กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

รวมคำถามคำตอบเกี่ยวกับ COVID-19

รวมทุกคำถาม ข้อสงสัย และสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ COVID-19 ที่นี่ HD รวบรวมคำตอบ และข้อมูลที่จะให้คุณหายสงสัย คลิกเพื่ออ่านเพิ่มได้เลย
เผยแพร่ครั้งแรก 28 เม.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 8 นาที
รวมคำถามคำตอบเกี่ยวกับ COVID-19

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • "โรค COVID-19" ชื่อเต็ม คือ Coronavirus disease 2019 เกิดจากเชื้อไวรัส SARS coronavirus 2 หรือเรียกอีกอย่างว่า SARS-CoV-2 โรคนี้สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น น้ำมูก น้ำลาย จากการไอ จาม
  • ค่าเกณฑ์อุณหภูมิปกติก็จะมีความแตกต่างกันไปตามส่วนของร่างกายที่ใช้วัด ส่วนเกณฑ์การคัดกรองโรค Covid-19 ที่ใช้ในไทยตอนนี้ไม่ได้มีการระบุว่าต้องใช้การวัดอุณหภูมิจากส่วนใด แต่มีกำหนดเฉพาะว่าถ้ามีไข้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไปก็จะอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง
  • การรับประทานอาหารโดยใช้ช้อนเดียวกับคนติดเชื้อ Covid-19 นั้น ถ้าหากช้อนยังไม่ได้ล้างก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ แต่ถ้าล้างช้อนแล้วก็ไม่มีปัญหาเพราะเชื้อจะตายไปจากการล้างแล้ว
  • หลังการติดเชื้อโควิด 19 โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่มีผลกระทบในระยะยาวต่อปอดตามมา ยกเว้นผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงต่อปอดในขณะติดเชื้อจนทำให้ปอดเกิดความเสียหาย มีพังผืดขึ้นมาสะสมภายหลังก็อาจทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจตามมาได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 ถึงบ้าน

"โรค COVID-19" ชื่อเต็ม คือ Coronavirus disease 2019 เกิดจากเชื้อไวรัส SARS coronavirus 2 หรือเรียกอีกอย่างว่า SARS-CoV-2  โรคนี้สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น น้ำมูก น้ำลาย จากการไอ จาม 

ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่า COVID-19 สามารถส่งต่อกันได้ผ่านทางเลือด หรือยุง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันและยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสชนิดนี้โดยตรง ดังนั้นเมื่อพบผู้สงสัยว่าติดเชื้อจึงจะใช้วิธีแยกบุคคลนั้นออกไปอยู่ในที่เฉพาะ เพื่อกักโรคไม่ให้แพร่สู่ผู้อื่น จากนั้นจึงรักษาไปตามอาการ

ด้วยความที่โรค COVID-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ และมีสถานการณ์การแพร่ระบาดที่รุนแรงไปหลายภูมิภาคทั่วโลก ดังนั้นจึงเกิดคำถาม ความกังวลมากมาย บทความนี้จึงรวบรวมคำถาม ข้อสงสัย และสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับโรค COVID-19 มารวมไว้

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 ถึงบ้าน จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

รวมทุกคำถาม ข้อสงสัย และสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ COVID-19 ที่นี่

1ใช้ปรอทวัดไข้ที่ใต้ลิ้น อุณหภูมิไหนเข้าเกณฑ์ Covid-19 ถ้าวัดที่จุดอื่นๆ อิงอุณหภูมิเดียวกันได้ไหม

ถ้าหากใช้การวัดไข้ใต้ลิ้นอุณหภูมิร่างกายปกติก็จะอยู่ที่ประมาณ 36.4-37.6 องศาเซลเซียสครับ แต่ค่าเกณฑ์อุณหภูมิปกติก็จะมีความแตกต่างกันไปตามส่วนของร่างกายที่ใช้วัดอย่างไรก็ตามเกณฑ์การคัดกรองโรค Covid-19 ที่ใช้ในไทยตอนนี้ไม่ได้มีการระบุว่าต้องใช้การวัดอุณหภูมิจากส่วนใด แต่มีกำหนดเฉพาะว่าถ้ามีไข้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไปก็จะอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังครับ ดังนั้นถ้ามีการวัดอุณหภูมิใต้ลิ้นได้ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับมีอาการไอ มีน้ำมูก และมีประวัติเดินทางไปพื้นที่เสี่ยงหรือสัมผัสคนเป็นโรค ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการครับ

ตอบโดย กันตณัฏฐ์ อยู่ตรีรักษ์ (นพ.)อ่านคำตอบเพิ่มเติม >

2ทำงานในสนามบิน ท้องเสียถ่ายเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีอาการเริ่มเจ็บคอ และไอแห้งมีเสมหะเล็กน้อย หายใจลำบาก ไป x-ray เจาะเลือดมา ผลปกติไม่มีอะไร แต่วันนี้มีเสมหะ ไอคันคอ และหายใจลำบากเป็นช่วงๆ ควรไปพบอีกครั้งดีมั้ยคะ

ถึงแม้อาการเจ็บหน้าอก จุกเสียด ท้องเสียจะไม่ใช่อาการของการติดเชื้อ Covid-19 แต่ถ้าหากมีอาการตัวร้อน และมีอาการไอ มีเสมหะ หายใจลำบากในตอนนี้ ร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยงจากการทำงานอยู่ที่สนามบินด้วย หมอก็แนะนำว่าควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมให้แน่ใจก่อน เพื่อที่จะได้ประเมินว่าอาการเกิดจากการติดเชื้อ Covid-19 หรือเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นๆ เพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ

ตอบโดย กันตณัฏฐ์ อยู่ตรีรักษ์ (นพ.)อ่านคำตอบเพิ่มเติม >

3ลูกไอและจามจนเลือดกำเดาไหล ทำไงดีคะ ต้องไปตรวจไหม เรื่องโควิด

ถ้าสั่งน้ำมูกแรงๆ ก็เป็นไปได้ครับ กรณีเลือดไหลออกเรื่อยไม่หยุด แนะนำให้ไปตรวจครับ ควรพบแพทย์หูคอจมูกครับ(ENT) เลือดกำเดาไหล มีได้หลายสาเหตุครับ เช่น ติดเชื้อเรื้อรัง ติ่งเนื้อในจมูก การแคะจมูก โดนกระแทก การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ผนังกั้นจมูกคด หลอดเลือดผิดปกติ เป็นต้นครับ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เบื้องต้น งดแคะจมูก ปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยตัวเอง ให้นั่งหลังตรงและก้มหน้าเล็กน้อย แล้วใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือบีบปีกจมูกทั้ง 2 ข้างเข้าหากันในแนวกลาง โดยหนีบบริเวณผนังกั้นจมูกเอาไว้เพื่อกดจุดเลือดออกเป็นเวลาประมาณ 5-10 นาที (การกดหรือบีบ ต้องกดหรือบีบให้แน่น) แล้วค่อยคล้ายออก และในระหว่างนี้ให้หายใจทางปากแทน ซึ่งการใช้วิธีนี้ส่วนมากมักจะได้ผล (เพราะประมาณ 90% เลือดมักจะไหลออกมาจากส่วนหน้าของจมูก การบีบหรือกดที่ปีกจมูกจึงช่วยทำให้เลือดหยุดไหลได้) แต่ถ้ายังไม่ได้ผลให้ทำซ้ำอีกครั้งเป็นเวลานาน 10 นาทีครับ

นอกจากนี้ อาจใช้ผ้าเย็น หรือน้ำแข็งห่อผ้าหรือใส่ถุงพลาสติก หรือเจลประคบเย็น (Cold pack) วางประคบบนสันจมูกเอาไว้ด้วยก็ได้ เพื่อให้ความเย็นช่วยทำให้หลอดเลือดหดตัว (แต่ห้ามใส่น้ำแข็งเข้าไปในจมูก)ครับ

ส่วนเรื่องสงสัยCovid19 ถ้าไข้ ไอ และ หายใจเหนื่อย ร่วมกับมีประวัติสัมผัสคนที่เป็นโรคหรือไปสถานที่เสี่ยงค่อยไปตรวจครับ เพราะอาการไอจาม เป็นได้จากหลายเชื้อ ไม่จำเป็นต้องเป็นCovidครับ

แนะนำเพิ่มเติม

  • 1.ถ้าไม่ได้มีประวติสัมผัสกับผู้ติดเชื้อชัดเจน เช่น ยืนคุยกับผู้ติดเชื้อระยะใกล้ๆ อยู่ในสถานที่เดียวกับผู้ติดเชื้อ เที่ยวด้วยกัน หมอว่าโอกาสติดนั้นน้อยๆมากๆครับ จนไม่คุ้มที่จะต้องไปตรวจ เพราะไปตรวจอาจต้องจ่ายเงินเอง(ไม่เข้าเกณฑ์) และเพิ่มความเสี่ยงสัมผัสเชื้อเพิ่มด้วยครับ การกักตัวและสังเกตอาการในกรณีที่อาการเป็นไม่มากนั้น เป็นประโยชน์มากกว่าครับ
  • 2.แนะนำให้ ล้างมือบ่อยๆ ลดการสัมผัสหน้า ใส่หน้ากากอนามัยแบบผ้าหรือแบบทางการแพทย์ หลีกเลี่ยงไปที่ชุมชนครับ เพราะเชื้อนั้นติดทางละอองฝอย ละอองน้ำลาย เข้าสู่ทางเดินหายใจ หรือเยื่อบุตาครับ
  • 3.ถ้าอาการเป็นเยอะ ค่อยไป รพ.ครับ เช่น ไข้สูง หายใจหอบเหนื่อย กินไม่ได้อ่อนเพลีย
ตอบโดย วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (นพ.)อ่านคำตอบเพิ่มเติม >

4ถ้าเราใช้ช้อนของผู้ป่วย Covid-19 รับประทานอาหารแต่ช้อนนั้นเขาใช้แล้วแต่ทิ้งไว้ 2 วันจะติดเชื้อไหมครับ

การรับประทานอาหารโดยใช้ช้อนเดียวกับคนติดเชื้อ Covid-19 นั้นถ้าหากช้อนยังไม่ได้ล้างก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ครับ แต่ถ้าล้างช้อนแล้วก็ไม่มีปัญหาเพราะเชื้อจะตายไปจากการล้างแล้วครับ

ตอบโดย กันตณัฏฐ์ อยู่ตรีรักษ์ (นพ.)อ่านคำตอบเพิ่มเติม >

5อาการ ไอ ไข้ หอบ แน่นหน้าอก ปวดหัว อาการเหล่านี้จะต้องเกิดพร้อมกันหรือมีแค่บางอาการก็ได้ครับ แล้วเป็นการไอแบบไหน เกิดจากการคันคอ ไอมีเสลด หรืออาการไอแห้งครับ

อาการของการติดเชื้อไวรัส Covid-19 ที่สำคัญนั้นจะประกอบด้วยการมีไข้ ไอ มีน้ำมูกครับ โดยอาการนี้ก็ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นทั้งหมด รวมถึงอาการไอเองก็อาจเป็นแบบใดก็ได้ครับ หมอแนะนำให้พิจารณาจากประวัติการเดินทางไปในประเทศกลุ่มเสี่ยงและการสัมผัสกับคนที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงเป็นหลักครับ ถ้าหากมีประวัตินี้ร่วมกับมีอาการข้างต้นก็ควรไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจประเมินอาการครับ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ตอบโดย กันตณัฏฐ์ อยู่ตรีรักษ์ (นพ.)อ่านคำตอบเพิ่มเติม >

6เดินทางไปประเทศอินโดนีเซีย (บาหลี) 20 - 24 ก.พ. 63 ไม่ค่อยได้ใส่แมสปิดจมูก ตอนนี้เหมือนมีไข้ แต่วัดไข้แล้ว 37.2 ควรไปตรวจหาเชื้อ Covid-19 ไหมคะ?

จากสถานการณ์ในขณะนั้น ประเทศอินโดนีเชียยังไม่ได้จัดเป็นประเทศในกลุ่มเสี่ยงต่อเชื้อ Covid-19 ครับ โอกาสที่จะติดเชื้อ Covid-19 จึงอาจไม่ชัดเจนในกรณีนี้ แต่หากมีอาการหายใจไม่สะดวก รู้สึกเหมือนมีไข้ ในเบื้องต้นควรป้องกันโดยการใส่หน้ากากอนามัยก่อน และให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมเพื่อที่จะได้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดและให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ

ตอบโดย กันตณัฏฐ์ อยู่ตรีรักษ์ (นพ.)อ่านคำตอบเพิ่มเติม >

7คุณแม่ท้องอ่อนล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์/แอลกออฮอลน้ำ กลิ่นของแอลกอฮอล์จะส่งผลกระทบกับลูกในท้องไหมครับ และแอลกอฮอล์ที่ล้างจะซึมผ่านมือเข้าไปในร่างกายส่งผลกระทบถึงลูกไหมครับ

ตอนนี้แม้มารดาจะติดเชื้อ ยังไม่พบว่าเชื้อจะติดไปสู่ทารกในครรภ์ครับ ส่วนการสูดกลิ่นและการล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ไม่กระทบต่อทารกในครรภ์ครับ เพราะแอลกอฮอล์ระเหย ไม่ซึมครับ (แค่อย่าไปกินเหล้าก็พอครับ อันนี้กระทบได้ครับ) แนะนำให้ ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ ลดการสัมผัสหน้า ใส่หน้ากากอนามัยแบบผ้าหรือแบบทางการแพทย์ เพราะเชื้อนั้นติดทางละอองฝอย ละอองน้ำลาย เข้าสู่ทางเดินหายใจ หรือเยื่อบุตาครับ หลีกเลี่ยงที่ชุมชน หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่สงสัยว่าจะมีเชื้อครับ เช่นไปที่เสี่ยงมา ผู้ที่มีอาการไอ เสมหะ ไข้ ครับ

ตอบโดย วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (นพ.)อ่านคำตอบเพิ่มเติม >

8คุณแม่จะต้องไปทำธุระที่ต่างจังหวัดแล้วท่านจะพก Klean & Kare - Normal Saline ไปด้วย ไม่ทราบว่ามันพอจะช่วยฆ่าเชื้อ Covid-19 ได้มั้ยคะ

อันนี้เป็นน้ำเกลือธรรมดาครับ ไม่สามารถฆ่าเชื้อได้ แนะนำเป็นเจลแอลกอฮอล์ 70% ขึ้นไปครับแนะนำให้ ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ ลดการสัมผัสหน้า ใส่หน้ากากอนามัยแบบผ้าหรือแบบทางการแพทย์ หลีกเลี่ยงไปที่ชุมชนครับ เพราะเชื้อนั้นติดทางละอองฝอย ละอองน้ำลาย เข้าสู่ทางเดินหายใจ หรือเยื่อบุตาครับ

ตอบโดย วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (นพ.)อ่านคำตอบเพิ่มเติม >

9กลับมาบ้านหลังจากไปดูหนัง มีอาการไอ เจ็บคอ ควรไปตรวจ Covid-19 ไหมคะ

การเดินทางไปโรงภาพยนต์หรือที่ที่มีคนหนาแน่นอาจเป็นสาเหตุให้ติดเชื้อในทางเดินหายใจได้ครับ อย่างไรก็ตามผู้ที่สงสัยว่าจะมีอาการติดเชื้อไวรัส Covid-19 คือผู้ที่มีไข้ตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับอาการของระบบทางเดินหายใจอย่างน้อย 1 อย่าง เช่น ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจหนื่อย หายใจลำบาก เป็นต้น ประกอบกับมีประวัติเดินทางไปประเทศกลุ่มเสี่ยงหรือมีบุคคลใกล้ชิดที่มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง หากผู้ถามมีอาการกับประวัติดังกล่าว แนะนำให้ไปพบแพทย์โดยแจ้งที่แผนกคัดกรองโรคถึงประวัติดังกล่าวก่อนเข้ารับการตรวจครับ

ตอบโดย สุวพัชญ์ พิศาลมงคล (นพ.)อ่านคำตอบเพิ่มเติม >

10เป็นไข้มา 3 วันแล้ว มีอาการปวดหัว เจ็บคอ ไอมีเสมหะ หายใจติดขัด แสบตา เสี่ยงเป็น Covid-19 มั้ยคะ

อาการมีไข้ ปวดศีรษะ ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ หายใจติดขัด แสบตานั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียทั่วไปนอกเหนือจากการติดเชื้อโควิดครับ หมอแนะนำว่าควรประเมินจากประวัติการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงและจากประวัติการสัมผัสใกล้ชิดกับคนที่ติดเชื้อเป็นหลัก หากมีประวัติเหล่านี้ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาการติดเชื้อ Covid-19 ครับ

ตอบโดย กันตณัฏฐ์ อยู่ตรีรักษ์ (นพ.)อ่านคำตอบเพิ่มเติม >

11หากรักษาโรค Covid-19 หายแล้ว อาการจะเป็นยังไงต่อคะ ปอดจะเป็นยังไงต่อ

หลังการติดเชื้อโควิด 19 นั้น โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่มีผลกระทบในระยะยาวต่อปอดตามมาครับ ยกเว้นแต่ว่าเป็นคนที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงต่อปอดในขณะติดเชื้อจนทำให้ปอดเกิดความเสียหาย มีพังผืดขึ้นมาสะสมภายหลังก็อาจทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจตามมาได้ แต่จากข้อมูลในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ชัดเจนว่าโอกาสจะมีมากน้อยแค่ไหนครับ

ตอบโดย กันตณัฏฐ์ อยู่ตรีรักษ์ (นพ.)อ่านคำตอบเพิ่มเติม >

12ถ้าอยู่บนรถบัสแล้วมีแค่หน้ากากฟองน้ำธรรมดาๆ และเจลแอลกอฮอล 1 ขวด โดยปกติแล้วไม่มีโรคประจำตัว เป็นไข้ยาก กลัวว่าถ้าติดเชื้อ Covid-19 แล้วจะไม่มีอาการ

ในกรณีนี้หมอแนะนำว่าควรมีการป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อ Covid-19 ดังนี้ครับ

  • หลีกเลี่ยงการยกมือมาสัมผัสใบหน้า
  • ล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังหยิบจับสิ่งของในที่สาธารณะ
  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุก
  • ใส่หน้าดากอนามัยในเวลาที่ต้องอยู่ในที่ที่มีคนแออัด

ถ้าปฏิบัติตามนี้โอกาสติดเชื้อก็จะลดลงไปมากครับ ส่วนเรื่องการสังเกตอาการนั้นถ้าหากมีไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก อาการใดอาการหนึ่งก็สามารถไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการได้

ตอบโดย กันตณัฏฐ์ อยู่ตรีรักษ์ (นพ.)อ่านคำตอบเพิ่มเติม >

13ต่างคนต่างไม่เป็นโรค Covid-19 แต่มีเพศสัมพันธ์กัน จะทำให้เกิดการติดต่อโรคนี้มั้ยคะ

ถ้าทั้งคู่ไม่ได้เป็นโรค การมีเพศสัมพันธ์จะไม่ได้ทำให้เกิดการติดต่อของโรคได้ค่ะ อย่างไรก็ตาม Covid-19 ไม่ได้ติดต่อทางเพศสัมพันธ์แต่จะติดต่อผ่านทางละอองทางอากาศ น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ แต่ถ้ามีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยจะเสี่ยง เนื่องจากได้รับเชื้อโดยการหายใจเข้าไป กรณีที่มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบ ร่วมกับมีประวัติไปในพื้นที่เสี่ยงหรือสัมผัสกับคนไข้หรือทำงานในพื้นที่เสี่ยง เช่น ในโรงพยาบาล สนามบิน ให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจประเมินค่ะ

ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)อ่านคำตอบเพิ่มเติม >

14ไปสถานที่เสี่ยงติดเชื้อ Covid-19 มา แต่ยังไม่มีอาการอะไร จำเป็นต้องกักตัวไหมคะ

แนะนำว่า หากไปในสถานที่เสี่ยงแม้ยังไม่มีอาการก็ควรกักตัวค่ะ เนื่องจากอาจยังอยู่ในระยะฟักตัวของโรคนั้น คือยังไม่แสดงอาการแต่อาจมีโอกาสติดเชื้อมาได้ ซึ่งแนะนำการกักตัวที่ประมาณ 14 วันค่ะ

ตอบโดย นันทิดา สาลักษณ (พญ.)อ่านคำตอบเพิ่มเติม >

15ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบแล้วจะสามารถป้องกันปอดติดเชื้อจาก Covid-19 ได้ไหมคะ

ปัจจุบันวัคซีนที่ใช้ป้องกันปอดอักเสบ จะเป็นเชื้อ Staphylococcus Aureus หรือเป็นวัคซีนไข้หวัดใหญ่ครับซึ่งยังไม่สามารถช่วยป้องกัน หรือลดความรุนแรงของไวรัส Covid-19 ได้ครับ

ตอบโดย วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (นพ.)อ่านคำตอบเพิ่มเติม >

16สั่งของกินมาจากกรุงเทพฯ มาถึงปุ๊ปก็แกะกินเลยค่ะ ไม่เช็ดทำความสะอาดกล่องพัสดุ อยู่ดีๆ ก็ไอแห้งๆ มีโอกาสเสี่ยงที่ Covid-19 จะติดกล่องพัสดุมาไหมคะ

ถ้าหากไม่ได้มีการสัมผัสกับคนที่มีการติดเชื้อ Covid-19 โดยตรงก็ยังถือว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิดได้น้อยครับอาการไอแห้งๆ นั้นอาจเกิดได้จากอีกหลายสาเหตุนอกเหนือจากการติดเชื้อ Covid-19 เช่น การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียทั่วไป ผลจากการสูดดมฝุ่นละอองหรือสารเคมี โรคภูมิแพ้ เป็นต้น

ตอบโดย กันตณัฏฐ์ อยู่ตรีรักษ์ (นพ.)อ่านคำตอบเพิ่มเติม >

17Covid-19 สามารถเป็นต่อจากโรคเดิมที่เกี่ยวกับปอดไหมคะ อย่างพวกปอดบวม ภูมิแพ้ แต่หนูก็อยู่แต่กับบ้านนะคะไม่ได้ออกไปไหน ขอบคุณนะคะ

โรค Covid-19 ไม่สามารถติดต่อจากโรคเดิมที่เป็นอยู่ได้ครับ แต่จะติดต่อผ่านทางการสัมผัส หายใจเอาละอองฝอยของคนที่เป็นโรคเข้าไปครับ ดังนั้นถ้าหากไม่เคยมีประวัติการสัมผัสกับคนที่เป็นโรคมาก่อนก็ไม่ต้องกังวลเรื่องการติดเชื้อครับ

ตอบโดย กันตณัฏฐ์ อยู่ตรีรักษ์ (นพ.)อ่านคำตอบเพิ่มเติม >

18มีอาการไอมาสองวัน มีเสมหะ แต่ไม่มีไข้ หายปกติ ไม่หอบเหนื่อย ไม่มีประวัติสัมผัสผู้ติดเชื้อ แบบนี้เสี่ยงติดโควิดมั้ยคะ

ถ้าไม่ได้มีประวติสัมผัสกับผู้ติดเชื้อชัดเจน เช่น ยืนคุยกับผู้ติดเชื้อระยะใกล้ๆ อยู่ในสถานที่เดียวกับผู้ติดเชื้อ เที่ยวด้วยกัน หมอว่าโอกาสติดนั้นน้อยๆมากๆครับ จนไม่คุ้มที่จะต้องไปตรวจ เพราะไปตรวจอาจต้องจ่ายเงินเอง(ไม่เข้าเกณฑ์) และเพิ่มความเสี่ยงสัมผัสเชื้อเพิ่มด้วยครับ การกักตัวและสังเกตอาการในกรณีที่อาการเป็นไม่มากนั้น เป็นประโยชน์มากกว่าครับ

ตอบโดย วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (นพ.)อ่านคำตอบเพิ่มเติม >

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สรุปสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย
สรุปสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย

สรุปสถานการณ์โคโรน่าไวรัส ไวรัสอู่ฮั่น หรือ Covid-19 พร้อมรวบรวมแนวทางการรักษาจากประเทศต่างๆ

อ่านเพิ่ม
โรค Covid-19 ต่างจากไข้หวัดใหญ่อย่างไร?
โรค Covid-19 ต่างจากไข้หวัดใหญ่อย่างไร?

โรค Covid-19 กับโรคไข้หวัดใหญ่ อาการคล้ายกัน ติดจากเชื้อไวรัสเหมือนกัน แล้วทั้ง 2 โรคต่างกันอย่างไร หาคำตอบได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม
รวมข้อปฏิบัติระหว่างการกักตัวในระหว่างช่วง Covid-19 ทั้งผู้กักตัว และสมาชิกในบ้าน
รวมข้อปฏิบัติระหว่างการกักตัวในระหว่างช่วง Covid-19 ทั้งผู้กักตัว และสมาชิกในบ้าน

รวมข้อปฏิบัติเมื่อต้องกักตัวอยู่ในบ้าน 14 วัน และมีอาการอย่างไร จึงควรนำตัวส่งโรงพยาบาล

อ่านเพิ่ม