กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

“การผัดวันประกันพรุ่ง” ส่งผลต่อสุขภาพได้อย่างไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 15 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
“การผัดวันประกันพรุ่ง” ส่งผลต่อสุขภาพได้อย่างไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การผัดวันประกันพรุ่งสามารถทำให้เกิดความเครียดได้ เพราะเมื่อจะต้องเลื่อนสิ่งที่ต้องทำออกไป คุณอาจกลับมานั่งกังวลในภายหลังว่าจะสามารถทำในสิ่งที่วางแผนไว้สำเร็จตามเป้าหรือไม่
  • ความเครียดสามารถส่งผลให้การนอนหลับในแต่ละคนแย่ลงได้ เพราะไม่สามารถปล่อยวางจิตใจให้ผ่อนคลายจนสามารถหลับได้ และอาจต้องพึ่งยานอนหลับ
  • ผู้ที่ผัดวันประกันพรุ่งยังอาจมีพฤติกรรมที่ส่งผลทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงได้อีก เช่น ไม่รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ออกกำลังกายหรือผัดวันออกไปเรื่อยๆ ละเลยการไปตรวจสุขภาพ
  • การตั้งเป้าหมายสำหรับกิจกรรม หรืองานในแต่ละวันสามารถช่วยให้คุณจัดลำดับความสำคัญ และรู้ว่า ตนเองมีอะไรต้องทำบ้างในแต่ละวันได้ ความเครียดจากการผัดวันประกันพรุ่งก็จะค่อยๆ บรรเทาลง
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาสุขภาพจิต

การผัดวันประกันพรุ่งถือเป็นหนึ่งในนิสัยที่ส่งผลต่อชีวิตของเรา หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่ชอบดองงาน ทำตัวสบายๆ แล้วค่อยมาเร่งทำงานในช่วงนาทีสุดท้าย หรือเมื่อใกล้ถึงวันครบกำหนด คุณควรรู้ไว้ว่า พฤติกรรมเหล่านี้สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณในภายหลัง 

ความเชื่อมโยงของการผัดวันประกันพรุ่งกับสุขภาพ

การผัดวันประกันพรุ่งสามารถส่งผลต่อสุขภาพได้ 2 ทาง คือ ความเครียด และพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ นอกจากนี้มันยังมีส่วนทำให้เราวิตกกังวลและมีอาการซึมเศร้า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. ผลกระทบของความเครียด

การเลื่อนงานส่งออกไปสามารถทำให้คุณเครียดได้ในภายหลัง เพราะคุณต้องรีบทำงานให้ทันตามกำหนด คุณอาจคิดว่า ตนเองทำงานทัน แต่ใครจะรู้ว่า เมื่อใกล้ถึงกำหนดเวลา คุณอาจมีเหตุไม่คาดคิดที่ทำให้การส่งงานต้องเลื่อนออกไปก็ได้ 

ความเครียดมีความสัมพันธ์กับการเจ็บป่วยหลายประเภท ตั้งแต่การปวดศีรษะ การเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ การปวดหลัง หรือแม้แต่เจ็บคอไปจนถึงการเป็นโรคหัวใจ และการมีความดันโลหิตสูง 

นอกจากนี้คนที่ผัดวันประกันพรุ่งมีแนวโน้มที่จะมองตัวเองในแง่ลบ และกดดันตัวเองมากขึ้น อีกทั้งสามารถเกิดโรควิตกกังวลได้เพราะไม่สามารถทำในสิ่งที่วางแผนไว้ได้ตามที่คิด จนสะสมเป็นความกังวลในภายหลังว่า จะสามารถทำแผนการในอนาคตสำเร็จตามเป้าหรือไม่ 

2. คุณภาพการนอน

คนที่ผัดวันประกันพรุ่งเป็นประจำมักมีปัญหากับการนอน โดยจะนอนน้อยในช่วงกลางคืน ทำให้รู้สึกง่วงนอนในระหว่างวัน และอาจต้องรับประทานยานอนหลับ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะพวกเขาประสบกับความเครียด ทำให้ไม่สามารถผ่อนคลายจิตใจให้หลับได้นั่นเอง

3. โรคหัวใจ และหลอดเลือดและภาวะความดันโลหิตสูง

การผัดวันประกันพรุ่งเป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดและภาวะความดันโลหิตสูงได้ เพราะความเครียด ความวิตกกังวลมีผลทำให้ผนังหลอดเลือดหดเกร็งจนทำความดันเลือดสูงขึ้น รวมถึงทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น

4. อันตรายต่อสุขภาพ และระบบภูมิคุ้มกัน

เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ผัดวันประกันพรุ่ง มีการค้นพบว่า คนที่ผัดวันประกันพรุ่งมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำ และมีแนวโน้มที่จะป่วยบ่อยกว่าปกติ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงได้กับพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพในภาพรวม เช่น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • การไม่ได้รับประทานอาหารที่เหมาะสม 
  • การไม่ได้ออกกำลังกาย 
  • การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือชอบนอนดึก 
  • การละเลยในการไปตรวจสุขภาพ 
  • การบริโภคแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ เสพสารเสพติด 

นอกจากนี้ความเครียดก็มีส่วนสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันเช่นกัน เพราะเมื่อเรารู้สึกเครียด และกดดันเมื่อใกล้ถึงวันที่ต้องส่งงาน ร่างกายก็จะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา ซึ่งเป็นตัวที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของเรา และทำให้เราเจ็บป่วยได้ในที่สุด 

ยิ่งไปกว่านั้น สุขภาพจิตของคนที่ผัดวันประกันพรุ่งก็ย่ำแย่เช่นกัน คนเหล่านี้จะรู้สึกพอใจในตัวเองลดลง วิตกกังวล หรือแม้แต่มีอาการซึมเศร้า

หากคุณรู้ตัวว่ามีนิสัยดังกล่าว และไม่รู้ว่าจะเลิกทำได้อย่างไร คุณอาจเริ่มต้นโดยการทำตารางการทำงานในแต่ละวันว่า มีเป้าหมายจะทำงานอะไรให้เสร็จบ้าง หรือต้องการจะทำอะไรบ้างในแต่ละวัน โดยอาจเริ่มจากงาน และกิจกรรมเล็กๆ 

เมื่อคุณทำสิ่งเหล่านั้นสำเร็จ คุณอาจรู้สึกว่า ตนเองมีความสามารถที่จะสะสางงาน และสิ่งที่ต้องทำตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ และความเครียดที่เกิดจากการผัดวันประกันพรุ่งนี้ก็จะค่อยๆ หายไป

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาสุขภาพจิต จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


20 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Procrastination is a Mindfulness Problem. zen habits. (Available via: https://zenhabits.net/read-now/)
Why your brain loves procrastination. Vox. (Available via: https://www.vox.com/2014/12/8/7352833/procrastination-psychology-help-stop)
Procrastination: Does it have any benefits?. Medical News Today. (Available via: https://www.medicalnewstoday.com/articles/325108)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
12 วิธีในการจัดการความเครียดระหว่างการตั้งครรภ์
12 วิธีในการจัดการความเครียดระหว่างการตั้งครรภ์

เราจะสามารถกลับมาควบคุมชีวิตตัวเองได้อีกครั้ง?

อ่านเพิ่ม
การคลายความเครียดสำหรับเด็ก
การคลายความเครียดสำหรับเด็ก

การคลายความเครียดสำหรับเด็ก : จะทำให้การผ่อนคลายความเครียดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของเด็กได้อย่างไร

อ่านเพิ่ม