PrEP คืออะไร ?

เผยแพร่ครั้งแรก 29 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
PrEP คืออะไร ?

PrEP ย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxis เป็นยาสำหรับรับประทานทุกวัน เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV จากการมีเพศสัมพันธ์ได้ถึง 90%

ใครบ้างควรได้รับยา PrEP

PrEP ไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน  PrEP เป็นยาสำหรับคนที่ยังไม่ได้ติดเชื้อ HIV แต่มีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อ HIV  ถ้าคุณมีกรณีดังต่อไปนี้ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนรับยา PrEP:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัยเป็นประจำ
  • คู่ของคุณติดเชื้อ HIV
  • คู่ของคุณมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV (เช่น มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักหรือช่องคลอดกับคนอื่นโดยไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย หรือเป็นผู้เสพยาเสพติดทางเส้นเลือด)
  • มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักหรือช่องคลอดกับหลายคน โดยเฉพาะถ้าคุณไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัยเป็นประจำ
  • เคยป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองในเทียม หนองใน หรือซิฟิลิส
  • ทำอาชีพขายบริการทางเพศ ทั้งทางช่องคลอดหรือทวารหนัก
  • เสพยาเสพติดทางเส้นเลือด ใช้เข็มฉีดยา ร่วมกับผู้อื่น

ถ้าคุณมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV และเป็นหญิงตั้งครรภ์, หญิงที่วางแผนจะตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ยา PrEP อาจช่วยคุณและทารกของคุณไม่ให้ติดเชื้อ HIV ได้

แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าความเสี่ยงของคุณจำเป็นต้องได้รับยา PrEP หรือไม่  บอกความจริงกับแพทย์ แพทย์จะช่วยเหลือคุณเอง  ข้อมูลทางการแพทย์ที่ถูกต้องสามารถปรึกษาได้จากแพทย์ของท่าน ซึ่งจะช่วยให้คุณได้รับการดูแลที่ดี

ยา PrEP ไม่ใช่ยาเดียวกับ PEP (post-exposure prophylaxis)  ยา PEP เป็นยาที่รับประทานในระยะเวลาสั้นๆ สำหรับคนที่เพิ่งสัมผัสกับเชื้อ HIV มาในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง  แต่ยา PrEP เป็นยาที่ต้องกินทุกวันสำหรับคนที่มีโอกาสจะสัมผัสกับเชื้อ HIV ในอนาคต

ประสิทธิภาพของยา PrEP เป็นอย่างไร

ถ้าคุณรับประทานยา PrEP อย่างถูกต้อง ยานี้จะลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV จากการมีเพศสัมพันธ์ได้มากกว่า 90%  การใช้ถุงยางอนามัยร่วมกับการรับประทานยา PrEP จะช่วยให้คุณปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ยา PrEP จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV จากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันได้มากกว่า 70%

ดังนั้นสำคัญที่สุดคือต้องรับประทานยา PrEP ทุกวัน  หากคุณลืมรับประทานยาจะทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลงทันที ถ้าคุณไม่ได้รับประทานยานี้ทุกวัน จะทำให้ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้

ยา PrEP ไม่ได้ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น หนองใน และหนองในเทียม ดังนั้นการใช้ถุงยางอนามัยร่วมกับการรับประทานยา PrEP จะช่วยป้องกันการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ รวมถึงเพิ่มการป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้มากยิ่งขึ้นด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผลข้างเคียงของ PrEP มีอะไรบ้าง

  • ยา PrEP มีความปลอดภัย  โดยทั่วไปไม่พบปัญหาที่ร้ายแรงในผู้ที่ได้รับยา PrEP
  • ยา PrEP อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ เบื่ออาหาร และปวดศีรษะได้ ซึ่งไม่ใช่ผลข้างเคียงที่อันตราย และอาการจะดีขึ้นได้เองเมื่อรับประทานยาต่อไปซักระยะหนึ่ง  ผู้คนส่วนใหญ่ที่รับประทานยา PrEP ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ที่น่ากังวล
  • แต่ถ้าคุณมีผลข้างเคียงจากการรับประทานยานี้ และผลข้างเคียงนั้นเป็นอยู่นาน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์

ฉันจะรับยา PrEP ได้อย่างไร

โรงพยาบาลหลายแห่ง หรือคลินิกนิรนามสามารถจ่ายยานี้ให้คุณได้ แพทย์จะสอบถามข้อมูลเกี่ยวประวัติการมีเพศสัมพันธ์ของคุณ การป้องกันระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ประวัติทางการแพทย์ของคุณ เพื่อพิจารณาว่ายา PrEP เหมาะสำหรับคุณหรือไม่  และก่อนจะได้รับยานี้จะต้องมีการตรวจ HIV, ไวรัสตับอักเสบบี และ ซี รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ  รวมถึงตรวจการทำงานของไต เพื่อยืนยันว่าทุกอย่างปกติดีก่อนได้รับยา PrEP

อาจเป็นไปได้ที่แพทย์บางท่านไม่มีประสบการณ์ในการจ่ายยา PrEP ซึ่งเขาจะไม่จ่ายยานี้ให้กับคุณ ดังนั้นคุณอาจจะต้องเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทางด้านโรคติดเชื้อที่มีประสบการณ์

มีอะไรอีกบ้างที่ควรรู้ขณะกำลังได้รับยา PrEP

เมื่อคุณได้รับยา PrEP คุณจำเป็นต้องกลับไปพบแพทย์เพื่อตรวจ HIV ซ้ำทุกๆ 3 เดือน ซึ่งในการกลับไปพบแพทย์ แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับผลข้างเคียงหรืออาการที่เกิดขึ้น และอาจมีการตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ตรวจการทำงานของไต หรือถ้าหากคุณมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ แพทย์อาจพิจารณาตรวจการตั้งครรภ์ด้วย

สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อให้มั่นใจว่าคุณยังมีสุขภาพที่แข็งแรงและไม่ติดเชื้อ HIV แม้ว่าโอกาสของการติดเชื้อ HIV ระหว่างการรับประทานยา PrEP สม่ำเสมอจะมีน้อยก็ตาม  แต่ถ้าหากระหว่างการรับประทานยา PrEP แล้วคุณเกิดติดเชื้อ HIV ขึ้นมา สิ่งสำคัญที่สุดคือแพทย์จะให้คุณหยุดใช้ยา PrEP ทันที เพราะยา PrEP ไม่ได้เป็นยาสำหรับรักษา – ความจริงก็คือ ถ้าคุณติดเชื้อ HIV แต่รับประทานยา PrEP จะทำให้เชื้อ HIV ยากต่อการรักษาได้

ยา PrEP มีค่าใช้จ่ายเท่าไร

โปรดสอบถามราคาค่าใช้จ่ายที่สถานพยาบาลที่คุณเข้ารับบริการ


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
HIV: PrEP and PEP. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/hivprepandpep.html)
Appropriate medicines: options for pre-exposure prophylaxis. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/hiv/pub/prep/appropriate-medicine-prep/en/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)