หลักการป้องกันอันตราย อันเกิดจากงานอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม

รวมคำแนะนำสำหรับการปฏิบัติตนหากต้องทำงานในอุตสาหรรมเครื่องจักร หรือสารเคมีที่เสี่ยงอันตราย
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
หลักการป้องกันอันตราย อันเกิดจากงานอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การทำงานในอุตสาหกรรมเครื่องจักร หรือสารเคมีที่เป็นอันตรายจำเป็นต้องคำนึงถึงความปลอดภัยทั้งก่อนเข้าทำงาน และขณะทำงาน เช่น มีตรวจสุขภาพ การเข้าฝึกอบรมเพื่อให้รู้จักเครื่องมือ และวิธีการใช้ มีการแจกอุปกรณ์ป้องกันขณะทำงานอย่างครบถ้วน
  • พนักงานในอุตสาหกรรมที่เสี่ยงอันตรายควรมีสติสัมปชัญญะ และจดจ่อยู่กับการทำงานตลอด ไม่ควรมีการหยอกล้อระหว่างทำงาน ปล่อยให้ร่างกายอ่อนเพลีย ใช้เครื่องจักรด้วยวิธีลัดขั้นตอน เพราะเสี่ยงทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
  • การแต่งตัวอย่างเหมาะสมจะช่วยป้องกันอันตรายจากเครื่องจัดการและสารเคมีได้ เช่น สวมชุดป้องกันไว้ตลอด เก็บรวมผมให้เรียบร้อยหากไว้ผมยาว งดใส่เครื่องประดับ มีการจัดเก็บอุปกรณ์ให้เป็นหมวดหมู่ทุกครั้ง
  • ผู้ประกอบการ หัวหน้าพนักงาน นายจ้าง คือ บุคลากรสำคัญที่ต้องลงไปตรวจสอบ และมีมาตรการออกกฎในการทำงานต่างๆ เพื่อความปลอดภัยของพนักงาน
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย

โรคที่เกิดเนื่องจากการทำงานจากสถิติต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นอันตรายถึงชีวิต หรือไม่ก็ต้องมีสภาพพิการ อาจถึงตลอดชีวิต หรือไม่ก็ต้องมีสภาพพิการ อาจถึงตลอดชีวิตก็ได้ อย่างไรก็ตามก็สามารถควบคุมป้องกันได้ โดยมีหลักการในการดำเนินงานดังนี้

การควบคุมป้องกันที่ตัวคนทำงาน

การคัดเลือกเจ้าหน้าที่เข้ามาทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกลในโรงงาน หรือเครื่องจักรกลในงานเกษตรกรรมเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ขั้นตอนที่ดำเนินการต่อไปคือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. ผู้ทำงาน

ต้องตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน และตรวจซ้ำทุก 2 ปี หากในโรงงานที่เกี่ยวกับสารพิษ หรืองานที่เสี่ยงควรตรวจสุขภาพประจำปี หากพบโรคที่เริ่มแรก ๆ ก็ง่ายต่อการรักษา

2. ทำการฝึกอบรม

ผู้ที่จะทำงานให้รู้จักเครื่องมือ และการใช้อย่างถูกต้อง และรู้วิธีป้องกัน และควบคุมที่จะไม่ให้เกิดโรคและอันตรายอันจะเกิดขึ้นได้

3. จัดหาเครื่องป้องกันให้คนทำงานใช้ และเครื่องจักรกลที่จะทำให้ผู้ทำงานได้รับอันตรายง่าย

เช่น แว่นตา หน้ากาก ถุงมือ เครื่องกันเสียงดัง หมวกกันน็อค เครื่องจักรกลเช่นใบเลื่อยใหย่ควรมีแผงเหล็กคอยกั้น แผ่นตะกั่ว หรือผนังที่หนาพอกันแสงรังสี เอ็กซเรย์ เพื่อไม่ให้รังสีนี้ผ่านเข้าไปสะสมในตัวแพทย์ พยาบาลเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานนี้ 

นอกจากนี้สารเคมีจำพวกสารละลาย ต้องจัดหาสารละลายที่มีพิษน้อยมาใช้แทนที่ สารพิษในรูปแบบยาฆ่าแมลงศัตรูพืช ควรมีการเก็บอย่างมิดชิด และไม่ใกล้เด็กๆ เล่น หรือเอื้อมถึงและมีตัวหนังสือบอกถึงเป็นสารพิษ ความสะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อยของโรงงานทำให้สุขภาพจิตของคนทำงานดี

หลักการป้องกันอันตรายในการทำงานในอุตสาหกรรมโรงงาน 

หากคุณเป็นเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในอุตสาหกรรมซึ่งเสี่ยงอันตรายจากเครื่องจักร หรือรังสี คุณควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำต่อไปนี้

