซูล

ยาชนิดขี้ผึ้งหรือครีม

  • สีจะคล้ำไป ยาครีมหรือขี้ผึ้งส่วนมากจะเป็นสีขาวหรือใส จะพบมีจุดด่างดำเกิดขึ้นมีการแยกตัว เช่น น้ำมันอาจจะลอยแยกออกจากกัน ลักษณะจะแข็งขึ้นจากเดิม ทำให้แข็งตัวในหลอดบีบไม่ออกหรืออกยากขึ้น

31 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Prevention, Treatment of Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/about/prevention-treatment.html)
Home treatment for mental health problems: a systematic review. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11532236)
9 home remedies for a toothache. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/320315)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป