อาการปวดหู (Otalgia)

อาการปวดหู สามารถพบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนมากมักเกิดจากการติดเชื้อเป็นหลัก ซึ่งจะต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่จ่ายโดยแพทย์เท่านั้น
เผยแพร่ครั้งแรก 4 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการปวดหู (Otalgia)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการปวดหู อาจเกิดขึ้นในหูข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในหูข้างเดียวเท่านั้น อาจปวดอยู่ตลอดเวลาหรือเป็นๆ หายๆ ก็ได้ บางคนอาจรู้สึกปวดตุบๆ บางคนอาจปวดแสบปวดร้อน และบางคนปวดจี๊ดๆ แตกต่างกันไป หากมีการติดเชื้อที่หู อาจพบอาการไข้ร่วมกับสูญเสียการได้ยินชั่วคราว

อาการปวดหู เป็นอย่างไร?

อาการปวดหูในผู้ใหญ่ มักจะเป็นร่วมกับการมีน้ำหรือของเหลวไหลออกจากหู และมีปัญหาการได้ยิน แต่หากเกิดขึ้นในเด็ก อาจพบอาการร่วมที่หลากหลายกว่า ดังนี้

  • ได้ยินเสียงอู้อี้แทนเสียงปกติ
  • ไม่ตอบสนองต่อเสียงเรียก
  • เป็นไข้ ปวดศีรษะ
  • นอนไม่ค่อยหลับ
  • คันหูจนต้องเกา
  • ร้องไห้
  • หงุดหงิดก้าวร้าวมากกว่าปกติ
  • เบื่ออาหาร
  • มีปัญหาในการทรงตัว

สาเหตุของอาการปวดหู

สาเหตุที่พบบ่อยของอาการปวดหู ได้แก่ การติดเชื้อที่หู ซึ่งอาจเกิดได้ทั้งหูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน โดยอาจเกิดจากการว่ายน้ำ การสวมใส่เครื่องช่วยฟัง การใส่หูฟังที่ระคายเคืองผิวหนังภายในรูหู และการใช้แท่งสำลีหรือนิ้วมือแคะหู บางครั้งอาจติดเชื้อที่ลามมาจากการติดเชื้อในทางเดินหายใจ และการติดเชื้อไวรัส

นอกจากการติดเชื้อที่หูแล้ว ยังมีสาเหตุอื่นๆ ของอาการปวดหูที่พบบ่อย ได้แก่

  • ความดันอากาศในหูเปลี่ยนแปลง เช่น การขึ้นเครื่องบิน
  • ขี้หูสะสม
  • มีสิ่งแปลกปลอมในหู เช่น แชมพู หรือน้ำค้างอยู่ในรูหู
  • เจ็บคอเนื่องจากการติดเชื้อ
  • ไซนัสอักเสบจากการติดเชื้อ

ส่วนสาเหตุของอาการปวดหูที่อาจพบได้บ้างเป็นบางครั้ง ได้แก่

  • กลุ่มอาการของข้อต่อและกล้ามเนื้อขากรรไกร (TMD)
  • แก้วหูทะลุ
  • โรคข้ออักเสบของข้อต่อขากรรไกร
  • การติดเชื้อที่ฟัน
  • ฟันคุด
  • ผิวหนังในรูหูอักเสบ
  • โรคปวดเส้นประสาทใบหน้าเรื้อรัง (Trigeminal neuralgia)

หากมีอาการปวดหูควรเข้าพบแพทย์เมื่อใด

หากพบอาการปวดหูร่วมกับมีไข้สูง หรือพบอาการปวดหูอย่างรุนแรงและหายไปเองฉับพลันทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ให้รีบเข้าพบแพทย์ทันที เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของแก้วหูฉีกขาดหรือทะลุ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หรือหากพบอาการปวดหู ร่วมกับมีอาการเวียนศีรษะ ปวดศีรษะรุนแรง มีอาการบวมรอบหู กล้ามเนื้อใบหน้าหย่อนคล้อย มีเลือดหรือหนองไหลออกจากหู ก็ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเช่นกัน

การดูแลรักษาอาการปวดหู

หากอาการปวดหูที่เกิดขึ้นไม่รุนแรงนัก และมีอาการเพียงชั่วคราว ก็สามารถบรรเทาอาการได้ดังนี้

  • ประคบเย็นที่หูด้วยผ้าขนหนูเย็นๆ
  • นั่งตัวตรงเพื่อช่วยลดความดันในหู
  • ใช้ยาหยอดหูที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป
  • รับประทานยาแก้ปวด
  • เคี้ยวหมากฝรั่ง เพื่อลดความดันในหูชั้นกลางที่เกิดจากการนั่งเครื่องบิน

หากพบว่ามีการติดเชื้อที่หู ก็จำเป็นจะต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่แพทย์เป็นผู้สั่งจ่าย ซึ่งมีทั้งชนิดรับประทาน และชนิดหยอดหู แต่ถ้าอาการปวดหูเกิดจากการสะสมของขี้หูปริมาณมาก แพทย์อาจจ่ายยาหยอดหูเพื่อให้ก้อนขี้หูดังอ่อนนิ่มลง ซึ่งจะทำให้ขี้หูหลุดออกมาเอง หรือใช้อุปกรณ์ดูดเพื่อเอาขี้ผึ้งออกมา

ในกรณีที่อาการปวดหูเกิดจากมลุ่มอาการข้อต่อและกล้ามเนื้อขากรรไกร การติดเชื้อของไซนัส และสาเหตุอื่นๆ แพทย์ก็จะรักษาไปตามสาเหตุซึ่งจะช่วยรักษาอาการปวดหูได้อย่างตรงจุดที่สุด

การป้องกันอาการปวดหู

อาการปวดหูจากสาเหตุบางอย่างสามารถป้องกันได้ ด้วยวิธีการดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และเลี่ยงการสัมผัสกับควันบุหรี่มือสอง
  • พยายามไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้ารูหู
  • เช็ดหูให้แห้งหลังว่ายน้ำหรืออาบน้ำ
  • หลีกเลี่ยงสารก่อโรคภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น และละอองเกสรดอกไม้

ที่มาของข้อมูล

Janelle Martel, What Causes Earache? (https://www.healthline.com/symptom/earache), September 15, 2015.


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Otalgia (Earache). Aching or pain in the ear. Patient. (https://patient.info/doctor/otalgia-earache)
Otalgia. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK549830/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)