7 สาเหตุที่ทำให้คุณขี้ลืม โดยไม่เกี่ยวกับอัลไซเมอร์

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
7 สาเหตุที่ทำให้คุณขี้ลืม โดยไม่เกี่ยวกับอัลไซเมอร์

การมีอาการขี้หลงขี้ลืมอาจเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้เป็นครั้งคราว แต่หากคุณพบว่าตัวเองมีอาการดังกล่าวทุกวัน หรือบ่อยผิดปกติ มันก็ไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นโรคอัลไซเมอร์เสมอไปค่ะ เพราะความจริงแล้ว มันยังมีอีกหลายเหตุผลที่เป็นไปได้ที่ทำให้คุณมีปัญหากับความจำ ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณไปดูหลากสาเหตุที่ทำให้คุณเป็นคนขี้ลืม แต่จะมีอะไรบ้างนั้น เราลองมาดูพร้อมกันเลยค่ะ

7 สาเหตุของอาการขี้ลืม

1. ทานยาบางชนิด

“ หากคุณกำลังกังวลกับความจำของตัวเอง สิ่งแรกที่ควรทำคือ ให้คุณลองทบทวนดูว่าตอนนี้กำลังทานยาชนิดใด ” กล่าวโดย Lauren Drag นักประสาทวิทยา และอาจารย์ที่ Stanford University School of Medicine ทั้งนี้มียาหลายชนิดที่มีผลต่อความจำ ซึ่งในหนึ่งในนั้นก็คือยาในกลุ่มแอนตี้โคลิเนอร์จิก (Anticholinergic) ซึ่งมันจะไปขัดขวางการทำงานของสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับความจำที่มีชื่อว่า อะซิทิลคอลีน (Acetylcholine)  นอกจากนี้ยาในกลุ่มที่ช่วยควบคุมความดันโลหิต หรือยาแก้ปวดบางชนิดก็สามารถทำให้คุณมีความจำแย่ลงเช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. เป็นโรคซึมเศร้า

ถ้าคุณกำลังมีอาการซึมเศร้า มันก็เป็นเรื่องยากที่คุณจะจดจ่อกับสิ่งตรงหน้า ส่งผลให้คุณไม่สามารถนึกถึงมันได้ในภายหลัง ทั้งนี้ Drag ให้ความเห็นว่า โรคซึมเศร้าอาจทำให้รูปร่างของสมองบางส่วนเปลี่ยนไป  “ มีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า โรคซึมเศร้าสามารถมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนขนาด และการทำงานของสมองส่วนที่สำคัญต่อทักษะความจำ ความเร็วในการคิด สมาธิ และความสามารถในการแก้ ปัญหา ”

3. ความเครียด

ความเครียดจะทำให้คุณไม่มีสมาธิเมื่อถึงเวลาที่ต้องจดจำข้อมูล หากเป็นความเครียดในระยะสั้น มันก็จะทำให้เป็นเรื่องยากที่คุณจะตามทันบทสนทนาที่คุยกับคนอื่น และหากคุณสะสมความเครียดเป็นเวลานาน มันก็จะยิ่งทำให้อาการแย่ลงไปอีก เพราะความเครียดจะมีผลกระทบที่สำคัญต่อสมอง ไม่ว่าจะเป็นการจำเรื่องง่ายๆ อย่างการจ่ายบิลค่าใช้จ่ายในบ้าน หรือการจัดตารางงาน คุณจะจัดการกับมันได้แย่ลง นอกจากนี้ Drag ยังกล่าวว่า การทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน การนอนดึก การไม่ออกกำลังกาย และไม่ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพก็ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้คุณมีอาการหลงลืม

