กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ประโยชน์จากการเลิกบุหรี่ระหว่าง 2 สัปดาห์ถึง 3 เดือน

ผลดีของการเลิกบุหรี่ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่คุณอาจสังเกตได้ตั้งแต่ช่วงเดือนแรกๆ
เผยแพร่ครั้งแรก 28 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 6 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ประโยชน์จากการเลิกบุหรี่ระหว่าง 2 สัปดาห์ถึง 3 เดือน

คุณเชื่อไหมว่า ขณะที่คุณกำลังค่อยๆ ถอยออกจากบุหรี่ มันทำให้เกิดผลดีต่อร่างกายมากมาย ซึ่งมันจะค่อยๆ แสดงออกมาเรื่อยๆ จนสามารถสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายได้อย่างชัดเจนในระหว่าง 2 สัปดาห์ถึง 3 เดือนแรกหลังการเลิกบุหรี่ 

แล้วผลดีของการเลิกบุหรี่มีอะไรบ้างนั้น บทความนี้มีคำตอบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผลดีของการเลิกสูบบุหรี่ระหว่าง 2 สัปดาห์ถึง 3 เดือน

  1. ความเสี่ยงในการเกิดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันลดลงและการไหลเวียนเลือดดีขึ้น
    เนื่องจากนิโคตินจะเพิ่มระดับของอะดรีนาลีนในกระแสเลือดของผู้ที่สูบบุหรี่ ทำให้หลอดเลือดบีบตัวและกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจ ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้

    โรคหัวใจ จัดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 1 ในประเทศสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้สูบบุหรี่มากที่สุดอีกด้วย ดังนั้น การเลิกบุหรี่จึงช่วยลดความเครียดที่เกิดกับหัวใจและระบบไหลเวียนเลือดจากการสูบบุหรี่อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลดีสำหรับผู้ที่เพิ่งเลิกบุหรี่ใหม่ๆ

  2. มีการทำงานของปอดที่ดีขึ้น 
    โดยการวัดปริมาณการหายใจออก (forced expiratory volume) ใน 1 วินาที แต่ก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพของปอดของแต่ละบุคคลด้วย และยังพบว่าหลอดลมมีความไวลดลงในช่วงเดือนแรกๆ หลังการเลิกบุหรี่

  3. การลดลงของการทำงานของปอดเกิดขึ้นช้าลงหรือไม่ลดลงอีก
    นักวิจัยเชื่อว่าการเลิกบุหรี่จะทำให้เกิดการหยุดการลดลงของการทำงานของปอดในผู้ที่เลิกบุหรี่ส่วนใหญ่ ซึ่งรวมถึงความเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาและการอักเสบที่เกิดขึ้นในปอดจากการสูบบุหรี่ด้วย

    ในรายที่เป็นถุงลมโป่งพอง การทำงานของปอดที่ลดลงอาจไม่ได้หยุดหลังจากการเลิกบุหรี่ แต่พบว่าจะมีอัตราการเสื่อมที่ช้าลงภายหลังจากการเลิกบุหรี่แทน

อาการอยากนิโคติน

อาการของความอยากนิโคตินที่แย่ที่สุดจะเริ่มหายไปในช่วงระหว่าง 2 สัปดาห์ถึง 1 เดือนหลังจากการเลิกบุหรี่ 

หลังอาการดังกล่าวหายไป ควรเปลี่ยนความสนใจไปอยู่ที่การหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มักจะทำให้เกิดการสุบบุหรี่ขึ้นใหม่ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ตื่นนอนในตอนเช้า กินอาหาร จัดการกับปัญหายากๆ หรือในช่วงเวลาที่มีความสุขของชีวิต กิจกรรมเหล่านี้ สามารถกระตุ้นให้เกิดความอยากสูบบุหรี่ได้ 

ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องระวังความคิดอยากสูบบุหรี่ที่เกิดขึ้นอีก เพราะอาจทำให้เกิดภาวะบางอย่างในร่างกาย เช่น มีกระเพาะอาหารหรือลำคอหดเกร็ง อาการเหล่านี้แสดงว่า คุณยังอยู่ในช่วงมีอาการของการขาดนิโคตินได้นานหลังจากที่เลิกสูบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ควรใส่ใจกับความคิดอยากสูบบุหรี่ที่ผ่านเข้ามาในสมอง เพราะจะช่วยให้คุณสามารถระบุสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดความอยากและทำให้คุณสามารถจัดการกับปัญหานั้นได้ ตัวอย่างเช่น หากคุณรู้สึกเครียดควรหายใจเข้าลึกๆ และออกไปข้างนอกเพื่อสูดอากาศบริสุทธิ์ หรือหากรู้สึกหิวก็รับประทานขนมได้ 

ในช่วงที่คุณสูบบุหรี่ คุณได้เรียนรู้ที่จะตอบสนองทุกอย่างด้วยการสูบบุหรี่ แต่ขณะนี้ คุณได้เลิกบุหรี่แล้ว คุณจะต้องเริ่มเรียนรู้ต่อการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเหล่านี้ด้วยวิธีที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น

การเลิกอย่างมีความรู้ถือเป็นการเลิกที่ประสบความสำเร็จ

การรู้เกี่ยวกับสิ่งที่คุณจะต้องเจอ หลังจากการเลิกบุหรี่ ถือเป็นส่วนที่สำคัญในการเลิกบุหรี่ให้ประสบความสำเร็จ เมื่อคุณรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างในช่วงที่กำลังอยู่ในระหว่างการบำบัดการติดนิโคติน คุณจะก็สามารถผ่านเหตุการณ์ต่างๆ ไปได้โดยไม่เสียความตั้งใจ 

ดังนั้น ควรให้ตัวเองได้เรียนรู้ทุกอย่างที่เกี่ยวกับการติดสารนิโคตินและกระบวนการเลิกบุหรี่ เพราะนี่จะเป็นการลงทุนที่ประเมินค่าไม่ได้สำหรับอนาคตของคุณ


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Stead, Lindsay F.; Lancaster, Tim (2016). "Combined pharmacotherapy and behavioural interventions for smoking cessation". The Cochrane Database of Systematic Reviews. CD008286. doi:10.1002/14651858.CD008286.pub3. PMID 27009521.
Rosen, Laura J et al., (2018). "Diminishing benefit of smoking cessation medications during the first year: a meta-analysis of randomized controlled trials". Addiction. 113 (5): 805–816. doi:10.1111/add.14134. ISSN 0965-2140. PMC 5947828. PMID 29377409.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป