เตรียมตัวให้พร้อมก่อนถึงวันคลอด

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 6 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
เตรียมตัวให้พร้อมก่อนถึงวันคลอด

ยิ่งใกล้ถึงวันคลอดลูกมากเท่าไร ก็ยิ่งเพิ่มความตื่นเต้นและกังวลให้กับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกลัวการเจ็บเวลาคลอด เป็นห่วงความปลอดภัยของทารกในครรภ์หากเป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรกด้วยแล้วจะมีทั้งความกังวลและตื่นเต้น ดังนั้นการเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อรับมือกับวันคลอดจะช่วยลดความกังวลไปได้มาก

การเตรียมตัวก่อนคลอดนั้น นอกจากจะต้องเตรียมร่างกายของคุณแม่ให้แข็งแรงแล้ว เรายังต้องเตรียมเครื่องใช้ต่างๆ สำหรับเด็กแรกเกิด จัดเตรียมห้องนอนและของใช้ เมื่อต้องพักฟื้นหลังจากคลอด และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการคลอดลูกเพื่อให้เกิดความคุ้นเคย ฝึกการหายใจ การผ่อนคลาย และการควบคุมกล้ามเนื้อหายใจ ซึ่งมักจะเริ่มฝึกกันตั้งแต่อายุครรภ์เหลือ 6 - 10 สัปดาห์ก่อนคลอด นอกจากจะให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์เป็นผู้ฝึกแล้ว ฝ่ายสามีก็อาจจะเข้าฝึกวิธีการช่วยเหลือหญิงตั้งครรภ์ เพื่อช่วยลดความเจ็บปวดขณะคลอด ซึ่งสามีจะเป็นกำลังใจได้อย่างดีในห้องคลอด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
แนะนำคุณแม่มือใหม่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 297 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ในปัจจุบันมีหลักสูตรเตรียมตัวก่อนคลอดมากมายและหลายรูปแบบ ดังนั้นการตัดสินใจเลือกเข้าเรียนควรพิจารณาข้อมูลต่างๆ ดังนี้

สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจเข้าเรียนคลาสเตรียมตัวก่อนคลอด

  • เข้าชั้นเรียนที่จัดโดยโรงพยาบาลที่คุณแม่ฝากครรภ์ไว้ หรือขอคำแนะนำจากแพทย์ที่ดูแลว่าควรเข้าชั้นเรียนแบบไหนเพื่อให้เหมาะกับแผนการดูแลครรภ์ของแพทย์นั้นๆ
  • อย่าเชื่อคำโฆษณาที่อวดอ้างเกินจริง
  • ตรวจดูเนื้อหาของหลักสูตรว่าจะต้องเรียนรู้ว่ามีอะไรบ้าง มีสิ่งที่ต้องการเรียนรู้หรือไม่
  • การจัดชั้นเรียนเป็นอย่างไร มีการพบปะคนที่ผ่านการคลอดมาบ้างหรือไม่ เป็นต้น

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
5 positive ways to prepare for labour (https://www.tommys.org/pregnan...)
Preparing for delivery. American Academy of Pediatrics. (https://www.healthychildren.or...), 16 November 2009
Evonne Lack, 10 smart ways to prepare for your baby's birth, (https://www.babycenter.com/0_1...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม