กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การใช้ยาสามัญประจำบ้านรับประทาน ในทางที่ถูกต้อง ทำอย่างไร

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การใช้ยาสามัญประจำบ้านรับประทาน ในทางที่ถูกต้อง ทำอย่างไร

มีหลายเรื่องที่ต้องคำนึงก่อนที่เราจะเลือกใช้ยาสามัญประจำบ้าน เพื่อลดเสี่ยงอันตราย และเพื่อสุขภาพของเราเอง

วิธีใช้ยาสามัญประจำบ้านอย่างปลอดภัย 

  1. ยาจะมีฉลากปิดที่ขวด หรือกล่องหรือตลับ ต้องดูแล้วไม่เลอะเลือน หากอ่านไม่ได้ไม่ควรใช้
  2. จะกินยาแต่ละครั้ง ต้องพิจารณาอ่านฉลากยาให้มั่นใจก่อนเสมอ เช่น กินหรือทากินวันละกี่ครั้ง, เวลาใดบ้าง หรือยานั้นให้เคี้ยวหรือกลืนทั้งเม็ด ถ้าเป็นยาน้ำควรเขย่าขวดก่อนเทยา
  3. ปฏิบัติตามคำสั่งที่ปิดอยู่ที่ฉลากให้ถูกต้อง หากผู้ใช้อ่านไม่ออก ควรถามผู้อ่านหนังสือออก ไม่ควรเดา ๆ ตามที่เคยกินหรือรักษาโรคมาก่อน วิธีนี้อาจทำให้ผิดพลาดได้
  4. ยาที่มีอายุสั้น จะบอกเวลาหมดอายุที่ฉลาก ที่ซอง หรือที่กล่อง ต้องสังเกตดูก่อน
  5. ถ้าลืมกินยาไปมื้อหนึ่ง มื้อต่อไปไม่ควรกินมากขึ้นเป็น 2 เท่า ควรกินขนาดเท่าเดิม
  6. ยาบางอย่าง จะมีฉลากเขียนบอกว่ากินวันละกี่ครั้ง หรือเมื่อใด เช่น
    - ยากินก่อนอาหาร จะหมายถึง กินยาก่อนจะกินอาหาร 1/2 – 1 ชั่วโมง
    - ยากินหลังอาหาร จะหมายถึง กินหลังกินอาหารอื่นแล้ประมาณ 15 นาที
    - ยากินก่อนนอน หมายถึง กินเพิ่มอีกมื้อก่อนจะเข้านอน ถ้ามีมื้อหลังอาหารเย็นด้วยก็คงจะกินหลังจากกินครั้งเย็นนี้อีก 4-5 ชั่วโมง ก็จะเป็นการกินก่อนนอน ขนาดยาที่จะกินฉลากจะบอกว่ากินครั้งละ 1 เม็ด หรือ 2 เม็ด หรือครั้งละ 1 ช้อนชาหรือ 1 ช้อนโต๊ะ
  7. ยาบางชนิดจะแบ่งกันรับประทานที่ห่างกันเล็กน้อย ไม่ควรกินครั้งละหลายอย่างปนกัน เพื่อหลีกเลี่ยงฤทธิของยาแต่ละชนิด จะมีปฏิกิริยาระหว่างยาด้วยกัน
  8. หลังรับประทานยาไปแล้ว ควรดื่มน้ำที่สะอาดใสพร้อมกับยา ถ้าเป็นยาน้ำหลังกินยาน้ำแล้ว ควรดื่มน้ำสะอาดตามไปด้วยเพื่อชำระยาที่คงเหลืออยู่ตามซอกและช่องในปาก
  9. ยาที่ใช้กับหญิงมีครรภ์หรือหญิงระยะให้นมแก่ลูก ควรได้ยาที่แพทย์จัดหาให้ควรระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจเกิดเป็นพิษต่อเด็กอ่อนหรือเด็กในครรภ์ได้
  10. บางครั้งมีอาการผิดปกติหลังกินยา ซึ่งอาจเกิดขึ้น เช่น บางคนแพ้ยาเป็นผื่นคัน หน้าบวม บางคนคลื่นไส้ อาเจียน ควรหยุดยาหากรุนแรงควรไปปรึกษาแพทย์ด่วนคงจะเป็นอาหารแพ้ยา
  11. จำนวนยาบางครั้ง แพทย์สั่งให้ไปติดตามผลการรักษา แพทย์จึงให้ยาไปส่วนหนึ่งก่อน และถึงวันนั้นให้ไปติดตามผลการรักษาจากนายแพทย์อีก ควรไปตามนัดให้ได้ แพทย์อาจจะเพิ่มยาให้หรือลดขนาดยาลงหรือเปลี่ยนยาให้ใหม่ถ้ายาที่รับไปกินแล้วไม่ได้ผลดี

ชนิดของยาต่าง ๆ ในบัญชียาสามัญประจำบ้าน มีมากกว่า 63 รายการ ยาตำราหลวงเป็นยาสามัญประจำบ้าน และทางผู้ผลิตจากโรงงานเภสัชของกระทรวงสาธารณสุข จัดเป็นชุดเล็กมีประมาณ 10 รายการ ชุดใหญ่จะมีประมาณ 20 รายการ ก็จะสะดวกที่จะมีไว้และจะมีจำนวนมากหรือน้อยรายการก็ได้ แล้แต่ความรู้และประสบการณ์ในการใช้ของหัวหน้าครอบครัว หรือผู้มีความรู้ดีในเรื่องการใช้ยาเหล่านี้ จึงจะทำให้ใช้ยาได้เป็นประโยชน์อย่างมาก ยามีคุณสมบัติดีถ้าใช้เป็นและถูกต้อง ขณะเดียวกัน หากใช้ผิดไม่ตรงกับโรคก็จะเกิดโทษได้มากเช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Do generic drugs compromise on quality?. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/do-generic-drugs-compromise-on-quality)
Generic Drugs: Questions & Answers. U.S. Food and Drug Administration (FDA). (https://www.fda.gov/drugs/questions-answers/generic-drugs-questions-answers)
Are Generic Drugs as Safe and Effective as Brand-Name?. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/generic-drug-safety-and-effectiveness-1738890)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป