ภาวะผิวแห้งคันในผู้สูงอายุ

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ธ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ภาวะผิวแห้งคันในผู้สูงอายุ

ภาวะผิวแห้งคันเป็นปัญหาทางผิวหนังที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุค่ะ โดยเฉพาะในเพศหญิง ถึงแม้จะไม่มีอันตรายรุนแรง แต่ก็สร้างความรำคาญ อาจนำไปสู่การเกาจนเกิดเป็นแผลถลอกและเสี่ยงต่อการติดเชื้อแทรกซ้อนได้

อีกทั้งอาการคันอาจกระทบต่อคุณภาพการนอน ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของผู้ป่วยด้วยนั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

และเนื่องจากพบภาวะผิวแห้งคันเรื้อรังได้มากขึ้นตามอายุ จึงมักเป็นสาเหตุให้เกิดความเข้าใจผิดและมีการรักษาอย่างไม่เหมาะสม จนทำให้เสี่ยงต่อผลอันไม่พึงประสงค์จากยาโดยไม่จำเป็นอีกด้วยนะคะ

สาเหตุของอาการผิวหนังแห้งคันในผู้สูงอายุ

  • ความเสื่อมตามวัยของผิว ทำให้ผิวบางลงและโครงสร้างต่าง ๆ ของผิวหนังทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ และสูญเสียความชุ่มชื้นจนทำให้ผิวแห้ง โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่หนาวเย็น หรือมีความชื้นต่ำ
  • การอักเสบของผิวหนังจากสิ่งระคายเคือง หรือการถูกแดดเผา จึงมีการหลั่งสารเคมีในร่างกายที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้และคัน
  • โรคทั้งทางร่างกายและจิตใจ, การติดเชื้อ หรือยาที่ใช้อยู่

นอกจากการรักษาที่ตรงจุด หากปัญหาเกิดจากโรค, การติดเชื้อ หรือยาที่ใช้อยู่ การดูแลโดยทั่วไปก็มีความสำคัญเช่นกันนะคะ เพื่อลดปัญหาผิวแห้ง คัน และระคายเคือง เช่น หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น, ควรใช้สบู่หรือครีมอาบน้ำสูตรอ่อนโยน, ทาครีมบำรุงผิวหรือน้ำมันหลังอาบน้ำเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว, หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์, หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อากาศร้อนหรือเย็นจัด รวมถึงตัดเล็บให้สั้นเพื่อป้องกันการเกาจนเกิดเป็นแผลถลอก

หากผิวแห้งมาก อาจต้องใช้ ยูเรียครีม หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของยูเรียครีม ในความแรง 5 – 10% มาทาเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแทนการใช้มอยส์เจอไรซิ่งครีมทั่วไปนะคะ

ส่วนการใช้ยาทาภายนอกเพื่อบรรเทาอาการคันและผิวแห้ง (ในกรณีที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อซึ่งต้องการการรักษาที่เฉพาะเจาะจง) ไม่แนะนำให้ใช้ยาทาสเตียรอยด์นะคะ แต่หากจำเป็นก็ควรระมัดระวัง ไม่ใช้ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้ผิวบาง หรือมีหลอดเลือดขยายได้

เช่นเดียวกับยาทาแก้แพ้กลุ่มแอนตี้ฮิสตามีน ที่แม้จะได้ผลดีกับผื่นลมพิษหรือแมลงสัตว์กัดต่อย แต่ไม่เหมาะกับภาวะผิวแห้งคันค่ะ เพราะอาจยิ่งทำให้ระคายเคืองและเป็นผื่นบวมแดงบริเวณที่ใช้ยา

ส่วนยาทาในกลุ่มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน หรือ Topical Immunomodurators เช่น Tacrolimus (PROTOPIC® ointment 0.1%) และ Pimecrolimus (ELIDEL® 1% cream) ซึ่งโดยปกติจะใช้ในโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ก็สามารถนำมาใช้กับภาวะผิวแห้งคันได้เช่นกันค่ะ เนื่องจากมีประสิทธิภาพดี และเห็นผลเร็ว

อย่างไรก็ตามอาจมีอาการแสบร้อนหรือแดงในบริเวณที่ทายา แต่ก็จะหายไปเองภายใน 1 สัปดาห์นะคะ ซึ่งหากทนผลข้างเคียงที่กล่าวมาได้ วิธีนี้ก็ถือเป็นทางเลือกที่ดี เนื่องจากไม่ทำให้ผิวฝ่อและบางเหมือนกับการใช้ยาทาสเตียรอยด์

นอกจากนี้ ยาชาเฉพาะที่ เช่น Lidocaine + Prilocaine (EMLA® 5%, RACSER® cream) หรือก็สามารถนำมาใช้บรรเทาอาการคันที่เกิดขึ้นได้เช่นกันค่ะ


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Pruritus in the Elderly. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3351862/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
การติดเชื้อราที่เล็บเท้า
การติดเชื้อราที่เล็บเท้า

คุณมีเล็บเท้าที่หนาและเป็นสีเหลืองหรือไม่?

อ่านเพิ่ม