  1. สวมชุดป้องกันขณะทำงานอยู่ตลอดเวลา เช่น แว่นตา รองเท้าหุ้มส้น หรือกันฉนวนไฟฟ้า หมวกนิรภัย ถุงมือ ที่ครอบหู และอย่าประมาท หรือคิดว่า ชุดที่ใส่ทำให้อึดอัด ไม่ใส่นิดหน่อยคงไม่เป็นไร เพราะเมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิดขึ้นมา จะไม่มีเครื่องป้องกันช่วยคุณได้ 
  2. หลีกเลี่ยงการใส่เครื่องประดับที่อาจไปเกี่ยว ห้อย พันกับเครื่องจักร หรือปนเปื้อนสารเคมี เช่น สร้อยข้อมือ สร้อยคอ แหวน
  3. ไม่ควรไว้ผมยาวรุงรัง หรือหากไว้ ก็ควรรวบเก็บให้เรียบร้อย 
  4. ไม่หยอกล้อกันขณะทำงาน เช่น ผลัก วิ่ง ทำให้ตกใจ เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุร่างกายไปสัมผัสถูกชิ้นส่วนอันตรายของเครื่องจักร หรือสารเคมีได้
  5. เก็บเครื่องมือต่างๆ ให้เป็นระเบียบทุกครั้ง โดยเฉพาะเครื่องมือที่แหลมคม เสี่ยงทำให้พิการ หรือสามารถกดทับร่างกายจนได้บาดเจ็บได้
  6. มีสติ ไม่เหม่อลอยขณะทำงาน เพื่อให้คุณสามารถจดจ่อยอยู่กับการทำงานกับวัตถุอันตรายได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้ร่างกายอ่อนเพลียระหว่างทำงานจนขาดสติ ก็เป็นสิ่งที่ควรทำเช่นกัน 
  7. เข้าออกงานตามเวลา การทำงานกับเครื่องจักร หรือสารเคมีมักทำให้ร่างกายอ่อนล้าง่าย หรือได้รับสารเคมีที่เป็นอันตรายเข้าร่างกายจนเกิดการสะสม พนักงานจึงควรมีเวลาเข้าออกงานอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ร่างกายยังคงสภาพความแข็งแรงไว้
    หัวหน้า หรือผู้จัดการที่ควบคุมดูแลยังควรบริการจัดการเวลาเข้าออกงาน กับจำนวนพนักงานที่มีให้เหมาะสมกับความปลอดภัยของพนักงานด้วย
  8. ปฏิบัติตามคำแนะนำสำหรับวิธีใช้เครื่องจักร หรือสารเคมีต่างๆ อย่างเคร่งครัด ไม่ควรทำงานลัดขั้นตอน เพื่อป้องกันความเสียหายของเครื่องจักร หรืออาจทำให้เครื่องจักรรวนจนเกิดอุบัติเหตุ
  9. มีการเก็บแยกอุปกรณ์ประกอบการทำงานเป็นหมวดหมู่ และเป็นที่ทางทุกครั้ง เพื่อให้ง่ายต่อการกลับมาใช้งาน และป้องกันความสับสนระหว่างอุปกรณ์ของพนักงานคนอื่น
  10. หากเกิดเหตุขัดข้องเกี่ยวกับเครื่องจักร หรือสารเคมี อย่าใช้มือเปล่า หรือร่างกายส่วนใดเข้าไปหยุดเครื่องจักรเด็ดขาด 
  11. มีการตรวจสอบมาตรฐานของเครื่องจักร อุปกรณ์บรรจุสารเคมีตามวันเวลาที่กำหนดอยู่เสมอ เพื่อให้คงมาตรฐานความปลอดภัยไว้

การควบคุมโรคและการป้องกันอุบัติเหตุ ต้องอาศัยความร่วมมือจากใครบ้าง?

การควบคุมโรคและการป้องกันอุบัติเหตุให้มีประสิทธิผล ต้องมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกันทั้ง 3 ฝ่าย เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. ฝ่ายเจ้าหน้าที่ของทางราชการ

ที่มีหน้าที่ในการดูแลสุขภาพคนทำงาน และโรงงานให้มีความปลอดภัย

  • กองอาชีวอนามัย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขดูแลสุขภาพ
  • กรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย ดูแลแรงงานการทำงาน เพศและอายุของผู้ทำงานให้เป็นไปตามระเบียบ
  • กองควบคุมโรงงาน กรมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม ดูแลโรงงานให้แข็งแรง ปลอดภัย มีสิ่งป้องกัน สิ่งอำนวยความสะดวก การกำจัดของเสียที่ออกจากโรงงาน การควบคุมทำอย่างเคร่งครัด และหมั่นตรวจตราอยู่เสมอ

2. ฝ่ายผู้ทำงานหรือลูกจ้าง

ต้องมีสุขภาพดีทั้งจิตใจ และร่างกาย ได้รับการฝึกอบรมอย่างดี ปฏิบัติตามคำแนะนำ และระเบียบอย่างเคร่งครัด เช่น ใช้เครื่องป้องกันอันตรายตามชนิดของงานถูกต้อง และปฏิบัติงานโดยไม่ประมาท

3. ฝ่ายเจ้าของผู้ประกอบการหรือนายจ้าง

ต้องมีคุณธรรมและให้ความร่วมมือกับทางราชการ และหน่วยงาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น จัดหาสิ่งป้องกันต่างๆ ทั้งแก่คนงาน และเครื่องจักรกล เพื่อความปลอดภัยของคนงานนอกจากนี้ยังมีการให้สวัสดิการด้านสุขภาพเงินทดแทนหรือชดเชยแก่คนงานตามที่กฎหมายแรงงานกำหนดไว้

ในโรงงานใด หรืองานใดทางผลผลิต ลดต้นทุน ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และเงินทดแทนเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ประโยชน์ก็จะสนองกลับให้เห็นอย่างชัดเจน

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Institute of Medicine (US) Committee to Assess Training Needs for Occupational Safety and Health Personnel in the United States. Safe Work in the 21st Century: Education and Training Needs for the Next Decade's Occupational Safety and Health Personnel. Washington (DC): National Academies Press (US); 2000. 2, Occupational Safety and Health Professionals. National Center for Biotechnology Information. (Available via: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK225528/)
7 common workplace safety hazards. Safety+Health Magazine. (Available via: https://www.safetyandhealthmagazine.com/articles/14054-common-workplace-safety-hazards)
Evolution of occupational health and safety; when was it introduced?. Lone Worker Protection Solutions from StaySafe. (Available via: https://staysafeapp.com/blog/2019/12/09/history-workplace-health-safety/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป