กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

การพัฒนาของทารกในครรภ์

เปิดปฏิทิน 9 เดือนของการตั้งครรภ์ ลูกน้อยมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง
เผยแพร่ครั้งแรก 31 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 21 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
การพัฒนาของทารกในครรภ์

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การปฏิสนธิจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อสเปิร์มเข้าผสมกับไข่ ในระยะนี้เพศของตัวอ่อนจะถูกกำหนดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยถ้าในสเปิร์มมีโครโมโซม X จะได้ตัวอ่อนเพศหญิง แต่ถ้าในสเปิร์มมีโครโมโซม Y จะได้ตัวอ่อนเพศชาย
  • ในช่วงเดือนแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่สามารถใช้ชุดตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตนเองได้ หากผลทดสอบออกมาว่า "กำลังตั้งครรภ์" แนะนำให้รีบไปตรวจการตั้งครรภ์โดยแพทย์อีกครั้งเพื่อยืนยันผลตรวจอีกครั้ง และดำเนินการฝากครรภ์ต่อไป
  • หลังตั้งครรภ์ย่างเข้าสู่เดือนที่ 3 ทารกในครรภ์จะมีขนาดตัวยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร และหลังจากสัปดาห์ที่ 8 ของการตั้งครรภ์ ลูกน้อยของคุณจะเปลี่ยนจากคำเรียกว่า"ตัวอ่อน" เป็นคำว่า "ทารกในครรภ์" แทน
  • ในเดือนที่ 4 ของการตั้งครรภ์ คุณสามารถอัลตราซาวด์เพื่อดูเพศของลูกน้อยได้แล้ว ในช่วงก่อนเข้าอายุครรภ์เดือนที่ 5 ขนาดตัวของทารกก็ใหญ่ขึ้นอยู่ที่ประมาณ 11-12 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 100 กรัม
  • ในเดือนที่ 7 ของการตั้งครรภ์ ทารกสามารถตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นอื่นๆ นอกจากเสียง เช่น การกระแทก การสัมผัส รวมถึงแสงสว่างได้ ส่วนปริมาณน้ำคร่ำจะเริ่มลดลง ทารกที่คลอดก่อนกำหนดในช่วงระยะนี้จะมีโอกาสรอดชีวิตค่อนข้างสูง
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจแนะนำคุณแม่มือใหม่

เมื่อตั้งครรภ์ คุณแม่ทุกคนคงจะอยากรู้ถึงการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อยในท้องว่าเป็นอย่างไรบ้าง การดูภาพอัลตราซาวด์ (Ultrasound) ในแต่ละครั้งจะเต็มไปด้วยความตื่นเต้นทุกครั้ง 

แม้ว่าระยะแรกๆ คุณจะได้เห็นตั้งแต่จุดเงาเล็กๆ ที่แทบดูไม่ออกว่าคืออะไร แต่ครั้งต่อๆ มาจากจุดเงาเล็กๆ ก็จะเริ่มเห็นรูปร่างเจ้าตัวน้อยๆ มากขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงเห็นอวัยวะอื่นๆ ชัดเจนขึ้นและมีรูปร่างเป็นทารก

ด้านล่างนี้คือ ตัวอย่างภาพแสดงพัฒนาการของทารกในครรภ์ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

พัฒนาการในแต่ละเดือนของทารก

การปฏิสนธิจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อสเปิร์มเข้าผสมกับไข่ ในระยะนี้เพศของตัวอ่อนจะถูกกำหนดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยถ้าในสเปิร์มมีโครโมโซม X จะได้ตัวอ่อนเพศหญิง แต่ถ้าในสเปิร์มมีโครโมโซม Y จะได้ตัวอ่อนเพศชาย 

หลังจากนั้นไข่จะมีการแบ่งเซลล์ แล้วเคลื่อนไปฝังตัวที่ผนังมดลูก จากนั้นจึงค่อยๆ พัฒนาระบบประสาทและอวัยวะอื่นๆ ขึ้นจนกลายเป็นทารกที่สมบูรณ์ โดยการตั้งครรภ์ปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 9 เดือน  

เดือนที่ 1 

ทารกยังเป็นแค่ตัวอ่อนความยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร และเริ่มมีของเหลวปกคลุมโดยรอบทีละนิดเรียกว่า "ถุงน้ำคร่ำ" และเริ่มมีการพัฒนาโครงสร้างของร่างกายดังต่อไปนี้

  • เริ่มมีโครงสร้างทรงกลมสีดำของลูกตาก่อน
  • ในส่วนของปากจะเริ่มมีโครงสร้างกรามล่างและลำคอ 
  • เซลล์เม็ดเลือดเริ่มจับกลุ่มเป็นรูปร่าง และระบบไหลเวียนเลือดเริ่มทำงาน 
  • หัวใจเริ่มมีอัตราการเต้นอยู่ที่ 65 ครั้งต่อนาที จนกระทั่งถึงช่วงสัปดาห์ที่ 4 ของการตั้งครรภ์ 
  • ส่วนลำตัวยังมีลักษณะคล้ายหางลูกอ๊อด และเตรียมจะพัฒนาเป็นกระดูกสันหลัง 
  • มีการพัฒนาอวัยวะสำคัญอื่นๆ เช่น เส้นเลือด ปอด กระเพาะ ตับ และเป็นช่วงที่คุณแม่สามารถใช้ชุดตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตนเองได้ 

หากผลทดสอบออกมาว่า "คุณกำลังตั้งครรภ์" ขอแนะนำให้รีบไปตรวจการตั้งครรภ์โดยแพทย์อีกครั้ง เพื่อยืนยันผลตรวจและสร้างความมั่นใจอีกครั้ง 

หากการยืนยันผลการตั้งครรภ์ออกมาตรงกัน ขั้นตอนต่อไปที่จำเป็นต้องทำคือ การฝากครรภ์ ที่โรงพยาบาล คลินิก หรือสถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อให้ครรภ์ได้อยูในความดูแลของแพทย์และพยาบาลตั้งแต่เนิ่นๆ จนกระทั่งถึงกำหนดคลอด

เดือนที่ 2

ขนาดตัวของทารกจะเติบโตขึ้นประมาณเท่าผลเชอร์รี่ โครงสร้างของใบหน้าเริ่มชัดเจนมากขึ้น หากมีการอัลตราซาวด์ก็จะเริ่มเห็นสันจมูกเล็กๆ ศีรษะเริ่มมีขนาดใหญ่กว่าขนาดร่างกายทั้งหมดของทารก 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
แนะนำคุณแม่มือใหม่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 297 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อีกทั้งหูทั้ง 2 ข้างจะเริ่มมีรอยพับเป็นรูปร่างชัดเจนกับศีรษะ แขนและขาเริ่มเจริญเติบโตยื่นออกมา รวมถึงนิ้วมือ และนิ้วเท้าด้วย นอกจากนี้ ทารกยังจะเริ่มมีการพัฒนาเกี่ยวกับอวัยวะภายในดังต่อไปนี้ 

  • อวัยวะเกี่ยวกับระบบประสาทเริ่มมีการเจริญเติบโตเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น เช่น สมอง กระดูกไขสันหลัง 
  • ทางเดินอาหารและอวัยวะรับความรู้สึกต่างๆ เช่น ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง เริ่มมีพัฒนาการมากขึ้น
  • กระดูกเริ่มเข้าไปแทนที่โครงสร้างกระดูกอ่อน

หลังจากการตั้งครรภ์ใกล้ย่างเข้าสู่เดือนที่ 3 ทารกในครรภ์จะมีขนาดตัวยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร และหลังจากสัปดาห์ที่ 8 ของการตั้งครรภ์ ลูกน้อยของคุณจะเปลี่ยนจากคำเรียกว่า"ตัวอ่อน" เป็นคำว่า "ทารกในครรภ์" แทน

เดือนที่ 3

ช่วงเดือนที่ 3 นี้ เป็นเดือนที่รูปร่างของทารกจะพัฒนาอย่างเต็มที่แล้ว และจะมีขนาดตัวอยู่ที่ประมาณ 5 เซนติเมตร 

อีกทั้งจะเริ่มมีการเคลื่อนไหวซึ่งคุณแม่อาจเริ่มรู้สึกได้บริเวณส่วนบนของมดลูกและเหนือกระดูกหัวเหน่า เมื่อใช้เครื่องมือฟังเสียงทารกในครรภ์ คุณแม่จะเริ่มจับเสียงหัวใจเต้นของลูกได้ 

พัฒนาการการเจริญเติบโตของทารกในช่วงที่ 3 สามารถแจกแจงได้ต่อไปนี้

  • รูปร่างของแขน มือ เท้า นิ้วมือ และนิ้วเท้า มีการเจริญเติบโตโดยสมบูรณ์แล้ว 
  • นิ้วมือ นิ้วเท้า เริ่มมีพัฒนาการ หรือสามารถขยับได้มากขึ้น
  • หูชั้นนอกเริ่มมีรูปร่าง
  • ฟันของทารกจะเริ่มพัฒนาในช่วงเดือนนี้
  • ระบบสืบพันธุ์และอวัยวะเพศของทารกจะเริ่มมีการพัฒนา แต่เพศของทารกยังยากที่จะแยกแยะได้ผ่านการอัลตราซาวด์

เมื่อการตั้งครรภ์เริ่มเข้าสู่เดือนที่ 4 ระบบไหลเวียนเลือดและระบบขับถ่ายของทารกจะเริ่มทำงาน ตับจะเริ่มผลิตน้ำดีออกมา โดยปกติแล้ว หากพัฒนาการของทารกในระยะการตั้งครรภ์เดือนที่ 3 ไม่มีความผิดปกติใดๆ โอกาสที่คุณแม่จะเกิดการแท้งบุตรจะเกิดขึ้นได้น้อย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
แนะนำคุณแม่มือใหม่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 297 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เดือนที่ 4

คุณสามารถได้ยินเสียงหัวใจของลูกน้อยได้ชัดเจนขึ้น โดยฟังผ่านเครื่องดอพเพลอร์ อัลตราซาวด์ (Doppler ultrasound) ส่วนการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการทางด้านร่างกายจะมีดังต่อไปนี้

  • เปลือกตา ขนตา คิ้ว เล็บ และผมเริ่มเป็นรูปร่าง
  • มวลกระดูกและฟันมีความหนาแน่นมากขึ้น
  • ทารกสามารถอมหัวแม่มือ หาว ยืดตัว และแสดงสีหน้าออกมาได้แล้ว
  • ทารกมีลายนิ้วมือและนิ้วเท้าแล้ว
  • ระบบประสาทของเด็กเริ่มทำงานได้แล้ว รวมถึงระบบสืบพันธุ์และอวัยวะเพศด้วย 
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือดมีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์

ในเดือนที่ 4 ของการตั้งครรภ์นี้ คุณสามารถอัลตราซาวด์เพื่อดูเพศของลูกน้อยได้แล้ว ในช่วงก่อนเข้าอายุครรภ์เดือนที่ 5 ขนาดตัวของทารกก็ใหญ่ขึ้นอยู่ที่ประมาณ 11-12 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 100 กรัม

เดือนที่ 5

ในระยะนี้ คุณแม่บางรายอาจเริ่มรู้สึกได้เวลาที่ลูกน้อยดิ้น ขยับกล้ามเนื้อ หรือออกกำลังเปลี่ยนท่าทาง อีกทั้งขนาดตัวของทารกก็จะเริ่มขยายขนาดขึ้นเป็น 15 เซนติเมตร และมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 280 กรัม 

ระดับมดลูกของคุณแม่ในช่วงระยะนี้ควรจะอยู่ที่ระดับสะดือ และทารกจะมีพัฒนาการมากขึ้นดังต่อไปนี้ 

  • ผมเริ่มขึ้นบนศีรษะ
  • บริเวณขมับ ไหล่ แผ่นหลัง เริ่มมีขนอ่อน (Lanugo) ขึ้นซึ่งโดยปกติจะหลุดลอกออกไปเมื่อทารกมีอายุได้ประมาณ 1 สัปดาห์
  • มีไขมันสีขาวปกคลุมผิวหนังเพื่อให้ความชุ่มชื้นและสำหรับป้องกันผิวของทารกเมื่อแรกเกิด สามารถเรียกได้อีกชื่อว่า "ไขทารกแรกเกิด (Vernix Caseosa)" ซึ่งไขมันเหล่านี้จะหลุดออกไปเมื่อเด็กคลอดออกมาแล้ว
  • ทารกสามารถดูดนิ้ว หาว บิดขี้เกียจ มีการแสดงออกทางหน้าตา เช่น ยิ้ม ได้แล้ว

เดือนที่ 6

เป็นเดือนที่แพทย์มักจะแนะนำให้คุณแม่เริ่มทำอัลตราซาวด์ เพื่อตรวจว่า ลูกน้อยในครรภ์มีการเจริญเติบโตที่ปกติดีหรือไม่ อีกทั้งคุณแม่จะได้เห็นการเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหวของแขนขาทารกจากการอัลตราซาวด์ด้วย และจะได้เห็นเพศของทารกชัดที่สุดในเดือนนี้

สำหรับพัฒนาการของทารกในเดือนที่ 6 ของการตั้งครรภ์มีดังต่อไปนี้

  • ผิวของเด็กจะออกไปในทางสีแดง มีริ้วรอยเหี่ยวย่น
  • ลายนิ้วมือเห็นชัดเจนขึ้น
  • เปลือกตาเริ่มมีการแบ่งชัดและสามารถลืมตาได้
  • ทารกจะเริ่มมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับเสียงภายนอกโดยการเคลื่อนไหว หรือหัวใจเต้นเร็วขึ้น และคุณแม่อาจรู้สึกกระตุกได้ถ้าลูกน้อยสะอึก ซึ่งพัฒนาการนี้อาจเกิดขึ้นได้ในเดือนที่ 7 ของการตั้งครรภ์ในคุณแม่บางราย

นอกจากนี้ในระยะการตั้งครรภ์ช่วงนี้ซึ่งใกล้ถึงเวลาคลอดเข้ามาทุกที หากคุณแม่จำเป็นจะต้องมีคลอดก่อนกำหนด ทารกจะมีโอกาสรอดชีวิตสูงหลังจากอยู่ในครรภ์มามากกว่า 23 สัปดาห์แล้ว แต่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้วย

เดือนที่ 7

ทารกจะเริ่มสะสมไขมันของร่างกายและจะยังคงพัฒนาการเจริญเติบโตของร่างกายไปเรื่อยๆ อีกทั้งประสิทธิภาพการได้ยินของทารกจะสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่แล้ว 

ดังนั้นคุณแม่อย่าแปลกใจหากช่วงนี้ลูกน้อยจะมีการเปลี่ยนท่า หรือดิ้นบ่อยเป็นพิเศษ เพราะเขาเริ่มจะได้ยินเสียงต่างๆ ที่อยู่ภายนอกมากขึ้นนั่นเอง

นอกจากนี้ทารกยังสามารถตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นอื่นๆ นอกจากเสียง เช่น การกระแทก การสัมผัส รวมถึงแสงสว่างด้วย ส่วนปริมาณน้ำคร่ำจะเริ่มลดลง ทารกที่คลอดก่อนกำหนดในช่วงระยะนี้จะมีโอกาสรอดชีวิตค่อนข้างสูง

เดือนที่ 8

เป็นช่วงโค้งสุดท้ายที่ลูกน้อยจะคลอดแล้ว ดังนั้นร่างกายของทารกจึงมีขนาดเติบโตเต็มที่ จนทำให้คุณแม่ท้องแก่เริ่มขยับร่างกายลำบากขึ้น ช่วงนี้ทารกอาจมีน้ำหนักมากถึงประมาณ 1,200 กรัมเลย และมักจะดิ้น เตะ เปลี่ยนท่า หรือชอบโต้ตอบกับสิ่งกระตุ้นต่างๆ ด้วย 

