การดูแลร่างกายระยะหลังคลอด

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การดูแลร่างกายระยะหลังคลอด

หลังจากคลอดบุตรแล้ว ร่างกายส่วนหนึ่งของคุณแม่จะเปลี่ยนแปลงอีกครั้งตามธรรมชาติ และอีกส่วนคือร่างกายจะกลับสู่สภาวะปกติก่อนตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่างจึงทำให้คุณแม่มือใหม่ควรทราบเพื่อการปฏิบัติได้ถูกต้อง

มดลูก

a18.gif

 มดลูกจะหดตัวลง คุณแม่จะรู้สึกปวดท้องเล็กน้อย มดลูกจะกลับสู่ขนาดปกติภายใน 1 เดือน

น้ำคาวปลา

a18.gif

 ในช่วง 2-3 วัน จะมีน้ำคาวปลาสีแดงคล้ายน้ำล้างเนื้อ ซึ่งเกิดจากการหลุดลอกตัวของเยื่อยุมดลูก จะค่อย ๆ ลดลง และหมดไปใน 2 สัปดาห์หลังคลอด

เต้านม

a18.gif

 เต้านมจะคัดตึง เพราะมีการผลิตน้ำนมเพื่อทารก คุณแม่ควรให้ลูกน้อยดื่มนมจากเต้าทีนทีหลังคลอด เพราะน้ำนมใส ๆ จะเป็นภูมิคุ้มกันโรคให้กับลูกเป็นอย่างดี และเป็นการกระตุ้นให้ต่อมน้ำนมสร้างน้ำนมให้เพียงพอแก่ทารก น้ำนมแม่ดีที่สุด ควรให้ลูกดื่มอย่างน้อยอายุลูกได้ 3 เดือนจึงให้เลิก

ผิวหน้าท้องและต้นขา

a18.gif

 ภายหลังคลอดต้องใช้เวลานานกว่าที่ผนังหน้าห้อง ผิวหน้าท้องจะกลับเหมือนเดิม บางคนเกิดการลายบริเวณหน้าท้องและต้นขาแต่บางคนไม่ลายหรือลายก็น้อยมาก ขึ้นอยู่กับสีผิว จำนวนของการมีบุตร และความแข็งแรงของผนังหน้าทอง การทำกายบริหารหลังคลอดจะช่วยให้หน้าท้องกระชับเร็วยิ่งขึ้น


การอาบน้ำชำระร่างกาย

a18.gif

 คุณแม่ที่ต้องการอาบน้ำ สระผม สามารถทำได้เพราะจะได้หายอ่อนเพลีย แต่อุณหภูมิของน้ำไม่ควรเย็นจนเกินไป จะทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน อาจจะไม่สบายได้

แผลฝีเย็บ

a18.gif

 ในการคลอดธรรมชาติจะมีการฉีกขาดของช่องคลอด โดยคุณหมอจะใช้มีดบาง ๆ กรีดปากช่องคลอดเพื่อช่วยให้การคลอดสะดวกขึ้น เมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว คุณหมอจะเย็บแผลนั้นเรียบร้อยโดยใช้ไหมละลายไม่ต้องมาตัดภายหลัง แผลจะติดสนิทภายใน 1 สัปดาห์ การอยู่ไฟจะช่วยให้แผลแห้งเร็ว เลือดไหลเวียนสะดวก ลดอาการบวม ปวด อย่าปล่อยให้แผลชื้นแฉะอาจจะเป็นหนองได้ เวลาปัสสาวะต้องซับให้แห้ง

แผลผ่าตัดหน้าท้อง

a18.gif

 คุณแม่ที่คลอดด้วยวิธีผ่าตัด จะต้องดูแลแผลหน้าท้องให้แห้งสนิท ประมาณ 1 สัปดาห์ ไม่ให้โดนน้ำ เวลาอาบน้ำอาบเฉพาะช่วงล่าง ช่วงบนต้องใช้วิธีเช็ดตัวแทน ในบางครั้งคุณแม่อาจจะขอพลาสเตอร์ปิดกันน้ำปิดแผลจากคุณหมอ

คุณแม่ที่ผ่าตัดไม่ควรยกของหนัก หรือออกกำลังบริเวณหน้าท้องอย่างน้อย 3 เดือน

การตรวจสุขภาพหลังคลอด

a18.gif

 คุณแม่ควรไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูก และการกลับสู่ความเป็นปกติหลังคลอด

การมีเพศสัมพันธ์หลังการคลอด

a18.gif

 ควรจะทิ้งระยะหลังคลอดสัก 3-4 สัปดาห์ รอให้คุณแม่แข็งแรงหายอ่อนเพลีย และแผลฝีเย็บหายเป็นปกติก่อน

การคุมกำเนิด

a18.gif

 การที่คุณแม่ให้ลูกน้อยดื่มนมจากเต้าตลอดเพียงอย่างเดียว ไม่ใช้นมขวดช่วยนั้นจะคุมกำเนิดได้ แต่ถ้าลูกน้อยดื่มนมวัวก็จะต้องมีการคุมกำเนิด มิฉะนั้นก็อาจจะมีน้องตามมาอีกคนแน่นอน


20 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Post Pregnancy Care After Giving Birth. Cleveland Clinic. (https://my.clevelandclinic.org/health/articles/9679-caring-for-your-health-after-delivery)
Postpartum Care. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/postpartumcare.html)
POST-ABORTION CARE - Counselling for Maternal and Newborn Health Care. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK304195/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป