กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ระยะคลอดเนิ่นนาน (Prolonged labor)

เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ระยะคลอดเนิ่นนาน (Prolonged labor)

หากคุณมีการเจ็บครรภ์ถี่ขึ้นเกิน 18-24 ชั่วโมงแล้วยังไม่คลอด ต้องระวังว่าจะมีภาวะเจ็บครรภ์นานกว่าปกติ หรือ ระยะคลอดเนิ่นนาน ที่ต้องรีบ ไปโรงพยาบาลเพื่อรับการวินิจฉัยที่แน่นอนและรับการรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที

ประสบการณ์การคลอดบุตรเป็นประสบการณ์ที่ไม่ซ้ำกันสำหรับผู้หญิงทุกคน ไม่ว่าคุณจะเป็นแม่มือใหม่  หรือคุณแม่ที่มีอายุมากก็ตาม บางครั้งทารกก็เกิดมาเร็วมาก อย่างไรก็ตามก็มีทารกบางส่วนไม่เป็นไปตามนั้น ความสุขของคุณลืมตาดูโลกได้เร็วแค่ไหน ขึ้นอยู่กับหลายสิ่งหลายอย่างรวมกันในช่วงการเกิดระยะคลอด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ระยะคลอด เป็น ชุดของการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกอย่างหนักหน่วง และซ้ำๆ ถี่ๆ การหดตัวนี้จะช่วยดันลูกน้อยออกจากมดลูกและคลอดออกมาสู่โลกภายนอก

คุณอาจจะรู้สึกถึงการหดตัวในหลังส่วนล่างและบริเวณท้อง นี้เรียกว่าภาวะเจ็บครรภ์คลอด การหดตัวช่วยขยายระยะเปิดช่องคลอด (ซึ่งเรียกว่า ปากมดลูก) และจะช่วยให้ทารก ย้ายออกจากร่างกายของคุณและจะเกิดออกมาได้ง่ายขึ้น

โดยปกติ คุณแม่มักอยู่ในระยะคลอดซึ่งมีการหดตัวดังกล่าาว เป็นเวลาประมาณ 12 ถึง 18 ชั่วโมงโดยเฉลี่ย หากคุณเคยมีลูกมาก่อน ระยะคลอดมักจะสั้นกว่าปกติ อยู่ที่ประมาณครึ่งหนึ่งของระยะเวลานั้น

ระยะคลอดเนิ่นนาน (Prolonged labor) คืออะไร?

บางครั้งระยะคลอดกินระยะเวลานาน หรือการคลอดเกิดขึ้นช้าเกินไป ต้องเจ็บครรภ์คลอดอยู่เป็นระยะเวลานาน ระยะคลอดที่ยืดเยื้อนี้อาจหมายถึง "ความล้มเหลวในความก้าวหน้าของการคลอด"

ระยะคลอดที่ยืดเยื้อ ถูกวินิจฉัยได้ตามลำดับขั้นของระยะคลอดและเทียบกับการที่ปากมดลูกบางลง และเปิดกว้างได้อย่างเหมาะสมแค่ไหนในช่วงขั้นระยะคลอดนั้นๆ หากลูกน้อยของคุณไม่เกิดออกมาหลังจากประมาณ 20 ชั่วโมงของการหดตัวของมดลูกตามปกติ คุณมีแนวโน้มที่จะอยู่ในภาวะระยะคลอดเนิ่นนาน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญบางท่าน อาจวินิจฉัยว่าภาวะเกิดขึ้นหลังจาก 18 ถึง 24 ชั่วโมง ของการเจ็บครรภ์คลอดก็เป็นได้

แต่หากคุณกำลังตั้งครรภ์ฝาแฝด ระยะคลอดเนิ่นนาน คือระยะคลอดที่กินเวลานานกว่า 16 ชั่วโมงขึ้นไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แพทย์ของคุณอาจหมายเรียกการคลอดบุตรช้าเป็น " การเจ็บครรภ์คลอดไม่มีความก้าวหน้า" ก็ได้

ระยะคลอดเนิ่นนาน อาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่:

  • ทารกมีขนาดใหญ่มาก และไม่สามารถเคลื่อนผ่านช่องคลอดได้
  • ทารกอยู่ในตำแหน่งผิดปกติ ซึ่งโดยปกติแล้วทารกจะคว่ำหัวลง หันหน้าไปด้านหลังคุณ
  • ช่องกำเนิดมีขนาดเล็กเกินไป สำหรับลูกน้อยที่จะผ่านได้
  • การหดตัวของคุณเบามาก

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าระยะคลอดของคุณดำเนินช้าเกินไป?