นอกจากการเคลื่อนไหวแล้ว ในระยะของอายุครรภ์นี้ ทารกจะสามารถฟังเสียงและมองเห็นได้อย่างชัดเจนขึ้น ระบบการทำงานของอวัยวะภายในจะมีประสิทธิภาพพร้อมทำงานเต็มที่ แต่ในส่วนของปอดนั้น อาจจะยังอยู่ในขั้นไม่เจริญเติบโตเต็มที่

ในช่วงนี้ คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรจะเตรียมทุกอย่างให้พร้อม ตั้งแต่โรงพยาบาลที่จะไปทำคลอด พื้นที่ในบ้านสำหรับทารก และอุปกรณ์ดูแลเด็กแรกเกิด เพราะในระยะนี้อาจมีการคลอดก่อนกำหนดเกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว

เดือนที่ 9

เป็นเดือนสุดท้ายก่อนที่ทารกจะคลอดแล้ว สำหรับพัฒนาการสุดท้ายก่อนคลอดนั้น ปอดของทารกจะมีการเจริญเติบโตที่ใกล้สมบูรณ์เต็มที่ และลูกน้อยจะยังคงมีการตอบโต้กับทุกสิ่งกระตุ้นที่ตนสัมผัสได้ 

อีกทั้งยังสามารถหันหน้า กะพริบตา จับ หรือกำมือได้แล้ว ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณที่ดีที่บอกว่าทารกในครรภ์พร้อมที่จะออกมาพบคุณพ่อคุณแม่กันแล้ว

นอกจากนี้ตำแหน่งและการเคลื่อนตัวของเด็กทารกในช่วงใกล้คลอดนี้ จะเปลี่ยนไปอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมต่อการทำคลอดมากขึ้น โดยเด็กจะขยับตัวต่ำลงไปที่กระดูกเชิงกราน และมักจะเอาส่วนศีรษะอยู่ล่างให้ตรงกับช่องคลอดของคุณแม่พอดี

ตะเห็นได้ว่า ในทุกๆ เดือนจนกว่าลูกน้อยคลอดออกมาลืมตาดูโลก ทุกพัฒนาการที่เกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ล้วนมีความสำคัญหมดทั้งสิ้น 

ทั้งนี้ทุกการเจริญเติบโตและพัฒนาการทุกอย่างจะผ่านไปอย่างราบรื่นและสมบูรณ์ไม่ได้ หากปราศจากการบำรุงและเอาใจใส่ในร่างกายตนเองของตัวคุณแม่ และการสนับสนุนดูแลจากคุณพ่อ 

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่หากรู้ตนเองกำลังจะมีลูกน้อย ขอให้เตรียมตัวให้พร้อม หาความรู้เกี่ยวกับดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์มาศึกษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้ทุกช่วงระยะเวลาของการตั้งครรภ์เป็นไปอย่างสวยงามและลูกน้อยมีสุขภาพแข็งแรง

ที่สำคัญที่สุด อย่าละเลยการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล คลินิก หรือสถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อให้ครรภ์ได้อยู่ในความดูแลของแพทย์และพยาบาลนั่นเอง

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจแนะนำคุณแม่มือใหม่ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Office on Women’s Health, Stages of pregnancy (http://www.womenshealth.gov/pregnancy/you-are-pregnant/stages-of-pregnancy.html), 25 March 2020.
Nemours Foundation, A week-by-week pregnancy calendar (http://kidshealth.org/parent/pregnancy_calendar/pregnancy_calendar_intro.html), 23 March 2020.
Mayo Clinic Staff, Fetal development: The 1st trimester (http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/in-depth/prenatal-care/art-20045302), 25 March 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
เสียงหัวใจของทารกจากอัลตราซาวด์
เสียงหัวใจของทารกจากอัลตราซาวด์

ติดตามการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด

อ่านเพิ่ม
ยาอะไรบ้างที่ควรหยุดใช้ หากตั้งใจจะตั้งครรภ์
ยาอะไรบ้างที่ควรหยุดใช้ หากตั้งใจจะตั้งครรภ์

เรื่องสำคัญที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้เมื่อคิดจะตั้งครรภ์ หรือกำลังตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยของตนเองและทารกในครรภ์

อ่านเพิ่ม