4. คุณกำลังเหนื่อยมาก

การที่คุณนอน 8 ชั่วโมง หรือมากกว่านี้ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณได้พักผ่อนแบบมีคุณภาพ ซึ่งมีงานวิจัยพบว่า คนที่ใช้เวลาในช่วงนอนหลับลึกน้อยจะมีปัญหากับความจำ แต่ข่าวดีก็คือ การได้นอนงีบเพียงสักครู่ แม้ว่าจะนอนประมาณแค่ 6 นาทีก็สามารถช่วยเพิ่มพลังให้สมองได้แล้ว แต่หากคุณรู้สึกเหนื่อยมากทั้งๆ ที่ได้งีบหลับแล้ว คุณก็ควรไปตรวจร่างกายค่ะ เพราะหากคุณเป็นโรคเกี่ยวกับการนอนอย่างโรคหยุดหายใจขณะหลับ มันก็จะทำให้สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ และทำให้ปริมาณของเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงสมองเปลี่ยนไป ซึ่งหากปล่อยไว้นานวันเข้า มันก็    สามารถส่งผลต่อความจำและความคิด

5. ดื่มแอลกอฮอล์มากไป

อย่างที่เราทราบดีว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้ความคิดของคุณยุ่งเหยิงขณะที่คุณกำลังดื่ม แต่การดื่มเหล้าอย่างหนักสามารถทำให้ผู้ดื่มมีอาการหลงลืมหลังสร่างเมาแล้วเช่นกัน นอกจากนี้บางคนที่ดื่มแอลกอฮอล์มาทั้งชีวิตอาจสูญเสียความฉลาดหลักแหลมไปเลย แต่คนส่วนมากสามารถคาดหวังได้ว่า อาการขี้ลืมจะกลับมาดีขึ้น โดยอาจใช้เวลาเป็นสัปดาห์จนถึงขั้นนานเป็นเดือน

6. มีปัญหาสุขภาพเรื้อรังอย่างโรคเบาหวานหรือโรคหัวใจ

โรคที่มีผลต่อเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงสมองอย่างโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคคอเลสเตอรอลสูงสามารถส่งผลต่อสมอง ในขณะที่โรคไทรอยด์ โรคเกี่ยวกับตับ หรือไตก็สามารถมีผลต่อความจำเช่นกัน นอกจากนี้อาการขี้ลืมก็อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายได้รับวิตามินบี 12 ไม่เพียงพอ ในกรณีนี้คุณอาจต้องทานอาหารเสริมค่ะ

7. อายุมากขึ้น

เมื่ออายุมากขึ้น สมองก็อาจแสดงสัญญาณให้คุณรู้ว่ามันกำลังเสื่อมสภาพ เช่นเดียวกับริ้วรอยที่เริ่มปรากฏบนผิว หรือข้อต่อที่เริ่มส่งเสียง โรคอัลไซเมอร์มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นหลังอายุ 65 ปี แต่อาการขี้ลืมระดับเบาๆ จะเป็นเรื่องธรรมดาที่พบเห็นได้ทั่วไป ดังนั้นคุณไม่ต้องตกใจถ้าพบว่าตัวเองต้องใช้ความพยายามในการเรียนรู้สิ่งใหม่มากขึ้น หรือต้องใช้เวลาคิดคำในการพูดแต่ละครั้ง ทั้งนี้การออกกำลังกาย การทานอาหารที่ดีต่อสมอง  และหมั่นเข้าสังคมก็อาจช่วยให้คุณมีสมองที่เฉียบแหลมนานขึ้น

หากคุณมีอาการขี้หลงขี้ลืมจนถึงขั้นที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน คุณก็อย่าลังเลที่จะไปโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์หาสาเหตุที่แท้จริง และรักษาให้ถูกวิธีค่ะ


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
5 Surprising Causes of Memory Loss. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/news/5-surprising-causes-memory-loss/)
It's Not Always Alzheimer's: What Causes Memory Loss. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/what-causes-memory-loss-4123636)
7 common causes of forgetfulness. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/7-common-causes-of-forgetfulness-201302225923)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
12 วิธีในการจัดการความเครียดระหว่างการตั้งครรภ์
12 วิธีในการจัดการความเครียดระหว่างการตั้งครรภ์

เราจะสามารถกลับมาควบคุมชีวิตตัวเองได้อีกครั้ง?

อ่านเพิ่ม
การคลายความเครียดสำหรับเด็ก
การคลายความเครียดสำหรับเด็ก

การคลายความเครียดสำหรับเด็ก : จะทำให้การผ่อนคลายความเครียดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของเด็กได้อย่างไร

อ่านเพิ่ม