ความหมาย ของศัพท์ ที่ใช้ในวงการแพทย์แผนไทย

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ความหมาย ของศัพท์ ที่ใช้ในวงการแพทย์แผนไทย

ก่อนที่จะเข้าใจถึงการแพทย์แผนไทยจะต้องทำความเข้าใจถึงคำดั้งเดิมที่ใช้เรียกกันโดยทั่วไป ได้แก่ คำว่า “แพทย์แผนโบราณ” คำว่าโบราณ หมายถึง ของเก่าของดั้งเดิม การแพทย์แผนโบราณจึงหมายถึงการแพทย์ดั้งเดิม แต่ในแง่กฎหมายซึ่งมีมาแต่เดิมและยังใช้อยู่ในปัจจุบันได้ให้คำจำกัดความของการแพทย์แผนโบราณ ว่าหมายถึงการแพทย์ที่เรียนสืบต่อกันมาโดยไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นความหมายที่แคบมากทำให้ไม่สมมาถนำความรู้สมัยใหม่มาพัฒนาได้ ชาวต่างประเทศมีศัพท์ต่าง ๆ มากมาย และมีคามหมายแตกต่างกันไปทำให้เขาสามารถแยกแยะอะไรได้ชัดเจนกว่า ในที่นี้จะขอใช้หลักเกณฑ์สากลในการให้คำจำกัดความเพื่อให้เกิดความเข้าใจ และสามารถสื่อความหมายกับนานาชาติได้

การแพทย์พื้นบ้าน

a12.gif การแพทย์พื้นบ้าน ภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Folk Medicine หมายถึง การดูแลสุขภาพการรักษาโรคเฉพาะในกลุ่มชน โดยที่ยังไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน มักเน้นความเชื่อหรือประสบการณ์เฉพาะท้องถิ่น มีการสืบทอดหลากหลาย และมักถ่ายทอดโดยตรงระหว่างครูกับศิษย์ และเป็นการถ่ายทอดกันในครอบครัว ยังไม่มีระบบแบบแผนการบริการและการเรียนการสอนที่แน่นอน คำว่าการแพทย์พื้นบ้านจึงมีการใช้ได้อย่างกว้างขวางทั่วประเทศใช้เรียกการแพทย์ที่มีในเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะพื้นที่ที่ยังไม่มีการแพร่หลายไปในกลุ่มอื่น ๆ

เวชกรรมชาติพันธุ์

a12.gif เวชกรรมชาติพันธุ์ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Ethnomedicine หมายถึง ความเชื่อและวิธีปฏิบัติที่สัมพันธ์กับโรคภัยไข้เจ็บ อันเป็นผลมาจากการพัฒนาวัฒนธรรมพื้นบ้าน โดยมิได้มีเค้าโครงความคิดมาจากระบบการแพทย์สมัยใหม่อย่างแน่นอน การแพทย์นี้ก็คือการแพทย์พื้นบ้านที่มีความเชื่อและถือปฏิบัติกันมายานานจนกลมกลืนกับวัฒนธรรม เป็นวิถีชีวิตเฉพาะพื้นที่จนได้รับการยอมรับเป็นการแพทย์ประจำชนชาติเป็นเอกลักษณ์บ่งบอกถึงชาติพันธุ์นั้น ๆ

การแพทย์แผนเดิม

a12.gif การแพทย์แผนเดิม ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Traditional Medicine หมายถึง วิธีการดูแลรักษาโรคแบบโบราณ และการรักษาโรคตามวัฒนธรรมของกลุ่มชนชาติต่าง ๆ ที่มีก่อนหน้าการประยุกต์วิทยาศาสตร์เข้ามาใช้บางครั้งภาษาอังกฤษอาจใช้อีกคำคือ Indigineous Medicine เป็นการแพทย์ดั้งเดิม ใช้เรียกการแพทย์ที่เห็นเป็นระบบชัดเจน มีองค์ความรู้ที่สรุปเป็นทฤษฎี มีตำรา มีการให้บริการรวมทั้งมีการถ่ายทอดอย่างเป็นระบบ และมีการแพร่กระจายจนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง จะเห็นได้ว่าอาจเป็นการแพทย์ที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น โดยพัฒนามาจากการแพทย์พื้นบ้าน หรือการแพทย์เวชกรรม-ชาติพันธุ์ จนมีเอกลักษณ์เป็นวิถีชิวิตในการดูแลสุขภาพของคนในประเทศนั้น ๆ และมีความเป็นสากลจนสามารถเผยแพร่ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ หรือประเทศอื่น ๆ อย่างแพร่หลาย ปัจจุบันทั่วโลกมีการยอมรับการแพทย์ดั้งเดิม เช่น Ayurvedic medicine ของอินเดีย Chinese Medicine ของจีน และยูนานิ (Unani) ของกลุ่มมุสลิม เป็นต้น สำหรับการแพทย์แผนไทยจะจัดเป็น Traditional Medicine หรือเรียกว่า Thai Tradintionsl Medicine ได้หรือไม่ ก็คงต้องย้อนไปพิจาณาสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Legal Status of Traditional Medicine and Complementary/Alternative Medicine: A Worldwide Review: South-East Asia: Thailand. World Health Organization (WHO). (https://apps.who.int/medicinedocs/en/d/Jh2943e/8.9.html)
Introduction of the treatment method of Thai traditional medicine: its validity and future perspectives. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/9895186)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)