การรักษาแผลโดนกัดและแผลถูกยิงในสุนัข
บาดแผลที่มีการเจาะทะลุนั้นค่อนข้างมีความหลากหลาย ตั้งแต่เศษเล็กๆ หนามของหญ้าที่ทะลุเข้าสู่ผิวหนังและแผลจากการโดนยิง โดยที่บาดแผลเหล่านี้มักมีการติดเชื้อ ทำให้เหนี่ยวนำให้เป็นปัญหาใหญ่ภายใต้ผิวหนังแม้ว่าภายนอกจะดูเหมือนว่าปกติ
สาเหตุหลัก
เศษต่างๆ หรือการถูกสัตว์อื่นกัด ค่อนข้างที่จะพบบ่อยในสุนัข แต่ก็สามารถพบว่ามาจากการโดนหญ้าหรือเหล็กบาดได้เช่นกัน อาจพบว่าเกิดบาดแผลจากอาวุธในช่วงการล่าสัตว์ได้ในบางภาคส่วนของสหรัฐอเมริกา
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การดูแลรักษาเบื้องต้น
ในทุกๆกรณี
- จะมีการผันแผลที่ทะลุนี้ก็ต่อเมื่อ บาดแผลอยู่ที่บริเวณช่องอก มีเลือดไหลออกจากบาดแผล หรือยังคงมีวัตถุคงค้างอยู่ภายในตัวของสุนัข
- ควรทำให้สุนัขอยู่ในความสงบ อาจมีการใช้เครื่องมือจับบังคับถ้าหากมีความจำเป็น
- เจ้าไม่ควรเข้าไปเสี่ยงถ้าหากว่าสุนัขอยู่ในภาวะตื่นกลัว ตื่นเต้น หรือมีความเจ็บปวด
- ไม่ควรล้างบาดแผลด้วยยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ
- ควรพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวบสอบว่าเป็นบาดทะยักหรือไม่
ในกรณีที่โดนสัตว์อื่นกัด
- ต้องมั่นใจว่าสุนัขไม่สามารถทำร้ายคุณได้ เนื่องจากสุนัขจะมีอาการตื่นเต้น เจ็บปวดหรือมีความตื่นกลัว
- ถ้าหากที่บริเวณหน้าอกเป็นแผลทะลุ ควรพันแผลไว้ด้วยผ้าเปียก และพันแผลรอบแผลให้แน่นเพื่อคลุมบาดแผล
- ควรตรวจสอบสัญญาณของภาวะช็อค
- ถ้าหากมีความจำเป็นอาจมีการทำการกู้ชีพ และควรพาไปพบสัตวแพทย์โดยทันที
- ถ้าหากว่ากล้ามเนื้อมีการทะลุ ให้ล้างด้วยน้ำเปล่า และทำการสังเกตอาการช็อค และในขณะที่พาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ควรให้สุนัขอยู่ในความอบอุ่น
- ถ้าหากมีการทะลุในส่วนของช่องท้อง และอวัยวะภายในมีการทะลุออกมา ห้ามให้สุนัขเลียบาดแผลโดยเด็ดขาด
- ทำการล้างอวัยวะที่โผล่ออกมาทันทีด้วยน้ำสะอาดที่สุดเท่าที่จะทำได้ ใช้ผ้าที่มีความอุ่นและเปียกห่อหุ้มช่องท้องเอาไว้แล้วทำการนำส่งสัตวแพทย์โดยทันที
ในกรณีที่มีเศษต่างๆบาด
- ล้างทำความสะอาดบริเวณบาดแผลด้วยน้ำสบู่ที่มีความอุ่น
- ใช้เครื่องมือทำการถอนหนามออก
- ทำความสะอาดบริเวณปากแผลอีกทีด้วยน้ำสบู่อุ่นหรือยาฆ่าเชื้อก็ได้
ในกรณีที่โดนยิง
- ต้องรักษาภาวะเลือดไหลหรือภาวะที่เห็นได้ชัดโดยทันที
- ต้องตรวจสอบอาการช็อค
- พาสุนัขไปพบสัตวแพทย์โดยทันที
ในกรณีที่เป็นบาดแผลจากลูกธนูหรือลูกดอก
- ห้ามดึงลูกธนูออก แต่ให้ตัดด้ามทิ้งประมาณสองนิ้วจากตัวสุนัข และทำการพันจุดที่ปักให้แน่นเพื่อป้องกันการเคลื่อนของลูกธนู
- ตรวจสอบอาการช็อค
- พาสุนัขไปพบสัตวแพทย์โดยทันที
ในกรณีโดนขนเม่นตำ
- สัตวแพทย์จะต้องทำการถอนขนเม่นออก โดยที่ต้องวางยาสลบสุนัข
- ถ้าสัตวแพทย์สามารถถอนขนออกได้ ให้พาสุนัขไปพบสัตวแพทย์โดยทันที
- แต่ถ้าหากว่าไม่สามารถถอนขนออกมาได้ เจ้าของสามารถใช้คีมยาวเพื่อดึงขนแต่ละเส้นออกมาได้ตามแนวองศาที่ปักเข้าไป
การจัดการและความเป็นอยู่
ถ้าหากว่าสัตว์ของคุณทรมานกับบาดแผลทะลุ แม้ว่าจะเป็นจากสาเหตุเล็กๆ เช่น พวกเศษๆต่ำ ต้องมีการตรวจสอบเรื่องการติดเชื้อบาดทะยักให้ดี ซึ่งการติดเชื้อบาดทะยักในสุนัขจะพบได้น้อยกว่าในคน อาการที่บ่งบอกว่าติดเชื้อบาดทะยัก ได้แก่
- หูมีความแข็งกว่าปกติ
- มีความไวต่อแสง
- หนังตาที่สามโผล่
- ร่างกายขยับแบบฝืดๆ
- ไม่สามารถยืนได้
- สามารถเกิดการอัมพาตได้ในอนาคต