ผู้หญิงส่วนใหญ่นึกถึงระยะคลอดที่รวดเร็ว และการกำเนิดบุตรที่รวดเร็วทันใจตามในสารคดี หรือละคร แต่ถ้ารู้สึกว่าระยะคลอดของคุณดูเหมือนจะช้ามาก ขอให้ สบายใจ ว่าแพทย์ พยาบาล แบะพยาบาลผดุงครรภ์จะเฝ้าระวัง ติดตามคุณและลูกน้อยอย่างใกล้ชิดหากมีปัญหาใด ๆ ในช่วงเวลานี้

ทีมแพทย์จะตรวจสอบว่า:

  • คุณมีการหดตัวของมดลูกบ่อยแค่ไหน
  • ความแข็งแรงของการหดตัวของคุณ

และอาจมีการตรวจเพิ่มเติมเหล่านี้:

  • สายสวนวัดความดันในมดลูก (Intrauterine Pressure Catheter – IUPC) - เป็นเครื่องมือวัดค่าทางชีวภาพลักษณะเป็นท่อเล็กๆ ซึ่งจะถูกวางไว้ในครรภ์ข้างๆ ทารก ซึ่งช่วยทั้งให้แพทย์ของคุณรู้ได้ว่ามีอาการหดตัวหรือไม่อย่างไร และหากแพทย์ของคุณไม่รู้สึกว่าการหดตัวนั้นมีความแข็งแรงเพียงพอ ก็สามารถจะใช้มาตรการอื่นๆ มาช่วยจัดการ
  • เครื่องติดตามสัญญาณชีพทารกอย่างต่อเนื่อง (Continuous electronic fetal monitoring - EFM) เพื่อวัดอัตราการเต้นของหัวใจทารก

ระยะคลอดเนิ่นนานได้รับการรักษาอย่างไร?

หากระยะคลอดของคุณดำเนินไปอย่างช้าๆคุ ณอาจได้รับคำแนะนำให้พักผ่อนสักครู่ บางครั้ง อาจได้รับยาบางชนิดเพื่อลดความเจ็บปวดของคุณและช่วยให้คุณผ่อนคลายลง คุณอาจรู้สึกอยากเปลี่ยนอิริยาบถ และตำแหน่งท่าทางดูบ้าง เพื่อให้รู้สึกว่าร่างกายสบายขึ้น

การรักษาเพิ่มเติมนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้ระยะคลอดของคุณเชื่องช้าลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากทารกอยู่ในบริเวณคลองกำเนิดแล้ว แพทย์หรือพยาบาลอาจใช้เครื่องมือพิเศษที่เรียกว่า คีม หรืออุปกรณ์ดูดสูญญากาศเพื่อช่วยดึงทารกออกทางช่องคลอด

หากแพทย์ของคุณรู้สึกว่าคุณต้องการการหดตัวของมดลูกที่แรงกว่านี้ หรือถี่ขึ้น คุณอาจจะได้รับยา Pitocin (oxytocin) ซึ่งยานี้จะช่วยเพิ่มอัตราการหดตัว และทำให้การหดตัวแข็งแรงขึ้น แต่ถ้าหลังจากที่แพทย์ของคุณรู้สึกว่าคุณลองเบ่งมามากเพียงพอแล้ว และระยะคลอดยังคงไม่เดินหน้า คุณอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดคลอดต่อไป

หากทารกตัวใหญ่เกินไป หรือยาที่ได้รับไม่ทำให้การคลอดเกิดได้เร็วขึ้นคุณจะต้องได้รับการผ่าตัดคลอดเป็นการรักษา

ความเสี่ยงของระยะคลอดเนิ่นนาน

ระยะคลอดเนิ่นนานเพิ่มโอกาสที่คุณจะต้องได้รับการผ่าตัดคลอด

ระยะคลอดที่ใช้เวลานานเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อทารกได้ อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิด:

  • ภาวะระดับออกซิเจนต่ำในทารก
  • จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติในทารก
  • สารผิดปกติในน้ำคร่ำ
  • การติดเชื้อในมดลูก

ซึ่งหากทารกอยู่ในภาวะทุกข์ทรมานหรือเป็นอันตรายดังกล่าว คุณจะต้องทำคลอดทันทีในกรณีฉุกเฉิน ถือเป็นช่วงเวลาที่ต้องได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดซึ่งสิ่งสำคัญต่อสุขภาพของคุณและลูกน้อยของคุณ

https://www.webmd.com/baby/guide/prolonged-labor-causes-treatments#1


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Labor complications: 10 common problems. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/307462)
Diverse definitions of prolonged labour and its consequences with sometimes subsequent inappropriate treatment. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4105110/)
Prolonged Labor: Causes and Treatment. WebMD. (https://www.webmd.com/baby/guide/prolonged-labor-causes-treatments#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม